พัฒนารูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • เบญจมาส วงศ์มณีวรรณ โรงพยาบาลลำปาง
  • ถาวร ล่อกา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
  • กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การบริหารอัตรากำลัง, ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน, ความชาญฉลาดในการปฏิบัติงาน, ความสุขในการปฏิบัติงาน, พยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำปาง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2565 ในพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก 165 คน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ การวางแผนการพัฒนา การนำกิจกรรมการพัฒนาสู่การปฏิบัติ การสังเกตและติดตาม และ การสะท้อนคิด เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกผลการดำเนินงาน แบบประเมินการรับรู้การปฏิบัติแบบยืดหยุ่น และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบ ที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

            ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสุขในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น ตารางการปฏิบัติงานไม่เอื้อต่อสมดุลชีวิต ขาดการมีส่วนร่วมในการออกแบบตารางปฏิบัติงาน ภาระงานด้านเอกสารที่มากเกินจำเป็น ชั่วโมงให้บริการผู้ป่วยลดลง 2. รูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤตประกอบด้วยการกำหนดวัฒนธรรมและคุณลักษณะการนำองค์กรผ่านค่านิยมร่วม 3 ประการ ได้แก่ การเคารพซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร และ การยึดแนวทางแห่งประสิทธิภาพ บนหลักการ 3 หลักการ ได้แก่ 1)หลักมาตรฐานการจัดอัตรากำลังพยาบาล 2)หลักความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน และ 3)หลักความชาญฉลาดในการปฏิบัติงาน โดยค่านิยมและหลักการเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปในทุกขั้นตอนของการบริหารอัตรากำลัง 3. ผลการพัฒนาพบว่า รูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลช่วยให้การจัดอัตรากำลังมีผลิตภาพ และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้พยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตเกิดการริเริ่มกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย 8 กิจกรรม ครอบคลุม 16 ตัวชี้วัด และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ของพยาบาลต่อการทำงานแบบยืดหยุ่นระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาทุกด้านหลังการพัฒนาดีขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. พยาบาลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารอัตรากำลังทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ต่อเนื่องต่อไป

References

Dousin, O., Wei, C. X., Balakrishnan, B. K., & Lee, M. C. C. (2021). Exploring the mediating role of flexible working hours in the relationship of supervisor support, job and life satisfaction: A study of female nurses in China. Nursing Open, 8(6), 2962-2972.

Endacott, R., Pattison, N., Dall'Ora, C., Griffiths, P., Richardson, A., Pearce, S., & team, S. s. (2022). The organisation of nurse staffing in intensive care units: a qualitative study. Journal of Nursing Management.

Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. In: Springer.

Khunthar, A. (2014). The impacts and solutions to nursing workforce shortage in Thailand. Nursing Science Journal of Thailand, 32(1), 81-90.

Lampang Hospital Databased. (2022). Statistics registration of critical care department Retrieved June 22, 2022 from www.lph.go.th (Intranet)

Nakweenda, M., Anthonie, R., & van der Heever, M. (2022). Staff shortages in critical care units: critical care nurses experiences. International Journal of Africa Nursing Sciences, 100412.

Nantsupawat, A., Nantsupawat, R., Kunaviktikul, W., Turale, S., & Poghosyan, L. (2016). Nurse burnout, nurse reported quality of care, and patient outcomes in Thai hospitals. Journal of Nursing Scholarship, 48(1), 83-90.

Nantsupawat, R., Wichaikhum, O., & Nantsupawat, A. (2014). The relationship between nurses’ extended work hours and patient, nurse, and organizational outcomes in general hospital. Nursing Journal, 41(4), 58-69.

Sathira-Angkura, T., Jamsomboon, K., Wongsuvansiri, S., Leelawong, S., & Boonkaew, H. (2019). Development of Nursing Manpower Management Model for Patient Safety: a Pilot Study in Ratchaburi Province. Journal of Health Science, 28(6), 1130-1142.

Srisuphan, W., & Sawaengdee, K. (2012).Recommendedpolicy-based solutions to shortage of registered nurses in Thailand. Thai Journal of Nursing Council, 27(1), 5-12.

Supamanee, T., Kunaviktikul, W., & Keitlertnapha, P. (2014). Nurses’ extended work hours and nurse outcomes in community hospitals. Nursing Journal, 41, 48-58.

The Britain's National Health Service. (2020). How to Embede Flexible Working for Nurses Retrieved May 2, 2022 from https://www.nhsemployers.org/retention

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย