ภาวะสุขภาพจิตและความทุกข์จากประสบการณ์ในอดีตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
คำสำคัญ:
ผู้มีความหลากหลายทางเพศ, การแยกตัวออกจากสังคม, การปกปิดตัวตน, การเลี้ยงดูบุตร, ความชุกของสุขภาพจิตในผู้มีความหลากหลายทางเพศบทคัดย่อ
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และศึกษาความทุกข์ที่เกิดจากประสบการณ์ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศพบเจอ ได้แก่ ประสบการณ์การปกปิดตัวตน การตกเป็นเหยื่อ การแสดงออกทางเพศ ประสบการณ์เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ เป็นต้น ซึ่งการศึกษานี้เป็นแบบการศึกษาภาคตัดขวางในบุคคลทั่วไปโดยคัดผู้ที่แสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามประสบการณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และแบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ อ้างอิงจากกรมสุขภาพจิต
การศึกษานี้พบผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 32.4 ซึ่งเป็นกลุ่มหญิงรักหญิง หรือเลสเบี้ยน อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี และรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท แต่ปัจจัยพื้นฐาน อาทิเช่น เพศ อายุ และรายได้ ไม่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต ประสบการณ์ที่พบมากที่สุด คือ การถูกละเมิดทั้งร่างกายและจิตใจ การเลือกปฏิบัติ การปกปิดตัวตน ครอบครัว/ชาติกำเนิด และการแยกตัวออกจากสังคม ตามลำดับ และประสบการณ์ที่พบได้น้อยที่สุด คือ การตกเป็นเหยื่อแต่ความทุกข์จากประสบการณ์ในอดีตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ได้แก่ การเลี้ยงดูบุตร (p=0.002) การแยกตัวจากสังคม (p=0.008) และการปกปิดตัวตน (p=0.028) กล่าวโดยสรุปคือ ประมาณ 1 ใน 3 ของอาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยมีแนวโน้มที่จะมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป โดยภาวะสุขภาพจิตไม่ได้สัมพันธ์กับปัจจัยพื้นฐานของอาสาสมัคร และพบว่าการมีความทุกข์จากประสบการณ์ในอดีตสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้สอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ่านมาในผู้มีความหลากหลายทางเพศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อาจทำให้เกิดการอคติที่เกิดจากการลืมในการให้ข้อมูลได้ในอนาคตต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น และศึกษาความทุกข์จากประสบการณ์แต่ละด้าน เพื่อลดตัวแปรกวนให้ได้มากที่สุด
References
Baams L, Grossman AH, Russell ST. (2015). Minority stress and mechanisms of risk for depression and suicidal ideation among lesbian, gay, and bisexual youth. Developmental psychology. 51(5):688.
Baiocco R, Ioverno S, Cerutti R, Santamaria F, Fontanesi L, Lingiardi V, et al.(2014).Suicidal ideation in Spanish and Italian lesbian and gay young adults: the role of internalized sexual stigma. Psicothema. 26(4):490-6.
Balsam KF, Beadnell B, Molina Y.(2013).The Daily Heterosexist Experiences Questionnaire: Measuring Minority Stress Among Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Adults. Meas Eval Couns Dev. 46(1):3-25.
Flood J, McLaughlin C, Prentice G.(2013).Minority stress, homonegativity, alcohol use and mental health among college gay males. Journal of Gay & Lesbian Mental Health. 17(4):367-86.
International Labour Organization. (2014). Gender identity and sexual orientation in Thailand 2014
Retrieved (2021, 5 June) from: https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---robangkok/---sro-bangkok/documents/publication/wcms_356948.pdf.
International Labour Organization. (2014). Gender identity and sexual orientation in Thailand
Retrieved (2021, 5 June) from: https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---
robangkok/---sro-bangkok/documents/publication/wcms_356948.pdf.
Juntrasook A, Freeman C, Ojanen T, Supawantanakul N, Sopitarchasak S, Tokthong S. (2020).
LGBTI+ and 4P Support Models Education Report: Recommendations Development Program for the Development of Support Models and Systems for Family Members,Friends, Partners and Healthcare Providers to Promote the Well-being of the LGBTI Population.Faculty of Learning Sciences & Education: Thammasat University.
Kim HJ, Fredriksen-Goldsen KI, Bryan AE, Muraco A. (2017).Social Network Types and Mental
Health Among LGBT Older Adults. Gerontologist. 57(suppl 1): S84-s94.
Lee H, Operario D, Yi H, Choo S, Kim SS.(2019).Internalized Homophobia, Depressive Symptoms,
and Suicidal Ideation Among Lesbian, Gay, and Bisexual Adults in South Korea: An Age-
Stratified Analysis. LGBT Health. 6(8):393-9.
LMCNEWS Language for Media Creation LMC, MSU. (2021).Acceptance of LGBTQ in Thai society.
Retrieved (2022, 5 February) from: http://human.msu.ac.th/lmcnews/slide_m_details.php?slide
Mongkol A, Huttapanom W, Chetchotisakd P, Chalookul W, Punyoyai L, Suvanashiep S. (2001).The Study to Develop Thai Mental Health Indicator. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 46(3): 209-225
Pachankis JE, Cochran SD, Mays VM. (2015).The mental health of sexual minority adults in and out of the closet: A population-based study. Journal of consulting and clinical psychology. 83(5):890.
Rhoades H, Rusow JA, Bond D, Lanteigne A, Fulginiti A, Goldbach JT. .(2018).Homelessness, mental health and suicidality among LGBTQ youth accessing crisis services. Child Psychiatry & Human Development. 49(4):643-51.
Sattler FA, Franke GH, Christiansen H. .(2017).Mental health differences between German gay and bisexual men and population-based controls. BMC Psychiatry. 17(1):267.
Suen YT, Chan RCH, Wong EMY.(2020).Effects of general and sexual minority-specific COVID-19-related stressors on the mental health of lesbian, gay, and bisexual people in Hong Kong.Psychiatry Res. 292:113365.
UNDP (2019). Tolerance but not Inclusion: A national survey on experiences of discrimination and social attitudes towards LGBT people in Thailand. Bangkok: UNDP
Wilson C, Cariola LA.(2020).LGBTQI+ youth and mental health: a systematic review of qualitative research. Adolescent Research Review.5(2), 187-211.
Wiratwattanakul N. .(2016).Associations of sexual minority stress, sexual satisfaction, and Conflict-resolution communicationon relationship satisfaction of gay men. CUIR at Chulalongkorn University: Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด