ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, วัณโรค, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาล ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 579 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้ค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ .90 ค่า KR 20 ของแบบสอบถามความรู้เท่ากับ .78 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา ของทัศนคติและ พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคเท่ากับ .83 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาปัจจัยที่สามารถทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก พหุกลุ่ม (Multinomial Logistic Regression) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 58.50 ( =162.81 ,SD=15.07) โดยด้านการตัดสินใจด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 27.28, S.D. = 2.96) ปัจจัยระดับบุคคลประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 11.90 อย่างมีนัยสำคัญที่ .000 (Nagelkerke – R2 = 11.90)
ดังนั้นวิทยาลัยควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงาน โดยการให้ความรู้ ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรครวมทั้ง เสริมสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคให้กับนักศึกษา เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาต่อไป
การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาล ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 579 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้ค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ .90 ค่า KR 20 ของแบบสอบถามความรู้เท่ากับ .78 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา ของทัศนคติและ พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคเท่ากับ .83 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาปัจจัยที่สามารถทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก พหุกลุ่ม (Multinomial Logistic Regression) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 58.50 ( =162.81 ,SD=15.07) โดยด้านการตัดสินใจด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 27.28, S.D. = 2.96) ปัจจัยระดับบุคคลประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 11.90 อย่างมีนัยสำคัญที่ .000 (Nagelkerke – R2 = 11.90)
ดังนั้นวิทยาลัยควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงาน โดยการให้ความรู้ ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรครวมทั้ง เสริมสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคให้กับนักศึกษา เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาต่อไป
References
Aiemchai K., Chaisombut D.& Chopchit D.. (2022). The Relationship between Health Literacy and Behaviors Regarding Rabies Prevention and Control of People in Mueang District, Phayao Province. Journal of Health Sciences Scholarship, 9(2). (in Thai)
Health Education Division ,Department of Health Service Support. (2019). HEALTH LITERACY tool. Retrieved May 28, 2021 from http://www.hed.go.th/linkHed/382
Jaikham J., Wungrath J., Thongprachum A. (2021). Health Literacy and Health Promoting Behaviors Regarding to 3E.2S. Among Village Health Volunteers in Ban Hong District, Lamphun Province. Journal of Health Sciences Scholarship, 8(2).1-24. (in Thai)
Kaewdamkereng K. (2018). Health literacy:access, understanding, and application.2nded. Bangkok:Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (in Thai)
Kancham S., Wongsawang N., Suwan T., Sitthimongkon T. & Techai S.. (2019). Health literacy and Health behaviors among students at Uttaradit Rajabhat University. Academic Journal of Science and Applied Science, (in Thai)
Khampisut J.. (2017). Health Literacy and Health Promotion Behaviors of Students in Naresuan University. The Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 24(1) (in Thai)
Munangatire T.. (2022). Nestor Tomas and Violetha Mareka. Nursing students’ understanding of health literacy and health practices: a crosssectional study at a university in Namibia. Biomedcentral nursing, 21(8).
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 072-8.
Nutbeam D.(2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International; 15(3) :259-67.
Pongpant S.. (2018). Healthcare Personnel Safety and Tuberculosis. Journal of preventive of medicine association of Thailand, 8(3). (in Thai)
Sangngean T..(2022). Prevalence and Risk Factors of Latent Tuberculosis Infection among Health Care Workers in Roi Et Hospital. Srinagarind Med Journal, 37(4). (in Thai)
Sukviboon, T. (2009). Rating Scale. Retrived May 29, 2022 from https://www.ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc
Supapvanich C., Nazae H., Pongkasert A., Darama M., Sornboot J.&Kachapornwongkorn S..(2020).
Tuberculosis Preventive Behaviors among Nursing Personnelat Community Hospitals in Narathiwas Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 293-305 (in Thai)
Turner K., Rakkwamsuk S. & Duangchai O.. (2018). Health literacy of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. Journal of health science research 12(1). (in Thai)
World Health Organization. (2022). Global Tuberculosis Report 2022. Retrieved August 20, 2022 from ttps://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/tb-reports/global- tuberculosis-report-2022
Wapattanawong P., Supapvanich C. & Sontichai A.. (2017). Preventive Behaviors of Occupational Tuberculosis among Healthcare Workers in Naradhiwas Rajanagarindra Hospital, Narathiwat Province. Princess of Nara
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด