การพัฒนาแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 โรงพยาบาลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทางการคัดกรองผู้ป่วย, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจคุณภาพการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 โรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดังนี้ กลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกคัดกรอง จำนวน 4 คน แบ่งเป็นหัวหน้างานผู้ป่วยนอก จำนวน 1 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโดยแพทย์ จำนวน 40 คน กลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจทางห้องปฏิบัติการและขอผลทางห้องปฏิบัติการไปตามนัดโรงพยาบาลอื่นจำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่มาขอใบส่งตัวไปตามนัดของ โรงพยาบาล ลำปาง และ โรงพยาบาลเกาะคา จำนวน 10 คน กรอบแนวคิดที่ใช้ คือมาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกของสำนักการพยาบาลและนโยบายมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ( COVID Free Setting) ของกรมอนามัย เครื่องมือที่ใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแนวคำถามเชิงโครงสร้างเพื่อการสนทนากลุ่ม ส่วนในกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การบันทึกระยะเวลารอคอย และแบบสอบถามด้านความพึงพอใจคุณภาพบริการพยาบาลโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ข้อมูลระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจคุณภาพบริการพยาบาลวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการคัดกรองในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 โดยใช้สถิติ Paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการคัดกรองที่พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย คู่มือแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่แผนกคัดกรอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก ของกอง การพยาบาล นอกจากนั้นกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมในการวิจัยยังได้เสนอการพัฒนาพฤติกรรมบริการควบคู่กันและเมื่อนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปใช้พบว่า คะแนนความพึงพอใจในคุณภาพบริการพยาบาลหลังการพัฒนามีมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ระยะเวลารอคอยลดลงอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
References
Amornprompakdi, A. (2019). The Participatory action research to develop a model of nursing supervision in the primary health care that promotes the effective functioning of nurses working in primary care settings, Unpublished Doctor of Philosophy, Srinakharinwirot University.
Berry, L., Zeithaml, V., & Parasuraman, A. (1990). Five imperatives for improving service quality. Sloan Management Review. (Summer): 29-38.
Buriwong, R. (2018). MOPH ED. Triage. 1st edition. Nonthaburi: Office of Medical Scholars. Department of Medical Services. Ministry of Public Health.
Jinakeau, S., Chikasemsuk, A.& Chanwarasut, P. (2020). The Development of a Logistic-based Health Service Model for the Outpatient Department at PhopPhra Hospital, Tak Province. Research and Development Health System Journal. 13(1), 442-452. (in Thai).
Jiravinthipak, T., Zhemwiwatkul, J., Nityangkur, S., Wongsuwansiri, S. & Wongcharoen, S. (2008). Standards of nursing in hospitals. 4th update.3rd edition Office of Nursing Department of Medicine Ministry of Health.
Kemmis, S. & McTaggart, R. (1990). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria, Australia: Deakin University.
Leelawong, S. et al. (2021). Guidelines for storing indicators of improving the quality of nursing services for the fiscal year 2019. Bureau of Nursing, Division of Nursing Ministry of Health.
Ministry of Public Health. (2020). Crisis Management during the First Wave of COVID-19 Pandemic Situation. Retrieved 28 January 2022 from https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5744/hsri-journal-v16n3-p370-389.pdf?sequence=3&isAllowed=y
Parkpisak, V. & Varanand, C. (2021). Implementation of Lean in Outpatient Department at 1the 68th Public Health Center at Saphansung. Thai Journal of Pharmacy Practise. Vol. 11(1), 18-31. (in Thai).
Sathiraangkur, T. & Leelawong, S. (2021). Development of Nursing Administration Model in the COVID-19 Outbreak Situation. Journal of Health Science. 30(2), 320-333. (in Thai).
Sumanit, P. (2021). Development of Nursing Service System on Out Patient Department (OPD) at Kumpawapi Hospital, UdonThani. Journal of Research and Health Innovative Development. 3 (1), 85-98. (in Thai).
Taylor, F. (1994). Waiting for service. The relationship between delays and evaluation of service. Journal of Marketing, 58: 56-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด