ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เมธินี ศรีสวัสดิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง จังหวัดลำปาง
  • กัลยา ถาวงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     

                  การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีระดับค่าความดันโลหิต ≥ 130/85- 139/89 ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง  อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจาก power analysis กำหนดค่า effect size ระดับปานกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ในการศึกษาทางการพยาบาลเท่ากับ 0.6  ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 และค่าอำนาจการทดสอบทางสถิติ (power analysis) เท่ากับ 0.8 เปิดตารางได้ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 24 คน คำนวณเพื่อป้องกันข้อมูลไม่ครบถ้วนร้อยละ 20 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และ ส่วนที่ 2 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแบบวัดระดับการบริโภคความเค็มในอาหาร ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแนวความคิด เรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health literacy)  ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t- test

                ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม  และมีระดับความเค็มในการบริโภคอาหารต่ำกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.001)

               ข้อสรุปโปรแกรมฯ นี้สามารถนำไปใช้สำหรับการปรับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้เกิดผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

 

References

Chormai, P.,Panpawit, A. (2015). Effect of Health Promotion Program for Promoting Health

Behavior Change in Groups at High Risk of High Blood Pressure at Bankhaodin Health

Promotion Hospital, Khaopanom District, Krabi Provinc. The journal of graduate school,

pitchayatat, ubon ratchathani rajabhat university (Humanities and Social Sciences).

(1): 15-24.

Health Data Center, Ministry of Public Health. (2020). The statistics of hypertension in Ban Na

Yang sub-district top 5. Retrieved from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports,

(2020, 2 April). (in Thai).

Hosutisima, P. (2019). The Effectiveness of Health Education Program on Hypertension

Prevention Among High Risk Groups in Jorrakeahin Sub district Khonburi District

Nakhonratchasima Province. Thai health science journals. 25(2): 56-66

Jugsingto, C. (2017). Effectiveness Of Health Behavior Modification Program In High Risk Group

for Diabetes Hypertansion and Obesity. Rajabhat rajanagarindra university. 86-104.

Nakkling, Y., Tudsr, P. (2017). Effect of Self–Efficacy Enhancement Program on Health Behaviors

among Older Adults with Uncontrolled Hypertension. Association of private higher

education institutions of thailand under the patronage of her royai highness princess

mahachakri sirnddhorn. 6(1): 27-35.

Phichayapongsopon, P., Sota, C. (2018). The Effectiveness of Health Education Program for

Health Behavior among Pre-Hypertension, Muang District, Nakornratchasima Province.

Thailand journal Of health promotion and environmental health. 36(3): 56-69.

Punmung, N., Yulertlob, A., Landti, S. (2019). World Hypertension day 2019. Nonthaburi:

Division of Non Communicable Diseases.

Sriswan, J., Tongtang, P. (2019). Effects of Self-Management Support Programs in Elderly

Diseases high blood pressure. Ramathibodi nursing journal. 20(2): 179-192. (in Thai)

Thipanukroh, K. (2018). Effects of self-care programs for hypertensive patients Rattaphum

Hospital Province Songkhla. Retrieved from https://www.skho.moph.go.th, (2020, 2 April). (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย