ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พนานต์พงศ์ ผัดอ่อนอ้าย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อักษรา ทองประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว, การป้องกันและควบคุมโรค

บทคัดย่อ

         การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอ     แม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในเขตเทศบาลนครแม่สอด ทั้งหมด 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และการปฏิบัติตัวในการป้องกันควบคุมโรค เก็บข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นล่ามแปลภาษาในตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 57.00 ส่วนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า การปฏิบัติตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.00 และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยภาพรวม r = 0.386 (P = .017)

          ดังนั้นควรมีการจัดอบรบพัฒนาศักยภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่างด้าว  โดยการเน้นในการให้ความรู้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ได้

 

References

Best, John. (1977). Research in education. New jersey: Prentice hall, Inc.1977

Bloom, Benjamin S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of

student learning. New York: McGraw - Hill.

Chaimay, B. ,Rakkua, P. (2017). Factors affecting the role of dengue hemorrhagic fever prevention and control among village health volunteers. Phatthalung province. Thaksin university journal, 21(1), 31 – 39. (in Thai)

Chinda, A. (2017). Factors effecting performance in control and prevention of dengue hemorrhagic fever of village health volunteers in phangnga province. Suratthani hospital Region 11 medical journal, (31)3, 554 – 567. (in Thai)

Chomnanwet, W. (2013). Performance evaluation of the anti-dengue project health volunteers, loungnuae sub-district, doi saket district chiang mai province. Master of public administration graduate school chiang mai university Chiang mai university.

Department of disease control. (2015). Strategic plan department of disease control. Bangkok:

department of disease control.

Department of Disease control. (2018). Subdue mosquito community. Bangkok: Department of

disease control.

Epidemiology & Intelligence section the office of disease prevention and control 2 Phitsanulok.

(2018). disease surveillance (dengue hemorrhagic fever). Epidemiological surveillance

report regional health 2.15(12).

Junphum, S. Apipalkul, C. Udompanich, S. Chanaboon, S. (2014) The relationship between

participation on prevention and control of dengue hemorrhagic fever of village health

volunteers in Nam Phong district khon kaen province. Master degree student of faculty

of public health, Khon kaen university.

Kuharatanachai, C. (1999). Elementary statistics. Department of statistics, Faculty of science, King mongkut’s institute of technology ladkrabang.

Mae Sot District Health Office. (2018). Dengue hemorrhagic fever summary report mae sot district Tak province. Mae Sot District Health Office.

Punya, N. (2014). The dengue fever preventing operation by public health volunteers and dengue fever preventing practices of the population in tambon bong ton, doi tao district, chiang mai province. Independent study master degree public health graduate school chiang mai university.

Peanumlom, P. and Aompong, T. (2014). Guideline training the health volunteer migrant in mae sot city municipality, Mae sot district, Tak province: Mae sot general hospital.

Peanumlom, P. (2019). SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE MIGRANT TEAM : SRRMT. Tak : Mae sot general hospital.

Panoan, W. (2017). Knowledge and skill in preventing and controlling dengue hemorrhagic fever of health volunteer in pai district, Maenongson province. Master degree of public health, Chiang mai rajabhat university.

Tanomsridachchai, W., Watchara, T., Nemkate, P. and Suandokmai, M. (2016). Participation of village health volunteers on dengue hemorrhagic fever prevention and control in AO LUEK district, Krabi province. Master of public health, Valaya alongkorn rajabhat university under the royal patronage.

Vachirajutipong, V. (2005). Media roles in agricultural occupation development a case study of farmers in pa – chomtong agricultural land reform area, chomtong district, Chiang mai. Master of arts in communications, Maejo university.

World Vision. (2017). Health volunteer migrant in strategic plan. Retrieved from July 10, 2020,:https://www.hfocus.org/content/2017/11/14822

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย