การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมการเจริญเติบโต, พัฒนาการเด็ก, ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กก่อนวัยเรียน ผู้ปกครองเด็ก คณะกรรมการบริหารศูนย์เด็ก อาจารย์พยาบาลเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก แบบวัดความรู้และทักษะของครูผู้ดูแลเด็ก และสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การเจริญเติบโตและพัฒนาการ พบว่า เด็กน้ำหนักไม่ตามเกณฑ์ ร้อยละ 35 ส่วนสูงไม่ตามเกณฑ์ ร้อยละ 15.00 ไม่สมส่วน ร้อยละ 28.70 เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย จำนวน 37 คน (ร้อยละ 46.25) ด้านพัฒนาการ โดยพัฒนาการไม่สมวัยเพียง 1 ด้าน จำนวน 26 คน (ร้อยละ 32.50) และมีพัฒนาการไม่สมวัยมากกว่า 1 ด้าน จำนวน 11 คน (ร้อยละ 13.75) 2) รูปแบบการดูแลเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ 2.1) นโยบายการบริหารจัดการ 2.2) ระบบการจัดการข้อมูล 2.3) การพัฒนาบุคลากร และ 2.4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ดังนั้นศูนย์เด็กควรนำรูปแบบการดูแลเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการนี้ ไปกำหนดเป็นนโยบายบริหารการดูแลสุขภาพเด็ก เพื่อวางแผนการจัดการระบบข้อมูลกับภาคีที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
References
Aremit, R., Saengnipanthkul, S., Lumbiganon, P., Sutra, S., & Sripanidkulchai, K. (2020).Implementation of KhunLook Application: a Model for Health Supervision at Well Child Clinic. Nonthaburi: Health Systems Research Institute (HSRI). (in Thai)
Chumprasert, T., Wiroonpanich, W., & Wattanasit, P. (2019). Relationships between the use of electronic media and the development of children Aged 2-5 Years in Public Child Development Centers in Songkhla Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2), 91-104. (in Thai)
Jerajaturapornkul, P., Kosanpipat, S., & Srisurak, C. (2018). Guidelines for education development in early childhood level of Child Development Center attach to Chiang Dao sub-district administration organization to the standards of The National Child Care Center. Phikanate Journal, 14(2), 17-29. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2020). Developmental Surveillance and Promotion Manual (DPSM). Nonthaburi: WVO officer of Printing Mill Press. (in Thai)
National standard for early childhood development centers. (2019). National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand. Bangkok: National Early Childhood Development Board. (in Thai)
Nisarojh, C. (2018). The satisfaction of the children guardians towards the early childhood center administration. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(1), 14-26. (in Thai)
Preschool Development Center at Boromarajonani College of Nursing, Lampang. (2020). Child development and growth assessment report. Lampang: Boromarajonani College of Nursing, Lampang. (in Thai)
Pumpoo, P. (2019). Operation educational for early childhood in Visnupat Child Development Center. Online Journal of Education, 14(2), 1-11. (in Thai)
Prommul, J., Klerlhee, T., Perngyai, C., & Suwanwwaiphatthana, W. (2018). Nutritional status of pre-school children with participation of families and communities in muang Songkhla. Journal of the Southern College of Nursing and Public Health Network, 5(3), 169-185. (in Thai)
Tapruk, S., Mukdakaseam, P., Seubnuch, J., & Jaturapornpoem, J. (2017). The study of caregivers and community participation about childcare factors to promotion of child growth and development on the Regional Health Promotion Centers 4 and 5. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 11(25), 21-42. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด