ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารจัดการ การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การมีส่วนร่วม, การติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารจัดการ การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 256 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างจำนวน 7 ข้อและทีมผู้วิจัย ที่ดำเนินกระบวนการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการถอดเทป
ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จการบริหารจัดการ แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 1) ช่วงก่อนการระบาด มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำรวจพื้นที่ ติดตามข่าวสารสถานการณ์การระบาด และ เยี่ยมบ้านเชิงรุก 2) ช่วงการระบาด ปฏิบัติการบริการด่านหน้า มีต้นทุนสนับสนุน มีช่องทางสื่อสาร และธรรมนูญป้องกันโควิด 3) ช่วงผ่อนคลาย เป็นช่วงที่ต้องควบคุมกำกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ได้ประยุกต์การพัฒนา/อบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนปัจจัยการบริหารจัดการการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในชุมชน ประสบความสำเร็จได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง ทำงานมุ่งมั่น จริงใจ ความรับผิดชอบ ทำงานเชิงรุก 2) ปัจจัยภายนอก คือ ภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งในและนอกชุมชน สหสาขา ทั้งหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ มีการบริหารจัดการงานที่มีประสิทธิภาพ 3)กระบวนการที่ทำให้สำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสิน (Decision Making) การริเริ่มคิด วางแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ การตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Implementation) ที่ครอบคลุมทั้งด้านทรัพยากร การบริหาร และประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) ได้รับการพัฒนา/อบรมความรู้เพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมในการประเมิน (Evaluation) โดยการมีส่วนร่วมในมาตรการ ธรรมนูญป้องกันโควิด ร่วมประเมินสถานการณ์การเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ช่องทางและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผลจากการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางการกำหนดแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการ การควบคุมป้องกันปัญหาโรคอุบัติวิกฤติอื่น ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
References
Boonpal P., (2021). The Successful Implementation of Novel Coronavirus (COVID-19) in the Villages along the Thai-Myanmar Border of Village Health Volunteers ( VHVs) and Migrant Health Volunteers (MHVs) in Tha Song Yang District, Tak Province.Retrieved 17 November 2022 from: http://203.157.71.172/academic/web/files/2021/research .(In Thai)
Cameron, A. M., Johnson, E. K., Willis, P. B., Lloyd, L. E., & Smith, R. C. (2020). Exploring the role of volunteers in social care for older adults. Quality in Ageing and Older Adults. 21 (2) 129-139.
Houghton C, Meskell P, Delaney H, Smalle M, Glenton C, Booth A, et al. (2020). Factors that influence whether healthcare workers follow infection prevention and control guidelines for respiratory infectious diseases. Retrieved 10 October 2022 from:https://www.evidence4health.org/publications-multimedia/podcast-factors-that-influence-whether-healthcare-workers-follow-infection.
Lampang Provincial Public Health Office. (2021). Official Statistics Registration System. Lampang: Lampang Provincial Public Health Office. (In Thai)
Miao Q, Schwarz S, Schwarz G. (2021). Responding to COVID-19: Community volunteerism and coproduction in China. World Development. Elsevier, 137(C). doi: 10.1016/j.worlddev.2020.105128
Miao, Qing & Schwarz, Susan & Schwarz, Gary, 2021. "Responding to COVID-19: Community volunteerism and coproduction in China," World Development, Ministry of Public Health. (2022). Surveillance of COVID-19 in the community. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (In Thai)
Nawsuwan, K., Singweratham, N. & Damsangsawas, N. (2020). Correlation of perception disease severity to implementation role for control of COVID-19 in communities among village health volunteers in Thailand. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 14(2), 92-103. (In Thai)
Nawamawat, J., Sittisart, V. Lekphet, K., & Thianthawon, P. (2021). The village health volunteers (VHVs) and community participation for prevention and surveillance of Covid-19 infection by using the geographic information system (GIS). Nonthaburi: Health Systems Research Institute (HSRI). (In Thai)
Sirilak S., (2020). Experience of Thailand's response to the COVID-19 epidemic. Bangkok: The Veterans Relief Organization under the Royal Patronage of His Majesty the King. (In Thai)
Tejativaddhana, P., Suriyawongpaisal, W., Kasemsup, V., & Suksaroj, T. (2020). The Roles of Village Health Volunteers: COVID-19 Prevention and Control in Thailand. Asia Pacific Journal of Health Management, 15(3), 18-22. https://doi.org/10.24083/apjhm.v15i3.477 (In Thai)
Wolrd Health Organization. Coranavirus. Retrieved 30 April 2022 from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1.Wonhsuwan N., (2017.) The Participative Management. Bangkok:Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด