ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง, ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ, สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวล สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน (multi-stage cluster sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้: แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ ตรวจสอบคุณภาพด้วยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบค่าความเชื่อมั่น (reliability) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และสถิติการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ย 51.26 (SD 10.33) คะแนน อยู่ระดับปานกลาง 2) นักศึกษาร้อยละ 86.40 มีคะแนนภาษาอังกฤษรวบยอดของสถาบันพระบรมราชชนกน้อยว่า 51 คะแนน และ 3) ปัจจัยทำนายความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล พบปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ต่อตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านภาษาอังกฤษ ด้านสิ่งแวดล้อม (multiple R = 3.69, F = 22.207, p = .000, df (1, 277)) โดยปัจจัยเหล่านี้ร่วมทำนายความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษได้ 13.60 % (R2 = .136) และปัจจัยที่สามารถจำแนกสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล มี 2 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ต่อตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านภาษาอังกฤษ ด้านสิ่งแวดล้อม และสมการจำแนกปัจจัยทำนายได้ร้อยละ 18.40
References
Arnaiz-Castro, P., & Díaz, J. P. (2016). A study on the correlation between anxiety and
academic self-concept in interpreter trainees. Círculo de lingüística aplicada a la
comunicación, 67, 57-88.
Suksawang, A., & Sangruksa, N. (2015). Factors affecting the english language ability
according to 21st century learning skills of mathayomsuksa 6 students, secondary
education area Bangkok area 2 to support the entry into the ASEAN community.
Veridian e-journal silpakorn university, 8(2), 493-505. (in Thai).
Changlek, A., & Palanukulwong, T. (2015). Motivation and Grit: Predictors of language learning
achievement. Veridian e-journal silpakorn university, 8(4), 23-28. (in Thai).
Chawaphanth. S., LeSeure. P., Jantaramano. S., & Thana. K. (2016). The Readiness of Thai
Nurse toward the ASEAN Economic Community. Journal of boromarajonani college
of nursing, bangkok, 32(2): 29-42. (in Thai).
Chomchaiya, C. (2016). Factors affecting english communication ability in daily life of
graduates from Thai higher education institutions who were working in Bangkok.
Suan dusit graduate school academic journal, 12(2), 167-184. (in Thai).
Dewaele, J. M., Petrides, K. V., & Furnham, A. (2008). Effects of trait emotional intelligence
and sociobiographical variables on communicative anxiety and foreign language
anxiety among adult multilinguals: A review and empirical investigation. Language
learning, 58(4), 911-960.
Espinoza-Herold, M. (2003). Issues in Latino education: Race, school culture, and the politics
of academic success. Boston, MA: Allyn & Bacon.
Health Care Asia Daily (2017). Thailand sets out to becoming Asia’s healthcare hub. (Online),
Available: http://www.healthcareasia.org/2017/thailand-sets-out-to-becoming-asias-
healthcare-hub/.
Hiranburana, K., Subphadoongchone, P., Tangkiengsirisin, S., Phoocharoensil, S., Gainey, J.,
Thogsngsri, J.,Taylor, P. (2018). A Framework of Reference for English Language
Education in Thailand (FRELE-TH) based on the CEFR, The Thai Experience. LEARN
Journal: Language education and acquisition research network, 10(2), 90-119.
Horwitz, E. K., Horwitz, M. B., & Cope, J. A. (1986). Foreign language classroom anxiety. The
modern language journal, 70(2), 125-132.
Kammungkun, P., Jhanasanti, P. S., Varasayan, P. V., Kittivachiro, P. S., & Wowong, S. (2020).
Anxiety for speaking English among first year students in Mahamakut Buddhist
University Lanna Campus. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5860-5875. (in Thai).
Kanjanawasee, S. (2002). Evaluation Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.
Khattak. Z. I., Jamshed. T., Ahmad. A., & Baig. M. N. (2011). An investigation into the
causes of english language learning anxiety in students at AWKUM. Procedia social
and behavioral sciences, 15, 1600–1604.
Krashen, S. D. (1987). Principles and Practice in Second Language Acquisition. (online),
Available: http://www.sdkrashen.com/content/books/principles_and_practice.pdf.
Krashen, S. (1982). Principles and practice in second language acquisition2. Oxford, England:
Pergamon Press.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”.
Educational and Psychological Measurement. 30, 607 – 610.
Kunlaka, S., & Purivittayatheera, K. (2016). Developing english competency in nursing
students. Ramathibodi Nursing Journal, 20(2), 123-133. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด