ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังใน ระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต โรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง, ระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต, พฤติกรรมการจัดการตนเองบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต กลุมตัวอยางคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 3b-5 มีชื่ออยู่ในข้อมูลประวัติทะเบียน ผู้ป่วยโรงพยาบาลแม่ทะในโปรแกรม Hos xp เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson’s Product Moment และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) พบว่าความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คิดเป็นร้อยละ 23.5 ของพฤติกรรมการจัดการตนเอง (R2 = 0.23, F = 17.97 , p < 0.01) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองมีอิทธิพลต่อความแปรปรวนของพฤติกรรมการจัดการตนเองมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = 0.33 , p < 0.01) รองลงมาคือความรู้ (β = 0.23 , p < 0.05) ส่วนระยะของโรคไม่มีอิทธิพลต่อความแปรปรวนของพฤติกรรมการจัดการตนเอง (β = -.0.2 , p > 0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ไดใหขอมูลที่เปนประโยชนสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการข้อมูลและวางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ชะลอการเข้าสู่ระยะบำบัดทดแทนไตให้ช้าลง
References
Ardkhitkarn S., Pothiban L., Lasuka D.(2013). Self –Management Behaviors and Predicting Factors in Elders with End Stage Renal Disease Undergoing Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis. Nursing Journal, Volume 40 Supplement December. (in Thai)
Chaiyasung,P., Meetong,P.(2018). Factors Predicting Chronic Kidney Disease of Patients with Chronic Disease in the Community. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center,35 (2). (in Thai)
EDC(2019). Chronic Kidney Disease (CKD) Surveillance System.(on line), Available: https://nccd.cdc.gov/CKD/default.aspx.
Gage, N. L., & Berliner, D. C. (1992). Educational psychology (5th ed.). Houghton, Mifflin and Company.
HDC Lampang (2019). (on line), Available: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
Jantarametekune,S.(2011). Risk Factors Kidney complications in type 2 diabetes mellitus.(on line)
Available: http://www.m u k h o s . g o . t h / s i t e / d a t a / r e s e a r c h _ 1333503317_sutep.pdf.
Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History, definittion, outcome, and mechanisms. The Society of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.
Maneesr,S.(2010). Factors Influencing Self-Management Behavior of Patients with Chronic Kidney Disease. Master of Nursing, Mahidol University. (in Thai)
Nephrol Dial Transplant (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai. adult population: Thai SEEK study. .(on line), Available: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20037182.
Pattarapunn Unaphak.(2558). The observational Study Of Selfcare Behaviors To Prevent Complication Chronic Kidney Desease Patients Stage 1-5 At Somdejphaphuthalertlar Hospital, Samutsongkhram Province.Thesis M Pharm in community Phamcy. Naresuan (in Thai)
Rani, A. U. (2011). Nurse role in prevention of chronic kidney disease (CKD). International Journal of Nursing education, 3(2), 125-127 (in Thai)
Seephom S.(2013). Self-management in chronic kidney disease. Thai Red Nursing Journal, 6(1).(in Thai)
Sristitnarangune, B.(2010). The Maethadology of Nursing Research. Bangkok: U&I Intermedia.Thanakitjaru,P.(2015) Current situation of chronic kidney disease in Thailand.Journal of The Department of Medical Services. 5, 5-17.(in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด