สถานการณ์การดำเนินงานการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการ เข้าถึงบริการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียน ภายใต้นโยบาย Fee Schedule เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • วริษฐา พุ่มทอง ศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • จรัสพรรณ อรุณแก้ว ศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากที่จ่ายตามรายการบริการ, การเข้าถึงบริการใน หญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียน, เขตสุขภาพที่ 1

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียน ภายใต้นโยบาย Fee Schedule เขตสุขภาพที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 325 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการดำเนินงาน และความคิดเห็นการดำเนินงาน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา เท่ากับ 0.93 และ 0.91 ตามลำดับ และศึกษาเชิงคุณภาพในผู้รับผิดชอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 8 คน โดยใช้แนวคำถามกึ่งโครงสร้างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยจัดเนื้อหาตามหมวดหมู่       

        ผลการศึกษาด้านสถานการณ์การดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับสูง เรื่องการดำเนินงานมีประโยชน์ การบันทึกและส่งออกข้อมูลระบบ 43 แฟ้มใช้งานง่าย ความชัดเจนของนโยบาย และความเหมาะสมของค่าชดเชยกับปริมาณงาน ส่วนประเด็นอื่นๆทั้งหมดเห็นด้วยระดับปานกลาง พบปัญหามากสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ระบบข้อมูล กำลังคน การเบิกจ่ายค่าชดเชย ส่วนการระบาดโควิด-19 เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า เป็นโครงการที่ดีช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียนทุกสิทธิ สถานบริการได้รับค่าชดเชยบริการเพิ่มขึ้น รูปแบบการถ่ายทอดนโยบายแตกต่างกัน การปรับเป้าหมายในแต่ละกลุ่มผู้รับบริการให้เหมาะสม บุคลากรผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ การบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์สามารถดำเนินการได้ ประเด็นกระบวนการ พบว่า การบันทึกข้อมูลใช้ทั้งโปรแกรม e-claim และระบบ 43 แฟ้ม การเบิกจ่ายค่าชดเชยบริการสามารถตรวจสอบได้ แต่ระบบการเบิกจ่ายยังล่าช้า และประเด็นผลลัพธ์ สรุปเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสถานการณ์การดำเนินงาน พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่เห็นความสำคัญของการมารับบริการ และส่วนใหญ่มีสิทธิการรักษาที่ครอบคลุมค่าบริการแล้ว ผลงานจึงได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2) ด้านปัญหาอุปสรรค พบว่าการถ่ายทอดนโยบายหลายระดับและผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังไม่ทราบนโยบายอย่างชัดเจน การตั้งเป้าหมายผลลัพธ์ไม่เหมาะสม ระบบการบันทึกข้อมูลดีแต่ระบบการเบิกจ่ายค่าชดเชยบริการล่าช้าและไม่ชัดเจน 3) ด้านข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงาน พบข้อเสนอแนะว่า ให้มีการถ่ายทอดนโยบายให้ทั่วถึง และชัดเจนทั้งเนื้อหาและแนวทางการดำเนินงาน ปรับการตั้งเป้าหมายให้เหมาะสม ปรับรูปแบบการบริหารจัดการผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมและเพียงพอ จัดอบรมการดูแลระบบข้อมูล และควรมีระบบประมวลผลข้อมูลให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด ข้อเสนอแนะ การดำเนินการโครงการที่ส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนนั้นควรมีความชัดเจนของนโยบาย การถ่ายทอดต้องมีความครอบคลุมและทั่วถึง มีระบบสนับสนุนที่เหมาะสมกับผู้ดำเนินงาน และสิ่งสำคัญคือต้องส่งผลประโยชน์แก่ผู้รับบริการในภาพรวม

 

References

Jirapongsa W., & Prasertsom P. (2008). Oral Health Promotion and Prevention in School Children Project under National Health Security “Yim (Smile) Sodsai (Bright), Dek Thai (Thai Children) Fun Dee (Healthy Teeth)”: 2005-2007.Thai Dental Public Health Journal. 13(5), 85-96. (In Thai).

Konthaphakdee D.,et al. (2018). Perceptions of Hospital Administrators and Primary Practitioners on Family Physician Clinic Policy: Understanding, Feelings, Expectations, Problems, Obstacles and Recommendations. Journal of Public Health System Research. 12(2), 267-279. (In Thai).

Ministry of Public Health. P&P Oral Health Service Plan. Retrieved 30 April 2020, form https: // www. hdcservice.moph.go.th.

Ministry of Public Health, Bureau of Dental Health Department of Health, National Health Security Office. (2019). Management manual of oral health promotion and prevention service focusing accessibility of specific population group. Nonthaburi: Sahamit Printing and Publishing Co., Ltd.; 2019. (In Thai).

Tuongratanapan S. (2020). Public - Private Partnership for oral healthcare to reduce the inequality of access to oral health services in child population in Thai urban area. Data warehouse and health system knowledge Health System Research Institute 2020. (In Thai ).

Tianviwat S.,et al.(2011). Factors related to short-term retention of sealant in permanent molar teeth provided in the school mobile dental clinic, Songkhla, Southern Thailand. Journal of Public Health 2011;41(1):50-58.

Von Bertalanffy, L. General System Theory: General Systems. Yearbook of the Society for the Advancement of General System Theory. 1: 1-10; 1956.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย