การจัดการความรู้สู่การพัฒนาแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับแหล่งทุนภายนอก
คำสำคัญ:
โครงร่างวิจัย, ทุนวิจัย, การจัดการความรู้, แนวทาง, ชุมชนนักปฏิบัติบทคัดย่อ
การจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและงานองค์กร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกผ่านกระบวนการจัดการความรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนทั้งความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนและความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า ภายใต้กรอบแนวคิดสามเหลี่ยมการจัดการความรู้ 3 มิติ ได้แก่ 1) เนื้อหาองค์ความรู้ 2) กระบวนการของการเรียนรู้ และ 3) การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร มาผสมผสานกับกระบวนการการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) โดยขั้นตอนที่สำคัญของการเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก 1) การเตรียมตัวพัฒนาโครงร่างวิจัย 2) การศึกษาการเขียนโครงร่างให้พิชิตทุนภายนอก 3) การบริหารทีมวิจัยและทรัพยากรในการพัฒนาโครงร่างวิจัย และ 4) การเตรียมตัวเพื่อส่งโครงร่างวิจัย (submission) ขอทุนภายนอก แนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากภายนอก และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่สำหรับผู้วิจัย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับชุมชนและองค์กรอย่างแท้จริง
References
Praboromarajchanok Institute. (2021). KM for Learning Organization Academic year 2020 : mission of research. Chiang Mai: Loma Press. (inThai).
Office of the National Economic and Social Development Council. (2005).Knowledge Management Plan Manual. Retrived 2021, 27 October from: http:// www.203.157.7.7/KM/doc/handbook_2549.pdf.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2021).National Economic and Social Development Plan No. 13. Retrived 2021, 27 October from: http://www.ldd.go.th/PDF/DevelopmentPlanNo.13.pdf.
Prapha-inthara, P., & Rasiri, S. (2021). The Ten Good Practices of Seeking Research Funds from External Funding Sources. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 4(2), 233-237. (inThai).
Thanissaro, P., Pengtham, C., & Suracitto, W. (2020). nowledge Management: Men and Work Development Process. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 196-203. (inThai).
The Knowledge Management Institute. (2007). Knowledge Management Triangle Model. Retrived 2021, 27 October from: http:// 203.157.7.7/KM/pics/ModelKM/fs_model18_TriangleKM.pdf.
Sngounsiritham, U. (2014). Writing a Research Proposal for Funding from Agency. Nursing Journall. 41(2), 133-141. (inThai).
Vichianpanya, J., Natakuatoong, O., & Bungbua, P. (2020). The Development of knowledge management system for Research Utilization. Journal of the Association of Researchers, 25(1), 532-549. (inThai).
Phrapokklao Nursing College. (2020). Self Assessment Report: For Obtaining Accreditation Form Thailand Nursing and Midwifery Council. (inThai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด