ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อินทิรา นวลสะอาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อักษรา ทองประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ควันบุหรี่มือสอง, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ครอบครัว, ชุมชน

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คน มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 120 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 90.8) มีอายุระหว่าง 41-59 ปี (ร้อยละ 51.7) ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาในครอบครัวของผู้สูบบุหรี่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจมากที่สุด (ร้อยละ 31.7) ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับดี ร้อยละ 80.8 มีทัศนคติในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.8 และมีพฤติกรรมในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.3 และพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมของผู้ที่สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.352 , P < 0.01)

          ดังนั้นสถานบริการสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายในชุมชนควรมีการอบรมให้ความรู้ เพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับความรุนแรงของโรคที่เกิดจากควันบุหรี่มือสอง และกำหนดมาตรการในชุมชน ในการจำกัดการเข้าถึงการสูบบุหรี่

 

References

Chatdokmaiprai K., Pitayarangsarit S., & Kalampakorn S. (2019).Policy recommendation entitled: Measures and motivation to reduce tobacco consumption in industrial and agricultural workers. Thai journal of nursing, 68(2) , 51-59. (in Thai)

Jarungjittaree, S., Ammawat, W., & Wichitsranoi, J. (2013). Factors Influencing Smoking Behavior among Women in Urban Areas. Journal of public health, 43(3), (281-295). (in Thai)

Ministry of Public Health. (30 November 2018). Health Data Center. Retrieved from

https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php. (in Thai)

Promphakping, B., et al. (2011). The way of tobacco from farm to cunsumers. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. Khon Kaen University

Policy and Strategy Office. (2016). Strategies, indicators and data collection guidelines, Ministry of Public Health 2016. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Pitayarangsarit, S., et al. (2014). The Situation of Smoke-Free Homesand Father's Smoking Behaviors. Journal of health education, 37(128), 62-74. (in Thai)

Pitayarangsarit, S. & Pankrajang, P. (2018). Report of Tobacco Consumption in Thailand 2018. Bangkok:Tobacco Control Research and Knowledge Management Center, Mahidol University. (in Thai)

RongTarn Subdistrict Health Promotion Hospital. (2018) Annual report. Chiang Mai: RongTarn Subdistrict Health Promotion Hospital. (in Thai)

RongTarn Subdistrict Health Promotion Hospital. (2019) Annual report. Chiang Mai: RongTarn Subdistrict Health Promotion Hospital. (in Thai)

Serirat, S., laksitanon, P., & Seriratana, S. (1999). Marketing Research. Bangkok: Thammasarn. (in Thai)

Socity and Health Institute. (2016). Culture and Health Risks. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Sheldon Cohen et al. (2011). Smoking, alcohol consumption, and susceptibility to the common cold. American Journal of public health, 83(9), 1277-1283

Suwanwaiphatthana, W., Jarophisitpaiboon, C., & Sonthipumas, I. (2013). The Reiationship between Secondhand Smoke Exposure in Household and Respiratory Tract Infection of under Five Years OlD Children. Journal of nursing and education, 6(2). 113-123. (in Thai)

Suwanwaiphatthana, W., Waithayavongkorn, N., & Aunjangwang, W. (2013). The Relationship Between Knowledge and Attitude of Cigarette Smokers toward Protecting Family Members from Secondhand Smoke. Journal of boromarajonani college of nursing nakhonratchasima, 19(1), 31-42. (in Thai)

Thanomsieng N. (2011). Determining an Appropriate Sample Size for correlation analysis. Khon Kaen: Department of Biostatistics, Faculty of Public Health Khon Kaen University. (in Thai)

Thongkorn, R., & Kitreerawutiwong, N. (2018). Factor Predicting of Smoker’s Behavior Towards Protecting Family Member from Exposure Second Hand Smoke. Journal of nursing and health sciences, 12(1), 151-160. (in Thai)

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. (2019). Secondhand thirdhand Smoke. TRC research update., 11(3), 5. (in Thai)

Unhasuta K. (2012). Evaluation of learning behavior. Bangkok: Mahidol University. (in Thai)

World Health Organization. (2017). WHO report on the global tobacco epidemic. Geneva, Switzerland: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย