การจัดบริการเลิกบุหรี่ในสถานศึกษา : ความเป็นไปได้ รูปแบบ ปัญหาและอุปสรรค

ผู้แต่ง

  • ดลนภา ไชยสมบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัมพร ยานะ Boromarajjonani College of Nursing, Phayao, Faculty of Nursing, Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health
  • บัวบาน ยะนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การเลิกบุหรี่, โรงเรียนมัธยม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ ความเป็นไปได้ ปัญหา อุปสรรค  และข้อเสนอแนะรูปแบบการให้การช่วยเหลือนักเรียนให้เลิกบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอนามัยโรงเรียน/ครูผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาเรื่องบุหรี่, ผู้ปกครอง และ นักเรียน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดพะเยาจำนวน 27  โรงเรียน รวมจำนวนผู้ร่วมวิจัยทั้งสิ้น  108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 1) ปัจจัยส่วนบุคคล, 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการดำเนินการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงเรียน, 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่  โดยเครื่องมือได้รับการตรวจสอบคุณภาพผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.89 เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่โรงเรียนควรให้บริการเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ในโรงเรียน ทั้งนี้ ครูอนามัยโรงเรียน/ครูผู้รับผิดชอบ เพียงร้อยละ 37.04 เคยมีประสบการณ์ในการอบรมให้ความรู้การช่วยให้นักเรียนเลิกบุหรี่ ครูมีประสบการณ์ในการให้การช่วยเหลือนักเรียนให้เลิกบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 66.67 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในระดับพร้อมมากในทุกด้าน ยกเว้น ครูมีความเห็นว่า มีความพร้อมในระดับปานกลางในด้านสถานที่จัดทำเป็นคลินิกเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ในโรงเรียน นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยเกี่ยวกับการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 96.29 แต่ ร้อยละ 51.85  ของนักเรียน คิดว่านักเรียนจะไม่ไปใช้บริการถ้าโรงเรียนมีคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ในโรงเรียน  ผู้ปกครองทั้งหมดร้อยละ 100 เห็นด้วยเกี่ยวกับการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงเรียน  ทั้งนี้ครู และ ผู้ปกครอง มีระดับความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่นักเรียนมีความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรมีการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และการเลิกบุหรี่ ในโรงเรียน ให้แก่ คือ ครูอนามัยโรงเรียน/ครูผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาเรื่องบุหรี่ ผู้ปกครอง และ นักเรียน  รวมทั้งการส่งเสริมทัศนคติที่ถูกต้องให้กับนักเรียนในการยอมรับการให้การช่วยเหลือในการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงเรียน 

References

Action on Smoking and Health Foundation. (2018). The results of the evaluation of smoke-

free schools can actually prevent new smokers. Retrieved 1 November 2020. from

http://www.smokefreeschool.net/content_attachment/ attach/

b8b0b1ce9c32e5fb36f77ec2b48c.pdf. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. (2014). Best Practices for Comprehensive

Tobacco Control Programs 2014. Atlanta, GA: U.S. Department of Health and Human

Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Center for Chronic

Disease Prevention and Health Promotion, Office on Smoking and Health

Chaikoolvatana, C., Sutti, P. & Jaimalai, W. (2017). Smoking behavior and risk factors

associated with smoking of early adolescents in Phayao Province, Thailand. Nursing

Journal of the Ministry of Public Health. 27(3), 57-67. (in Thai)

Gabble, R., Babyan, A., DiSante, E. & Schwartc, R. (2015).Smoking cessation intervention for

youth: a review of the literature. Toronto: Ontario Tobacco Unit.

Hanpatchaiyakul, K., et al. (2021). Journal of Research and Curriculum Development, 11(2), 109-121.

Krishnan-Sarin, S., et al. (2013). An exploratory randomized controlled trial of a novel

highschool-based smokingcessation intervention for adolescent smokers using

abstinence-contingent incentives and cognitive behavioral therapy. Drug Alcohol Depend. 132(0),346–351.

National Statistical Office of Thailand. (2018). The smoking and drinking behaviour survey 2017.

Bangkok: Pimdeekarnpim Co., Ltd. (in Thai)

Nualjun, N. & Suepsamran, P. (2016). The situation of smoking behavior among staff and

students at Ubon Ratchathani University: Smoke Free Ubon Ratchathani University

Project. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 18(2),1-10. (in Thai).

Royal Thai government. (2022). (Draft)Third National Strategic Plan for Tobacco Control

– 2027. Retrieved 1 November 2020from: https://www.thaigov.go.th/news/contents/ details/51642. (in Thai).

Smoking cessation clinic, Phayao Hospital. (2019). Summary of the annual report on the

operation of the smoking cessation clinic. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย