ปัจจัยด้านบทบาทของพยาบาลที่มีผลต่อการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ศรีธาราธิคุณ โรงพยาบาลแม่สาย

คำสำคัญ:

บทบาทของพยาบาล, โรคเรื้องรัง, ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.), ยั่งยืน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืน และปัจจัยด้านบทบาทพยาบาลที่มีผลต่อการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืนกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการคลินิกโรคเรื้อรังศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน  289 คนประกอบด้วย ผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพบำบัดและโภชนากร  จำนวน  7 คน  อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฎิบัติงานในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 43 คน และผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 239  คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามบทบาทของพยาบาลในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและแบบสอบถามการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจหาความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช เท่ากับ .942 และ .934 ตามลำดับ

           ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของพยาบาลในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการให้บริการผู้ป่วย    โรคเรื้อรังที่ยั่งยืนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก บทบาทของพยาบาลในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย  การกำหนดทิศทางและนโยบาย  การจัดระบบบริการ  การใช้ระบบสารสนเทศในการจัดการ     การสนับสนุนการจัดการตนเอง  การใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก  และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืน และบทบาทการจัดระบบบริการ การใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก การกำหนดทิศทางและนโยบาย และการสนับสนุนการจัดการตนเองกับการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  ดังนั้นการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ที่ยั่งยืน ควรสนับสนุนให้พยาบาลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านการจัดระบบบริการ   การใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก  การกำหนดทิศทางและนโยบาย และการสนับสนุนการจัดการตนเอง  เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆใน ศสมช. เกิดความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

Aoba, N. (2019). Implementation of WHO's innovative chronic disease care program based on the role of professional nurses in the primary care system.Journal of Nursing and Health, 13(2), 1-10. (in Thai)

Buamak, K., Petsirasan R., and Noonil, N. (2021). Nurse roles and care outcomes patients with chronic diseases in primary care, health area 11.Journal of Health and Nursing Research, 37(3), 241-253. (in Thai)

Chiangrai Provincial Public Health Office. (2018). Annual Report 2018. Chiangrai: N.p.(in Thai)

Griffin, C. D. (2017). A primary care nursing perspective on chronic disease prevention and management. Dela J Public Health, 3(1), 78-83.

Homniam, N. (2020). The concept of innovative leadership in health in the nursing profession. Medical Journal Udonthani Hospital, 28(2), 224-253. (in Thai)

Maesai Hospital. (2022). Report the cause of death. Chiangrai: N.p. (in Thai)

Minor International. (2022). Sustainability framework, strategy and roadmap. Retrived 2022, 14 june from https://www.minor.com/th/sustainability/framework-strategy-and-roadmap

Narasri, P., Chladthanyakit, K. and Piasue N. (2017). The role of nurses in managing care primary chronic non-communicable disease group according to the sustainable development goals concept. Ramathibodi Journal, 23(1), 27-43. (in Thai)

Noiwangkhang, C. (2020). A study of service situation of community primary health care centers. Nonthaburi: N.P. (in Thai)

Non-Communicable Disease Control. (2020). Situation report on diabetes NCDs blood pressure and related risk factors. Graphic and design publishing house. (in Thai)

Kaewsuwan, N. (2022). The use of technology to assist convenience of health care to prevention diabetes in the elderlyin pattani province. Journal of information science, 40(2), 42-66. (in Thai)

Kalayanamit, K. (2019). Study the appropriate form of health volunteers and them development towards sustainability. Journal of Peace Studies Perspective,7(6), 1,620-1633. (in Thai)

Kittheerawutwong, N. (2016). Caring for chronically ill patients in primary care services.Journal of Public Health Nurses, 30(1), 113-126. (in Thai)

Kleechaya P. (2021). Problems and obstacles of thai elderly in the use of information technology. Journal of Communication Arts, 39(2), 56-78. (in Thai)

Kotchapong, S. and Rojanatrakul, T. (2021). Performance According to the role of village health volunteers in bangkrathum district, phitsanulok province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 6(2), 107-119. (in Thai)

Phawangkharat S. (2019). A study of the capability of village health volunteer leaders.Journal of Human Society Nakhonsithammarat Rajabhat University, 1(1), 1-20. (in Thai)

Sitthiprichachan, P. and Pariyatharukha, P. (2014). Community health care system development process: 14 case studies of communities in the central region.Journal of Public Health, 28(1), 1-15. (in Thai)

Suparatanakul S. and Ayuwat, D. (2009). Factors influencing family health security countryside. Research Journal, 9(4), 83-89. (in Thai)

Suphunnakul, P. & et al. (2014). Type 2 diabetes management in the community with Expanded chronic care model. Journal of Nursing and Health Sciences, 8(3). 48-55. (in Thai)

Suwansaeng, N. and Yingyuad, P. (2020). Family doctor clinic: concepts and role-based management professional nurse. Nursing Council Journal, 35(1), 5-17. (in Thai)

Thangkratok, P., & et al. (2020). A model of care management for the elderly with chronic disease in the community. Navy Medical Journal, 47(1), 234-248. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย