ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ภาวะเสี่ยงหกล้ม, ปัจจัย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การหกล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจ การวิจัยนี้จึงศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง โดยทดสอบด้วยวิธี Timed up and go test ตามแนวทางการคัดกรองภาวะหกล้มในผู้สูงอายุของประเทศไทย การศึกษานี้เป็น Cross-sectional study ในผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง เดือนตุลาคม พ.ศ.2562 ถึงกันยายน 2563 จำนวน 3,600 คน จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ วิเคราะห์ความชุกโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุโดยใช้ fisher exact test และ multiple logistic regression
ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะเสี่ยงหกล้มเท่ากับ ร้อยละ 3.50 เพศหญิงพบภาวะเสี่ยงหกล้ม 1.86 เท่า (ORadj=1.86, 95% CI 1.13 – 3.03) เมื่อเทียบกับเพศชาย ภาวะเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมมีภาวะเสี่ยงหกล้ม 80.16 เท่า (ORadj=80.16, 95% CI 50.11 – 128.23) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นกลุ่มติดบ้านพบภาวะเสี่ยงหกล้ม 12.96 เท่า (ORadj=12.96, 95% CI 4.16- 40.32) เมื่อเทียบกับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นกลุ่มติดสังคม บุคลากรทางสาธารณสุขควรมีมาตรการในการดูแล และป้องกันผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองพบภาวะเสี่ยงหกล้ม โดยเฉพาะเพศหญิง มีภาวะเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นกลุ่มติดบ้าน
References
Assantachai, P. (2011). Common health problems in the elderly and their prevention (2 ed.). Bangkok: Union
Creation Co., Ltd. (in Thai)
Bischoff, H. A., et al. (2003). Identifying a cut off point for normal mobility: a comparison of the timed up and go
test in community-dwelling and institutionalised elderly women. Age and Ageing, 32(3), 315-320.
doi:10.1093/ageing/32.3.315 %J Age and Ageing
Campbell, A. J., Spears, G. F., & Borrie, M. J. (1990). Examination by logistic regression modelling of the variables
which increase the relative risk of elderly women falling compared to elderly men. Journal of clinical
epidemiology, 43(12), 1415-1420.
Department of medical services ministry of public health. guide to screening / assessing the elderly (2 ed.).
Office of Printing Welfare, Veterans Organization. (in Thai)
Gillespie, L. D., et al. (2012). Interventions for preventing falls in older people living in the community. Cochrane
database of systematic reviews(9).
Howe, T. E., Rochester, L., Neil, F., Skelton, D. A., & Ballinger, C. (2011). Exercise for improving balance in older
people. Cochrane database of systematic reviews(11).
Institute for Population and Social Research Mahidol University Thailand. (2021). Thailandometers. (online)
Retrieved from http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/. (in thai)
Lampang provincial statistical office. (2021). Analyze and summarize the situation of the Lampang elderly.
(online) Retrieved from http://lampang.nso.go.th/index.php?
option=com_content&view=article&id=423:2020-09-14-21-39-28&catid=105:2012-01-09-07-07-
&Itemid=657. (in Thai)
Limpawattana, P., Sutra, S., Thavompitak, Y., Chindaprasirt, J., & Mairieng, P. (2012). Geriatric hospitalizations due
to fall-related injuries.Journal of the medical association of thailand, 95(7), 235-239.
Noopud, P., Phrom-On, D., Woradet, S., & Chaimay, B. (2020). Prevalence of fall risk and factors associated with
fall risk among elderly people. Journal of sports science and health, 21(1). (in Thai)
Phelan, E. A., Mahoney, J. E., Voit, J. C., & Stevens, J. A. (2015). Assessment and management of fall risk in primary
care settings. Medical clinics, 99(2), 281-293.
Robbins, A. S., Rubenstein, L. Z., Josephson, K. R., Schulman, B. L., Osterweil, D., & Fine, G. (1989). Predictors of
falls among elderly people: results of two population-based studies. Archives of internal medicine, 149(7),
-1633.
Saelee, P., & Suttanon, P. (2018). Risk Factors for Falls in People with Knee Osteoarthritis: Systematic Review.
Vajira medical journal: Journal of urban medicine, 62(4), 281-288.
Skelton, D. A. (2001). Effects of physical activity on postural stability. Age ageing, 30(suppl_4), 33-39.
Trongsakul, S., & Vimolratana, O. (2018). Prevalence and associated factors of fall risk in Thai older people: a
primary care based study in Chiang Rai. Journal of current science and technology, 8(2), 99-106.
van Schoor, N. M., et al. (2020). Clinical osteoarthritis of the hip and knee and fall risk: the role of low physical
functioning and pain medication. Paper presented at the Seminars in arthritis and rheumatism.
World Health Organization. (2015). World report on ageing and health: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด