การตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้มีสิทธิประกันสังคม ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ปี พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • Kodchakorn Taewsuwan ์Nakhornsawan Provincial Public Health Office

คำสำคัญ:

พฤติกรรมของผู้มารับบริการทันตกรรม, การตัดสินใจ, สถานบริการทันตกรรม

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้มีสิทธิประกันสังคมเขตจังหวัดนครสวรรค์ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบกระดาษและแบบ electronic (google form) และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้มีสิทธิประกันสังคมเขตจังหวัดนครสวรรค์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ one-way ANOVA เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD 

         ผลศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชายร้อยละ 73.2 และ 26.8 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 32 8.12 ปี อายุต่ำสุด 20 ปี อายุสูงสุด 57 ปี เคยใช้สิทธิประกันสังคมในการทำฟันร้อยละ 96.7 สถานที่เข้าใช้บริการสิทธิประกันสังคม ส่วนใหญ่เข้าใช้บริการโรงพยาบาลภาครัฐร้อยละ 63.5 และส่วนใหญ่มีการใช้บริการทุกปีร้อยละ 54.6  และวงเงินไม่พอ ร้อยละ 60.5 วงเงินที่ใช้เกินเฉลี่ย 590 บาท บริการที่ใช้มากที่สุด คือ ขูดหินปูนร้อยละ 65.1 การเลือกใช้สถานบริการส่วนมากเลือกที่สามารถจ่ายตรงได้ร้อยละ 48.4 ผู้มีส่วนร่วมในการเลือกส่วนใหญ่เลือกด้วยตนเองร้อยละ 78.1 ก่อนมีสิทธิประกันสังคม หรือก่อนมีสิทธิประกันสังคมให้จ่ายตรงได้ ส่วนมากเคยทำฟัน ร้อยละ 61.7 ,51.8 ตามลำดับ เหตุผลสำคัญที่ไปรับบริการทำฟันส่วนมากมีอาการ ร้อยละ 65.8 พบว่า การตัดสินใจเลือกรับบริการส่วนมากคำนึงถึงความไว้วางใจมากที่สุดร้อยละ 85.8 รองลงมา การให้บริการร้อยละ 84.7 กระบวนการ ร้อยละ 82.7 บุคลากร ร้อยละ 82.6 และสถานที่ ร้อยละ 81.6 กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาการมีสิทธิประกันสังคม ต่างกันมีการตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรมรายด้าน ความไว้วางใจ การบริการ สถานที่ บุคลากร กระบวนการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อายุต่างกันการตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรมรายด้าน ความไว้วางใจ การบริการ สถานที่  บุคลากร กระบวนการ ไม่แตกต่างกัน

References

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row, 16.

Jaroenkul N. (2013). Factors Associated with Oral Health Behavior of Dental Service: Case Study

Wiang Sa Crown Prince Hospital . Suan Sunandha Rajabhat University: Bangkok. (in thai).

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement . 30, 607-610.

Lapying P and Boontham K. (2013). Strategic oral health plan of Thailand 2012 .

Nonthaburi: Bureau of Dental Health, 62. (in Thai).

Lapying P and Putthasri W. (2013). Oral care utilization among children under the Universal Health Coverage System. Journal of Health Science, 22: 187-96. (in Thai).

Muchchim N. (2010). Decision in receiving orthodontic treatment from dental clinic in amphur Muang Surat Tani province. Master of Business Administration Thesis. Suratthani Rajabhat University; Suratthani. (in thai).

Natapat K. (2009). Factors influencing consumer choice of skin treatments at aesthetic clinics in Bangkok . Kasetsart University: Bangkok. (in thai).

Natsetasakul S.et al.(2018). Factor That Influence Decision Making About Getting Dental Treatments in Faculty of Dentistry Mahidol University.Mahidol R2R e-Journal, 5(1)139-146.

Panichkriangkra W. (2015) Utilization of Dental Services in Thailand: Results from Health and Welfare Survey 2015. Journal of Health systems research. 11(2),170-180. (in thai).

Panthai B. (2011). Introduction to Educational Research Methodology. (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai).

Petchmai R. (2008). Satisfaction of the Clients on Dentistry Services at Dental Care Clinic Bangkok. Phranakhon Rajabhat University: Bangkok. (in Thai).

Siriwacharapaiboon M. (2016). Factors Affecting Thai Passengers’ Decision on the purchase of Bongkok airway. Master of Business Administration Thesis. Suan Dusit Rajabhat University: Bangkok. (in thai).

Working Group of First National Conference on Thai Universal Health Coverage. (2015). Report of the 1st national conference on Thai universal health coverage 2015: achievements, challenges, and harmonization. November 16-17, 2015; Rama Garden Hotel,Bangkok. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย