การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ภาคทดลอง รายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน, อาจารย์ผู้สอน, การจัดการเรียนการสอนภาคทดลอง, ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามการประเมินรูปแบบซิปป์ ในประเด็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 158 คน และเชิงคุณภาพโดยเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ภาคทดลอง) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแนวประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ได้มาวิเคราะห์ประเด็นร่วม
ผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ภาคทดลอง) รายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านปัจจัยนำเข้าของนักศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง และ มาก ร้อยละ 43.04 และ 42.41 ตามลำดับ ส่วนภาพรวมของอาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.61, σ = 0.46) โดยหัวข้อที่มีระดับคะแนนสูงสุดคือ อาจารย์ผู้สอนคอยให้กำลังใจ ให้เกียรติและดูแลผู้เรียนทุกคนอย่างเสมอภาค มีค่าเฉลี่ยคือ (μ= 4.70, σ = 0.54) ส่วนผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านความรู้ และทักษะทางปัญญา ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดและระดับผลการเรียนระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 93.04 และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ประเด็นร่วมพบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความกระตือรือร้นในวิเคราะห์ปัญหาใหม่ในสถานการณ์ใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว มีการคิดในเชิงบวกและมองปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่ท้าทาย และเกิดความรอบรู้ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ รวมถึงการสะท้อนการเรียนรู้ ของผู้เรียนได้รับคุณค่าจากการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และผลลัพธ์การเรียนรู้ของลักษณะรายวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป
References
Banlue, S. (2017). The Suitable Model of Online Learning and Teaching for Ubon Ratchathani Rajabhat University. Journal of Roi Et Rajabhat University. 11(2), 250-260. (in Thai)
Bikdeli B, Madhavan MV, Jimenez D, Chuich T, Dreyfus I, Driggin E et al. (April 2020). COVID-19 and Thrombolytic or Thromboembolic Disease: Implications for Prevention, Antithrombotic Therapy, and Follow-up. Journal of the American College of Cardiology
Boonsatha, K. (2016). School Rediness Toward Instruction by English Curriculum of Ministry of Schools under Education of Schools under Education of Pattaya City. Master's thesis, Burapha University. (in Thai)
Buosonte, R. (2013). CIPP and CIPPIEST evaluation models: Mistaken and precise concepts of application. Silpakorn Educational Research Journal, 5(2), 7-24. (in Thai)
Cascella M, Rajnik M, Cuomo A, Dulebohn SC, Di Napoli R (2020). Fetures, Evaluation and Treatmrnt Coronavirus (COVID 19) Stat Pearls. Treasure Island (FL): Stat Pearls Publishing. PMID 32150360. Retrieved (18 March 2020) from
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554776/
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2021). "Symptoms of Coronavirus". U.S. Retrieved (2021, 4 March) from https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html.
Chintapanyakul, T., Ruaengsri,S., Laksana, K., & Lhongsap ,P. (2017). Cippiest the New Curriculum Evaluation: Cippiest Model. Journal of the Police nurse. 9(2), 203 – 212. (in Thai)
Kaewchan, N. & Rattanapongpinyo, T. (2021). The preparation of online learning and student’s expectation for educational effectiveness at Faculty of Management Science, Silpakorn University. Rajabhat National Academic Conference. Research
No. 9. Rajabhat University March 1, 2021. 138-148. (in Thai)
Kanyanawut, P. (2015). Factors affecting the academic achievement of students at the Vocational Certificate and Vocational Certificate of Payap College of Technology and Business Administration. Educational integration intellectual culture Education for life. (in Thai)
Murthy S, Gomersall CD, Fowler RA (March 2020). Care for Critically Ill Patients With COVID-19. JAMA. 323 (15): 1499
Panich, W. (2015). Transformative Learning. Bangkok: S.R. Printing Mass Products Co., Ltd. (in Thai)
Ratchasakulchai, S. (2004). Management Planning and Control. 4th Edition. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Sae - ton, T., Haoboon, P., Junthip, P., Suteerasak, T.& Limsakul ,W. (2021). Readiness for undergraduate online learning during the COVID-19 pandemic: A case study of the Prince of Songkla University Phuket campus. Journal of Social Research and Development. 3(1), 23 – 37. (in Thai)
Sritipratana, T. (2014). Leadership, Planning Process, Coordination and Operation Affecting the Quality of Work Life in Organization Case Study of Employees of Telecom Company in Bangkok. Master’s Thesis, Bangkok University. (in Thai)
Stufflebeam, D. L. (2008). The CIPP model for evaluation in national conference on educational research 17-18 January 2008. Phitsanulok, Thailand: Faculty of Education Naresuan University.
Stufflebeam, D. L., & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation: Theory, models and applications (2nd eds.). San Francisco: Jossey-Bass
Sueksakit, N. (2018). Factors Affecting Learning Achievement of Student at Vocational Education Certificative Level in the Commercial of School Vocational Educational. Master's thesis, Siam University. (in Thai)
Thai government gazette (2020). Declaration of an Emergency Situation in all areas of the Kingdom of Thailand, 2020. Retrieved (2021, 2 January).from https://www.tosh.or.th/covid-19/images/file/2020/T_1.PDF?_t=1590561657.
Thailand Nursing and Midwifery Council (2018). Announcement of the Nursing Council. Core competencies of graduates with a bachelor's degree. Retrieve (2021,12 March) From https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf. (in Thai)
The Communicable Disease Act. (2015). Retrieved (2021,2 January) from https://tmc.or.th/pdf/covid-19_02-110363.PDF.
Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage of His Majesty the King (2010). Manual of teaching and learning system Learners are the learning center. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Thien Wattana Printing. (in Thai)
UNESCO. (2020). Education in a Post-COVID World. Nine Ideas for Public Action
Unya Plodpluang.(2022).The Role of Nurses in the Provision of Vaccine Servicesto Prevent Coronavirus 19. Journal of Health Sciences Scholarship. 9(1),39-51.
Wannarat, W. (2017). Test Score and Grading. Journal of Humanities and Social Sciences, Ratchaphruek University. 2(3), 1-11. (in Thai)
Wattanasoontorn, K. (2008). Application of Stufflebeam’s CIPP Model for Educational Project Evaluation. Suranaree J. Soc.Sci. 2(1) June, 67 – 83. (in Thai)
Wiriyakowin, S. (2005). The relationship between personal factors, job characteristics, quality of life, work on participatory decision-making in the administrative process of registered nurses. Case studies: Rama 9 Hospital. Master's Thesis, Burapha University.
(in Thai)
World Health Organization (WHO) (2020). "Q&A on coronaviruses (COVID-19)".Retrieved (2020, 14 May). from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/q-a-coronaviruses.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด