การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยเครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ในพื้นที่หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และหมู่บ้านยามชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • วันเฉลิม ฤทธิมนต์ ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ กรมอนามัย จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

เครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง, การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้เครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ในพื้นที่หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และหมู่บ้านยามชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย(0-5ปี) จำนวนกลุ่มละ 287 คน (ผู้ปกครอง 1 คน ต่อเด็ก1คน) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการประเมินการใช้เครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผลการประเมินความสามารถของการใช้เครื่องมือ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 287 คน สามารถทำการคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี โดยใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง จำนวน 277 คน คิดเป็นร้อยละ 96.52 ประเด็นที่ 2 ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย(0-5ปี) ด้วยการใช้เครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ที่ประเมินโดยผู้ปกครองในกลุ่มที่ใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง ทั้งสิ้น 277 คน พบว่าพัฒนาการปกติ จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 97.47 และสงสัยพัฒนาการล่าช้า 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2.53 ซึ่งเมื่อนำผลการประเมินไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในระบบปกติที่ประเมินโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่า ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยไม่แตกต่างกัน ประเด็นที่ 3  ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 98.60 ดังนั้น ควรมีการผลักดันให้นำเครื่องมือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ไปขยายผลการใช้ให้ครอบคลุมในพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ต่อไป

 

References

Boonchiam, S. (2020). The relationship between aregiver’s quality of life and early childhood development in the northeast region. Journal of Regional Health Promotioncentre 7 Khonkaew. 13(1), 3-20. (in Thai).

Chindaprasert, K. (2019). The use of rating scale in quantitative research on social sciences, humanities, hotel and tourism study. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University. 8(15), 112-126. (in Thai).

Chumai, T. (2016). Growth and development of early childhood. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal. 1(2), 18-33. (in Thai).

Chunta, C., Keawsai, S., Saelim, S., & Khapa, P. (2018). Development of integrated surveillance and promotion of early childhood development in child care centers, Yasothon Provine, 2018. Yasothon: Yasothon Provincial Public Health Office Printing House.(in Thai)

Health Center for Ethnic Group, Marginal People and Migrant Worker. (2020). Highland health development center dashboard. Retrived 2021, 10 March, from https://hhdclampang.anamai.moph.go.th:8080/hhdcdashboard/.

Health Center for Ethnic Group, Marginal People and Migrant Worker. (2021). Health servey of hilltribe in the royal development project for border security area, 2021. Lampang: Health Center for Ethnic Group, Marginal People and Migrant Worker Printing House. (in Thai).

Ministry of Public Health. (2019). Developmental surveillance and promotion manual (DSPM).Nonthaburi: Office of Printing Works, Veterans Affairs Organization.(in Thai).

Nakvirojana, N., Baitragual, S., kreasuwan, J., & Dakdacha, J. (2021). The development of caring model to promote growth and development of preschool children in the preschool development center at boromarajonani college of nursing, lampang. Journal of Health Sciences Scholarship. 8(1), 237-252. (in Thai).

National Statistical Office and Unicef. (2019). Survey of mother and child in thailand, 2019. Bangkok: National Statistical Office Printing House. (in Thai).

Rittiron, P., Janchual, D., Yammen, P., Insar, N., Niamsawan, A., Raso, W., & Boonmejew, A. (2021).Factors affecting the development of early childhood thailand health region 2 phitsanulok. Research and Development Health System Journal. 14(3), 42-56. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics, (Second Edition). New York: Harper& Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย