ผลของโปรแกรมการศึกษาทางไกลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย ในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จิตอารี ชาติมนตรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จิราพร เป็งราชรอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ชมพูนุท แสงวิจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ฟองจันทร์ กาญจนไพศิษฐ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลำปาง
  • เสาวลักษณ์ เวียงทอง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการศึกษาทางไกล, พฤติกรรมการดูแลของตนเอง, การสะสมเหล็กในร่างกาย, ผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

               การวิจัยเป็นกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการศึกษาทางไกลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย ในจังหวัดลำปาง อายุ 12-15 ปี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการศึกษาทางไกล ประกอบด้วย วิดีโอมัลติมีเดีย และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผลโดยแบบทดสอบความรู้เรื่องภาวะเหล็กเกิน ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.70 และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม การติดตามกระตุ้นและประเมินพฤติกรรมผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์ โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดย แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที

         ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมการศึกษาทางไกลไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการต่อไป

References

Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs,New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Boonchuay, N. (2016). The Effect of the Educational Program on Knowledgeand Care Behaviors of Caregivers of Children with Thalassemia. Retrieved 1 June 2020. From https://he02.tci.thaijo.org/index.php/ns/article/view/77573(in Thai)

Chanchai T, (2021). Blood transfusion. Journal of Hematology and Transfusion Medicine.Vol. 31 No. Retrieved 1 June 2020. From https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHematolTransfusMed/article/download/250222/169187/92013

Health Systems Research Institute, (2020) Thalassemia is a genetic disorder. Retrieved 1 June 2020. From https://www.hsri.or.th/media/issue/detail/13801

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Orem, D.E. (1995). Nursing: Concept of practice. 5th Ed. St Louis: Mosby Year Book.

Polit, D.F., & Hungler, B.P. (1991). Nursing research: principle and methods. Philadelphia: J.B. Lippincott.

Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C. (1982). Transtheoretical therapy: Toward a more integrative model of change. Psychotherapy: Theory, Research & Practice, 19(3), 276–288. https://doi.org/10.1037/h0088437

Pediatric Outpatient Clinic Lampang Hospital. (2020). Patient medical records.

Pitchalard, K. & Moonpanane, K. (2013). Improvement of a Continuing Care Model in Child with Thalassemia and Caregivers. Retrieved 1 June 2020. from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18924/16689 (in Thai)

WongRuangsri, S. (2019). The development of service network quality of thalassemia children, Lampang Province. Retrieved 1 June 2020. From https://th-th.facebook.com/PR. LPH123/posts/764729733701363/

Sarisuta, P.2019. Quality of Life and Prevalence of Depression among Children with Thalassemia in Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center. Journal of Public Health 2019; 49(2): 200-209 (in Thai)

Sriarporn, W. (2018). Development project Child Thalassemia Service Network Quality in Lampang Retrieved 1 June 2020. From http://cso.rh1.go.th/bestP2560/download/18.%E0%B8%AA%

Sriarporn, W. (2019) The Evaluation Model of Learning Distance Education Through Information Technology Schools Under the Officeof the Basic Education Commission Retrieved 1 June 2020. From https://so05.tcithaijo.org/index.php/rmuj/article/download/248644/168839

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย