ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปานชีวัน แลบุญมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจัวเหนือ จังหวัดลำปาง
  • วัชรพงษ์ บุญจูบุตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจัวเหนือ จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

Changing health behavior, Diabetes Patients, Self care behavior, Fasting blood sugar

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานในตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 1) กระบวนการเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2) กระบวนการสร้างการรับรู้ผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน 3) กระบวนการเสนอแบบอย่างด้านบวกเล่าประสบการณ์ และ 4) ประเมินภาวะสุขภาพ ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพหลังใช้โปรแกรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในป่วยโรคเบาหวาน  และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t – test และ independent t – test

          ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่าก่อนทดลอง และมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05)   ดังนั้นการใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานมีส่วนช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานต่อไป

References

Boonpradit A.., et al. (2015). The Effects of Self-Efficacy Enhancement Program on Health Behaviors

Among Patients with Diabetes in Nong-Done Disyrict, Saraburi Province. Journal of

phrapokklao nursing college. 27(1). 72-82.

Division of Non Communicable Disease. (2018). World Diabetes Day 2018. Retrieved from:

http://www.thaincd.com/2016/news/announcement- detail.php?id=13256&gid=16 (2020, 20 May).

Health Data Center. (2020). Incidence rates of diabetes. Retrieved from:

https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/.php.ecefebce0001.(2020, 01 May).

Kongpunt P. (2016). Effects of Health Education Programs based on Protection Motivation

Theory and Social Support on Behaviors to Prevent Complications from Kidney

Disease among Type 2 Diabetic Patients. Journal of phrapokklao nursing college.

(1).28-42.

Nakkling Y., et al. (2017). Effect of Self–Efficacy Enhancement Program on Health Behaviors

among Older Adults with Uncontrolled Hypertension. Apheit international journal

(1): 27-35.

Policy development and risk communication. (2019). World Diabetes Day 2019. Division of non-

communicable diseases, Department of disease control. Retrieved from:

https://ddc.moph.go.th/odpc6/news.php?news=10238&deptcode= (2020, 20 May).

Public Health System Development. (2016). World Diabetes Day 2017. [online] Available from:

http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease (2020, 20 May).

Suwunsusiri J., et al. (2019). The Result of Health Promoting Program for Diabetes Patients

without Insulin at Damnoensaduak Hospital. Hua Hin sook jai klai kangwon journal.

(1).35-50.

Thongsumrit D., et al. (2017). Effects of Health Behavior Modifying Program on Ability of Self-

care among Risk Group of Diabetes Mellitus in Ratchaburi. Journal of phrapokklao

nursing college. 28(1), 26-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย