การศึกษาลักษณะทางคลินิกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงของการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในเด็ก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี
คำสำคัญ:
ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ในเด็ก, อาการรุนแรง, อาการรุนแรง, .กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายลักษณะทางคลินิกของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ในผู้ป่วยเด็ก 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในผู้ป่วยเด็ก และ 3) เพื่อติดตามเฝ้าระวังภาวะกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อายุแรกเกิด-18 ปี ที่ได้รับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในรพ.พระนารายณ์มหาราชตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2564 จำนวน 169 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยเด็ก 2) แบบสัมภาษณ์ติดตามอาการทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติ Chi-square, Fisher’s exact ,OR crude และค่า 95% CI วิเคราะห์ความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test, Mann-Whitney U test.
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากคนในครัวเรือน ร้อยละ 76.30 ระดับความรุนแรงของอาการระดับ mild disease ร้อยละ 65.10 ปัจจัยด้านอายุ 1-5 ปี (p=.023) อายุ 6-12 ปี (p=.000) และอายุ 13-18 ปี (p=.001) อาการไข้ (p=.041) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (p=.040) และมีผื่น (p=.010) มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยอุณหภูมิร่างกาย (p=.000) ระยะเวลาการมีไข้ (p=.000) ค่าความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด (p=.000) ระยะเวลานอนพักโรงพยาบาล (p=.006) Albumin (p=.020) และ CRP (p=.024) ของกลุ่มอาการเล็กน้อยกับกลุ่มอาการรุนแรงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการติดตามเฝ้าระวังพบผู้ป่วยเด็กมีภาวะ MIS-C 3 ราย ร้อยละ 1.80 ดังนั้นควรส่งเสริมให้ประชาชนมี Health literacy ปรับพฤติกรรมป้องกันแพร่กระจายเชื้อในครัวเรือน และส่งเสริมมาตรการการติดตามเฝ้าระวังภาวะMIS-C
References
Alsohime, F., Temsah, M.H., Al-Nemri, A. M., Somily, A.M., & Al-Subaie S. (2020). COVID-19 infection prevalence in pediatric population: Etiology, clinical presentation and outcome. Journal of infection and public health, 13(12), 1791-1796. doi:10.1016/j.jiph.2020.10.008.
Barek, M.A, Aziz, M.A, & Islam, M.S. (2020). Impact of age, sex, comorbidities and clinical symptoms on the severity of COVID-19 cases: A meta-analysis with 55 studies and 10014 cases. Heliyon, 6(12), 1-24. doi: 10.1016/j.heliyon.2020.e05684. Epub 2020 Dec 15.
Centers for Disease Control and Prevention. (2020). Coronavirus disease 2019 in children United States. Morbidity and mortality weekly report, 69 (14), 5-8.
Chang, T.H, Wu, J.L, & Chang, L.Y.(2020). Clinical characteristics and diagnostic challenges of pediatric COVID-19: A systematic review and meta-analysis. Journal of the Formosan Medical Association, 119(5), 982-989.
De Souza, T.H, Nadal, J.A, Nogueira, R.J, Pereira, R.M, & Brandao, M.B. (2020).Clinical manifestations of children with COVID‐19: A systematic review. Pediatr pulmonol, 55(8), 1892-1899. doi: 10.1002/ppul.24885. Epub 2020 Jun 15.
Department of Medicine. (2021). Guidelines Multisystem Inflammatory Syndrome in Children; MIS-C in Thai. (Online), Available: https://www.thaipediatrics.org/pages/Doctor/Detail/46/387. (2021, October 4).(inThai)
Dong, Y., el al. (2020). Epidemiological Characteristics of 2143 pediatric patients with 2019 coronavirus disease in China.Pediatrics, 145(6). doi:10.1542/peds.2020-070.
Feldstein, L.R., el al. (2020). Characteristics and outcomes of US children and adolescents with multisystem inflammatory syndrome in children (MIS-C) compared with severe acute COVID-19. The Journal of the American Medical Association, 325(11),1074-1087. doi: 10.1001/jama.2021.2091.
Kriangburapha W. (2020). Coronavirus infection 2019 in children . British Medical Journal, 7(1),96-102. (in Thai)
Lu, X.,el al. (2020). SARS-CoV-2 Infection in children. The New England Journal of Medicine (NEJM), 382(17), 1663-1665.
Mejia, F., el al. (2020).Oxygen saturation as a predictor of mortality in hospitalized adult patients with COVID-19 in a public hospital in Lima. PloS ONE, 15(12),doi: 10.1371/journal.pone.0244171
Ministry of Public Health. Department of Disease Control Emergency Operrations Center. (2021). Situation report Coranavirus Disease 2019 No 715. (Online), Available: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php. (2021, December 18). (in Thai)
Panahi, L., Ami, i.M., & Pouy, S. (2020). Clinical characteristics of COVID-19 infection in newborns and pediatrics: A systematic review. Archives of academic emergency medicine, 8(1), 1-9.
Phuworawan Y. (2021). The impact of covid-19 in thaland. Thai Journal of Pediatrics, 60(2), 81-82. (in Thai)
Samkoket, R. (2021). Report the situation of COVID-19 in Thai children(0-18 year old). (Online), Available: https://www.thaipediatrics.org. (2021, August 21). (in Thai)
Sun, D., el al. (2020). Clinical features of severe pediatric patients with coronavirus disease 2019 in Wuhan: A single center’s doi:10.1002/ppul.24991.
Zhang, H., el al. 2020). Potential factors for prediction of disease Severity of COVID-19 Patients (Online), Available: https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.03.20.20039818v1 doi: 10.1101/2020.03.20.20039818i. (2021, November 11). (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด