ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม โรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ เอี่ยมชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา
  • ดลนภา ไชยสมบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • แดนชัย ชอบจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ากับพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน  ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา พื้นที่วิจัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 393 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะถามความถี่ในการปฏิบัติ 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้ค่าไคสแควร์

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลางคือปฏิบัติบ้างเป็นบางครั้ง 2)ปัจจัยด้านตำบลที่อาศัยมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรเพศ อายุ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษา อาชีพ การเลี้ยงสัตว์ มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  3) ปัจจัยด้านตำบล เพศ อายุ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษา อาชีพ การเลี้ยงสัตว์ มีความ สัมพันธ์พฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Cochran WG. (1977). Sampling techiniques. 3rd New York : John Wiley & Son.

Cockerham, G. B. (2010). Institutional design of ASEAN and regional integration. East Asia, 27, 165-185.

Communicable Disease Control Group, Phayao Provincial Public Health Office. (2022). Summary the results of the integrated civil service inspection of the disease-free animals project, people are safe from rabies, round 1 of the year 2022. Phayao: Phayao Provincial Public Health Office. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2015). Guide to creating a rabies-free area. 2nd edition, Bangkok: Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai)

Department of Livestock Development, (2022). Ministry of Agriculture and Cooperatives. Rabies situation report 2022 Retrieved 2022, 15 Dec. from https://dld.go.th/th/index.php/th/325-hot-issue/rabies/rabies-cat. (in Thai)

Euamornvanich P. (2018). Media Literacy in Social Media. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 24(S), 22-30. (in Thai)

Fongkerd S. et al. (2021). Health Literacy and Self-CareBehavior AmongType 2 Diabetic Patients. Journal of Health Sciences Scholarship, 8(1).207-222. (in Thai)

Inspection Division, Ministry of Public Health. (2018). Summary of government inspection Results, Ministry of Public Health, Round 2/2018, Groups 1-4. Nonthaburi: Inspection Division Ministry of Public Health. (in Thai)

Jaikham J, Wungrath J, Thongprachum A. (2021). Health Literacy and Health Promoting Behaviors Regarding to 3E.2S. Among Village Health Volunteers in Ban Hong District, Lamphun Province. Journal of Health Sciences Scholarship, 8(2).1-24. (in Thai)

Kaewdamkereng K. (2018). Health literacy: access, understanding, and application. 2nd ed. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (in Thai)

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-8.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3) :259-67.

Pender, N. (1996) Health Promotion in Nursing Practice. 3rd ed. Appleton & Lange: Stamford.

Phayao Provincial Livestock Office. (2020). Rabies situation report in Phayao province. Phayao: Phayao Provincial Livestock Office. (in Thai)

Puanghat, A., Theerawitthayalert, R. & Thanacharoenrat, N. (2010). Knowledge, attitude and practice of Thai people in prevention and control of rabies. Disease Control Journal,36(1), 50-59. (in Thai)

Srichai, M. (1996). Sampling Techniques. 2nd ed. Bangkok: VJ. Printing.

Thonghem J. (2020). Rabies in animals. Retrieved 15 Dec. 2020. From https://healthserv.net/Rabies-3160 (in Thai)

Valaisathien J. & Unrat B. (2020). Health Literacy of prevention and control of rabies, community leaders in Srinarong district, Surin Province. Journal of Disease Prevention and Control 7 Khonkan, 27(1), 86-95.

Yamane T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย