ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤษฏ์ ธรรมกวินวงค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • เอกสิทธิ์ ไชยปิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • พยอม ถิ่นอ่วน คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง
  • เปรมเกียรติ วงศ์พิมพ์คำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านศาลาดงลาน ลำปาง
  • พรไพลิน แสงแจ่ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • มณฑิรา หมื่นภิรมย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ฐิติวัลย์ วนาลัยนิเวทน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง, ความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองสมอง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อสุขภาพ กับความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองสมอง 3) ความสัมพันธ์ของความรู้กับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้มีอายุ 30 – 59 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 248 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ,พฤติกรรมและความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา   และการทดสอบไค-สแควร์

               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความเชื่อสุขภาพภาพรวม จำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 87.90 โดยด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคมีการรับรู้สูงสุด (ร้อยละ 95.16)  และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง, ความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ย โรคประจำตัว และประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, ปัจจัยความเชื่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กับความรู้ในการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค, ด้านการรับรู้ประโยชน์และด้านการรับรู้ต่ออุปสรรค ส่วนปัจจัยด้านความรู้ในการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านอาหารและเครื่องดื่ม และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

References

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and sick role behavior. In M. H. Becker(Ed.), The health belief model

and personal health behavior (pp. 82-92). Thorofare, NJ: Charles B.Slack.

Behavioral Health Care Center Health Education Division (2013). Sweet and Salty Dietary Behavior Books Sweet

Salty, 1 (1), 1-3.

Best, John W. (1981). Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc., p. 182.

Boonyanuch, B. (2020). Perception of Stroke in Hypertensive Patients Makhamlom Sub-District, Suphan Buri

Province. 13 (January - June 2020): 93.

Chuaybudda, S. (2015). Study of factors affecting the risk of cardiovascular disease. Of people aged 35 years and

over, Nong Bua Subdistrict, Ban Fang District, Khon Kaen Province. Journal of community health development, 3 (October - December 2015): 549.

Department of Disease Control. (2016). Situation Report of NCDs, Diabetes and Hypertension. And associated

risk factors. Nonthaburi: Division of NCDs. Department of Disease Control.

Epidemiology Division, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2016). Surveillance system, 5

groups, disease, 5 dimensions. Nonthaburi: Division of Epidemiology. Department of Disease Control.

Hirungerd S., Vutiso P., Srimongkol M. (2021). The Effect of Health Belief Model Program on

Knowledge , Stroke Prevention Behavior and Blood Pressure Levels in Hypertensive

Patients The Responsibility Area of Kaeng Khro Hospital, Chaiyaphum Provinc.

Journal of the royal thai army nurses.2021;22(1): 478-487.

Klinsakorn, C., Saetan,S.(2020). Factors Related to Self-Protective Behavior of Stroke with

Controlled Hypertention Patients Who Live in Danchang District, Suphanburi Province. Journal of council of

community public health 2020; 2(2), 62-77.

Kompilo, N. (2016). Knowledge, attitude and risk behaviors of stroke among people with hypertension in maeta

hospital, maeta district, lampang province. 2559.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activi- tiesEducational and

Psychological Mea- surement. 30, 607 – 610.

Kuder, Frederic G. and M.W. Richardson. (1937). The Theory of the Estimation of Test

Reliability, Psychometrika. 2(September 1937), 151-160.

Lahkum, S. (2017). Relationship between Health Belief perception and stroke prevention

behavior in high risk patient in Nuea Mueang Sub District, Mueang District, Roi Et Province.

Lampang Provincial Health Office. (2021). Annual Report 2021. Lampang Provincial Health Office Mueang District,

Lamphun Province. (in Thai)

Prapaananchai P., Mungtaweepongsa S. (2014). Ischemic brain syndrome: Stroke Syndrome. Thai journal of

neurology, 30(4), 24-34.

Puttawong W., Kittipichai V., Silawan T., Mensawangsab C., (2014). Risk Factors and Cerebrovascular Disease

among Hypertensive Patients Payao Provine. Journal of public health. 44(1), 30-45.

Reunsungnern, S. (2017). The level of awareness of the warning symptoms of cerebrovascular disease in

hypertensive patients Bo Thong Sub-District Health Promoting Hospital, Pak Chong District, Nakhon

Ratchasima Province, Srinagarind medical journal, faculty of medicine, khon kaen university, 32

(September - October 2017): 489.

Saikamthon, S. (2016). Effects of risk factors for cerebrovascular disease, Health District 1, Office of Disease

Prevention and Control 1, Chiang Mai and Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control,

Ministry of Public Health. Lanna public health journal, 12 (July - December 2016): 52.

Thammakawinwong N. Creating Policy Participation of Health Behavior for Reduce

Cancer, Hypertension and Cardiovascular Disease in Maelan Subdistrict, Li District,

Lamphun Province. Journalof the royal thai army nurses.2020;21(2): 111-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย