ปัจจัยทำนายความสามารถในการป้องกันตนเองจากการคุกคามทางเพศของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยทํานาย, การคุกคามทางเพศ, นักศึกษาระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิจัยเชิงพยากรณ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ความคลาดเคลื่อน .05 ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ได้นักศึกษาจาก 4 สถาบัน ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง และ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง สถาบันพระบรมราชชนก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการคุกคามทางเพศ ประกอบด้วยการรับรู้การคุกคามทางเพศ พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77, .71, .82 และ .71 ตามลำดับ และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .74 สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้การคุกคามทางเพศ พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .158 ถึง .411 ส่วนปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการถูกคุกคามทางเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ การรับรู้การคุกคามทางเพศ(PER) พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ(MED) และพฤติกรรมการกล้าแสดงออก (ASS) โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศได้ร้อยละ 72.50 (R2 = .725).ซึ่งปัจจัยที่สามารถทำนายได้สูงสุด ได้แก่ การรับรู้การคุกคามทางเพศ(PER) (B=.558, p=.001) รองลงมาคือ พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์(MED) (B=.485, p=.002) และพฤติกรรมการกล้าแสดงออก (ASS) (B=.-348, p=.006) ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ Y = 1.868 + .541(PER)+ .453 (MED)+ .320 (ASS)
References
Apell,S, Marttunen,M. ,Fröjd & Kaltiala, R (2019) Experiences of sexual harassment are associated with high self-esteem and social anxiety among adolescent girls, Nordic Journal of Psychiatry, 73:6, 365-371, DOI: 10.1080/08039488.2019.1640790
Bhawasuth Ounjai, Manop Chunil, Sageemas Na Wichian (2015). Causal Model of Factors Influencing Responses to Sexual Harassment in the Workplace among Female University Personnel. Srinakharinwirot Research and Development Journal, 7(13), 147-148.(in Thai).
Chonticha Tippratum & Phitak Siriwong2 (2015). Sexual harassment in heterosexual. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn Group 2. 10 (3); 105-113. (in Thai).
Deridder, D.; and Kerssens, J. (2003). Owing to the force of circumstances? The impact of situation features and Persernal Characteristics on coping patterns across situations. Psychology and Health. 18: 217-236 Feunglada
Phlangsorn. (2011). Sexual Threat Perceptions and Self-Defense of Women Workers in the Night Shift. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).
Janewit Nuansang et al. (2016).Criminal Liability and Victim Compensate from Sexual Harassment In Case Study of Thailand .Federal Republic of Germany and Australia. Faculty of Political Science and Law Burap University. (in Thai).
Komsan Rattanasimakul, Anyamanee Pakdeemualchon and Krit Tothanayanon, (2521). Fake News Literacy in Social Media Among Teenagers and Seniors In Chiang Rai Province. Journal of Mass Communication Faculty of Mass Communication Chiang Mai University, 9( 2), (in Thai).
Kulanan Soomboonsap and Piyaporn Tunneekul. (2015). Participation of Healthcare Workers in Sexual Harassment Prevention in the Hospital. RSU National Research Conference. (in Thai).
Maneepha, K. & Lerdtomornsakul, U. (2019). Crime Victimization on the Internet: A Case of Cyber Bullying in the Form of Sexual Offenses in the Bangkok Metropolitan Area. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University. 11(2). 1-11. (in Thai).
McCabe, M.P.; and Hardman, L. (2005). Attitude and Perception of Workers to Sexual Harassment. The Journal of Social Psychology. 145(6). 719-740.
Mookda Chintanawat. (2013). Sexual harassment in the workplace : a case study of the intern's hotel in Bangkok. Program of Public and Private management. Silpakorn University. (in Thai).
Musikapan, W. et al. (2009). Cyber bullying of youths in Bangkok. National Institute for Children and Family Development Mahidol University. (in Thai).
Nattapon Boonthong, (2022).life experience of the sexual harassers on online social media, using qualitative mixed methods. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements Applied Behavioral Sc.Research, Srinakharinwirot University. (in Thai).
Natthaphon Yiamchawee, (2017).The role of the family in child sexual abuse. A Dissertation Submitted in Faculty of Social and Environmental Development. National Institute of Development Administration. (in Thai).
Noppawan Parkotwong (2019) Opinion of Students about Sexual Harassment in Academ, Journal of Social Work, 26(1), 213-226. (in Thai)
Quadara, A., Nagy, V., Higgins, D., & Siegel, N. (2015). Conceptualising the prevention of child sexual abuse: Final report (Research Report No. 33). Melbourne: Australian Institute of Family Studies.
Samoh, N. (2013). Youth Perception on Cyber Bullying. M.A. (Medical and Health Social Sciences. Graduate School. Mahidol University.
Sirorat Sungsuk. (2013). The development of assertive behavior by using role-playing methods of Vocational Certificate 2/16 students in retail business in the subject of business and entrepreneurship. Nonthaburi: Nonthaburi Primary Educational Service Area Office, Region.
Sirorat Sungsuk. (2013). The development of assertive behavior by using role-playing methods of Vocational Certificate 2/16 students in retail business in the subject of business and entrepreneurship. Nonthaburi: Nonthaburi Primary Educational Service Area Office, Region 1.
Smith, P. H., Murray, C. E., & Coker, A. L. (2010). The coping window: A contextual understanding of the methods women use to cope with battering. Violence and Victims, 25, 18–28. doi:10.1891/0886-6708.25.1.18.
Stake, J.E., DeVille, C.J.; and Pennell, C.L. (1983). The effects of assertive training on the performance self-esteem of adolescent girls. Journal of Youth and Adolescence. 5(12): 435-442.
Thipwan Saepang (2009). Sexual Harassment Behavior in the Workplace : A Case Study of Nurses at Surat Thani Hospital. (Master's thesis). Program in Human and Social Development. Prince of Songkhla University, Songkhla.
Wichiansak and Wannika, (2019) The Strategies for Sexual Harassment Prevention of Students in Schools Under the Secondary Educational Service Area Office in the Northeast Region. The Journal of MCU Peace Studies,9(4) (1724-1737)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด