ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ใจตา โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • เดชา เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, ความเสี่ยงทางคลินิก, การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล ของโรงพยาบาลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล,การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ และการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิก  ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเชื่อมั่น

ได้ค่าเท่ากับ 0.95 และ 0.96 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียรสัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

               ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง       (Mean=3.81,S.D.=0.80) การบริหารความเสี่ยงด้านคลินิกของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=3.88 , S.D.=0.72) โดยช่วงอายุของพยาบาลวิชาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิก สำหรับระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาล และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพนั้น มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.876, p= .025 และ r=.743, p<.001 ตามลำดับ)

              จากผลการศึกษาผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิกให้มากขึ้น โดยจัดการด้านความรู้ สนับสนุนการร่วมคิดวางแผนวิธีดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และกำหนดนโยบายวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร เน้นการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก และรายงานอุบัติการณ์มากขึ้น เพื่อการวางแผนป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย

References

Akaranitipong J. (2013). Documentation for Human Resource Management, Phranakhon

Sriayuttaya University. (in Thai)

Benjamas F. et al. (2012). The relationship between motivation and risk management of professional nurses in 3 rd

hospital. Master of nursing thesis in nursing administration, Christian University. (in Thai)

Institute of Nursing Certificate (public organization).(2017). Hospital and health services

standard No.4. Nonthaburi: Institute of development and certification. (in Thai)

Jaipong S.(2011). Factors influencing the risk management behavior of professional nurses

general hospital public health administration district 17. Thesis of master of nursing. (in Thai)

Juntanasombat P.et al. (2012). Clinical risk management of professional nursing. Journal of nursing and health,

(July-September), 118–124. (in Thai)

Keawfu J.(2011).Factors influencing the risk management of pharmaceutical discrepancies of nursing professional

hospitals, northern centers. Sukhothai Thummathirat University. (in Thai)

Saisanun na Ayuttaya J. (2013). Factors affecting the management of the quality of the hospital in a private hospital

in Bangkok. Master's Degree. Bachelor of Nursing Administration, Christian University. (in Thai)

Sengsai P. (2010). Risk management causes model of prince of Songkla Hospital. Master’s degree thesis in resource

development education human Thaksin university.

Sriwasuta C. (2015). Factors affecting the risk management of professional nurses in a private

hospital in Nonthaburi. Christian university. (in Thai)

Supachutikoon A.(2017). Risk management system in hospitals. Bangkok: Design. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย