คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและกำหนดแนวทางการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามโครงการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม พัฒนามาจากเครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (ฉบับภาษาไทย) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ประเด็นร่วม
ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.32, = 0.57) และคุณภาพชีวิต ระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ความพอใจในชีวิตทางเพศ การยอมรับรูปร่างหน้าตา และทำงานหรือมีชีวิตอยู่ได้ในแต่ละวันแม้ว่าจะจำเป็นต้องไปรับการรักษาพยาบาล (µ = 1.88 = 0.78), (µ = 1. = 0.53), (µ = 1.00, = 0.00) ตามลำดับ สำหรับการกำหนดแนวทางในการดูแลคุณภาพชีวิต ได้แก่ 1) การวางแผนให้ความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัด และการดูแลด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอโดยบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) จัดหากายอุปกรณ์ช่วยด้านการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม 3) ออกเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอทั้งบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน 4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การทำบุญ การจัดกิจกรรมพบปะซึ่งกันและกัน 5) ผสานความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกชุมชนในการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย การซ่อมแซมบ้าน รวมถึงสนับสนุนการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
ดังนั้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ควรทำงานร่วมกันแบบภาคีเครือข่ายทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มองค์กรในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนต่อไป
References
Boonyaratkalin P. (2018). Long-term Care for the Dependent Elderly in the Community: The
Nurse’s Role. Thai Red Cross Nursing Journal.11(1), 56-57. (in Thai)
Chaiyachen J. (2021). Quality of Life Development for the Elderly People in Tambon
Thathongmai,Kanchanadit District, Suratthani Province. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si
Thammarat Rajabhat University. 13(1), 210-211. (in Thai)
Charoenwong S., el al. (2018). Dependent Elders in a Southern Rural Muslim Community: Current
Situation of Care and Needs for Long-Term Care. The Southern College Network Journal
of Nursing and Public Health. 5(2), 243-244 . (in Thai)
Department of Local Administration. (2017). Department of Local Government Strategy 2017-
Retrieved. (2021, Decembe 11) from www.dla.go.th.(in Thai).
Gazette. (2018). Notification of The Decentralization Committee for Local Government Re: Define
the business in the interests of the local people as the authority and duties of the local authority. Care for elderly people with
dependency. Retrieved. (2021, Decembe 11) from www.ratchakitcha.soc.go.th.(in Thai)
Jongrat K., el al. (2019). Health condition and Quality of Life of Elderly people with
dependency at Municipal district Thung Song, Nakhon Si Thammarat Province.Journal of Health Science. 28(6),1017-1018 . (in Thai)
Kayakan K , Kosalvitr T , Bunyaniwarawat N. (2019) . Integrated Community-Based Long Term
Model Using Community Participation for Dependent Elders at Dongbang Promoting Hospital in Mueang District.Ubon
Ratchathani Province.Journal of Humanities & Social Sciences. 17(1),15-16. (in Thai).
Mahatnirunkul S., el al. (2002). WHOQOL-BREF-THAI. Chiangmai. Department of Mental Health.
Retrieved. (2021, Decembe 11) https://www.dmh.go.th. (in Thai)
Sawatphol C., el al. (2017). Care for Elderly Dependents in the Northeast of Thailand. Journal of
MCU Peace Studies. 5(1),402-403 . (in Thai)
Yapradit P, Kongtaln O. (2019). The Development of a Long Term Care Service for Dependent
Elders in Nongsim Sub-district, Borabue, Mahasarakham Province. Songklanagarind Journal of Nursing.40(3), 59-60. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด