ประสบการณ์การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • อัญญา ปลดเปลื้อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

การป้องกัน, การตั้งครรภ์ซ้ำ, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่น ในจังหวัดกาญจนบุรี  ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ วัยรุ่นหญิงที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่มีประวัติเคยตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์ จำนวน 15 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการวางแผนครอบครัวกับวัยรุ่นหญิง จำนวน 5 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แนวคำถามการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบันทึกเสียง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบปรากฏการณ์วิทยา

              ผลการวิจัย พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) เมื่อวัยรุ่นพลาดจากการคุมกำเนิดจะได้รับการดูแลและกำลังใจจากครอบครัว โดยที่สมาชิกในครอบครัวให้การดูแลวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เป็นอย่างดี 2) วัยรุ่นคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ โดยที่วัยรุ่นหญิงกินยาเม็ดคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ และสามีของวัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัยไม่สม่ำเสมอ 3) เหตุผลของการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่น ประกอบด้วย 3.1 วัยรุ่นมองตนเองว่าอายุยังน้อยไม่ควรมีลูก 3.2 วัยรุ่นต้องการกลับไปเรียนต่อให้จบเพื่อที่จะได้หางานทำเลี้ยงลูก และ 4) วัยรุ่นมั่นใจกับการเลือกใช้การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยยาฝังคุมกำเนิด

               ข้อเสนอแนะ:ควรส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างต่อเนื่องโดยแนะนำการส่งเสริมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นชนิดหลัก รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันการตั้งครรภ์ เพื่อจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อไป

References

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision

Processes, 50, 179-211.

Bureau of Reproductive Health, Department of Health. (2019). Annual Report 2019. Nontaburi.

Caple, C., Heering, H., & Pravikoff, D. (2018). Pregnancy in Adolescence: Sexual Activity Among

Adolescents (United States). CINAHL Nursing Guide.

Eiamsumang, P., Srisuriyavait, R., & Homsin, P. (2013). Risk factors of unintended repeat pregnancy among adolescents. The public health journal of Burapha University, 8(1), 55-67. (in Thai).

Heidegger, M. (1962). Being and Time. New York: Harper & Row.

Hingston, R., Strunin, L., Berlin, B., & Heeren, T. (1990). Beliefs about AIDS, use of alcohol and

drugs and unprotected sex among Massachusetts adolescents. American Journal of

Public Health, 80, 295–299.

Lincoln, Y.S., & Guba, E.G. (1985). Naturalistic Inquiry. Bevery Hills, CA: Sage.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Neunkan, S., & Deejapo, J. (2018). Knowledge Satisfaction and Side Effect of Long-Acting

Reversible Contraception among Adolescent Mothers, Chanthaburi Province. Journal of Boromarajonani

College of Nursing, Surin, 2(2), 58- 67. (in Thai).

Panyayong, B. (2011). Systematic review: Teenage Pregnancy. 3rd edition. Fund Office Support

for health promotion. (in Thai).

Plodpluang U. (2011). Families’ Supporting of Teenage pregnancy. Boromarajonani College of

Nursing Chakriraj. (in Thai).

Rongluen, S., Talengjit, P. & Siriborirak, S. (2012). Unwanted pregnancies in Teenagers:

A survey of problems and needs for health care support. Siriraj Nursing Journal, 5(1),

- 28. (in Thai).

Sriarporn, P. (2019). Nursing for women at risk during pregnancy in Supavititpatana, B. &

Prasitwattanaseree, P. (editors). Nursing and Midwifery: Women at Risk and

Complication. Chiang Mai. Smart Coting and Service.

Suwansuntorn, P., & Laeheem, K. (2012). The Social Effects on Pregnant Teenagers in

Na Mom district, Songkhla Province, the 4th International Conference on Humanities

and Social Sciences, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. (in Thai).

Trussell, J. (2011). Contraceptive failure in the United States. Contraception 2011, 83,397-404.

Uraireukkul, C. (2010). Teenage Pregnancy under 20-Year-Old). Retrieved 23 May, 2019, from

http//hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/teenage_pregnancy.php. (in Thai).

Wattanathamrong, V., et al. (2017). Factors Related Intention Contraception Type Implants in

Repeat Pregnancies Adolescents. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18 (1).102-111. (in Thai).

Weiss, R. (1974). The Provision of Social Relationship. In Doing unto Others. N.J., Prentical Hall.

Wisarutkasempong, A., & Muangpin, S. (2015). Factors Related to the Intention to Repeat

Pregnancy among Pregnant Adolescents. Srinagarind Medical Journal, 30(3), 262-269. (in Thai).

World Health Organization. (2014). Adolescent pregnancy. Retrieved 23 May, 2019 from http://www.who.int/ mediacentre/factsheets/fs364/ en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย