การวิเคราะห์ระบบการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • นงคราญ คชรักษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
  • ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

คำสำคัญ:

ระบบการให้บริการ ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ของจังหวัดลำปาง มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 49 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 40 คน บุคลากรสุขภาพ จำนวน 16 คน อสม. จำนวน 8 คน และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้นำในหมู่บ้าน จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะเวลาดำเนินการในช่วง เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ.2563 วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณโดยใช้ ร้อยละ และข้อมูลคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

           ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์ระบบการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ของจังหวัดลำปาง มีการดำเนินการ 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การนำ ธรรมภิบาลการขับเคลื่อนนโยบายโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) ระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี 3) บุคลากรสุขภาพ 4) งบประมาณและทรัพยากร และ 5) การจัดระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสอดแทรกกลวิธีการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย ดังนี้ 1. การสนับสนุนข้อมูลสุขภาพ ใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน จัดทำนโยบายสาธารณะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 2. การเสริมสร้างความสามารถและทักษะให้กับทีมบุคลากรสุขภาพ และผู้ป่วยให้มีการจัดการตนเอง 3. ประสานงานสร้างทีมสุขภาพภาคประชาชน ดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการ เพื่อให้บุคคล ครอบครัวและชุมชน สามารถดูแลและจัดการปัญหาสุขภาพของตนได้ด้วยตนเอง

References

Catford, J. (2011). Ottawa 1986: back to the future. Health promotion international, 26, 163-167. Retrieved 01 Dec,

, from: https://doi.org/10.1093/heapro/dar081

Health data center. (2020). Incidence rates of diabetes. Retrieved 01 Dec, 2020, from

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php. (in Thai)

Kitsuwannaratana1S., Lorga T. and Panchakhan N. (2018). Development of a diabetes care model, lampang 2018. The

southern college network journal of nursing and public health, 7(1), 199-214. (in Thai).

Prang, B. (2017). The effectiveness of self-management program on type 2 diabetic patients in thakor, maesuai

district, chaingrai province. Journal of the police nurses, 9(1), 105-116. (in Thai).

Shakerishvili, G. (2009). Building on health systems frameworks for developing a common approach to health

systems strengthening. Prepared for the world bank, Global fund to fight AIDS, tuberculosis and malaria, and

GAVI alliance. Technical workshop on health systems strengthening, Washington, DC, June 25–27. Retrieved 01

Dec, 2020, from, https://www.who.int/healthinfo/systems/WHO_MBHSS_2010_full_web.pdf.

Streubert, H. J, & Carpenter, D. R. (2007). Qualitative research in nursing: advancing the humanistic Imperative

(4theds.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Surattana, T., & Benjamas, Sk. (2016). A situation study of using chronic care model in caring for diabetes type 2

patients. Journal of health science research, 10(2), 29-40. (in Thai)

Ubonrat, R & Prapas, S. (2019). Effects of case management program on uncontrolled diabetes mellitus patients.

Journal of health Science. 28, 146-151. (in Thai)

Worada, M & Prachak B. (2017). Self-care by patients with diabetes in the regional health

promotion hospital Tambon Huai Mary, Non Muang sub-district, Nonsang district

Nonbualum Phu province. The office of disease prevention and control 7 khon kaen.

(1), 71-79. (in Thai)

World Health Organization. (1986). Ottawa charter for health promotion. Geneva: World health

organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย