ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ไผ่ตระกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มยุรฉัตร กันยะมี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ฑิฆัมพร ภุมรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มณีนาถ ศรีภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุธินี ศิริรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, อาหารเช้า, นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี 1-4 จำนวน 196 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ชั้นปีละ 49 คน ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาปริมาณ หรือความถี่ในข้อมูลทั่วไป และใช้สถิติ Correlation coefficient (r) ทั้งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (rp) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (rs) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

     ผลการศึกษาพบว่า 1) อายุ และชั้นปี มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rp =-.289 และ rs=-.265, p=.001 ตามลำดับ) ซึ่งหมายถึง อายุและชั้นปีที่มากขึ้น  จะมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่ลดลง 2) ความเร่งรีบ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rp =.362, p=.001) ซึ่งจะแปลผล ว่า ความเร่งรีบหรือระยะเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเริ่มเรียนที่มาก จะมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่มากขึ้นด้วย ส่วนดัชนีมวลกาย รายได้ และความรู้ทางโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า (p>.05)  ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนากิจกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการไม่รับประทานอาหารเช้าในนิสิตพยาบาล โดยเน้นการจัดหลักสูตรให้เอื้อต่อการให้นิสิตได้มีเวลาในการรับประทานอาหารเช้ามากขึ้น

References

Atthamaethakul, W. & Ananchawanit, P. (2015). Nutritional status, energy and nutrient daily intake of nursing students in Borommarajonnani college of Nursing, Ratchburi. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 21(2), 89-103.

Bonkom, P. (2017). The importance of breakfast (1st ed.). Bangkok: Supapdee printing. (in Thai).

Cooper, SB., Bandelow, S., & Nevill, M.E. (2011). Breakfast consumption and cognitive function in adolescent schoolchildren. Physiol Behav ,103(5), 431-439.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2019). 3 meals every day in good health. [online] Available from: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/food/ (2020, 24 October). (in Thai).

Kang, Y.W., & Park, J.H. (2016). Does skipping breakfast and being overweight influence academic achievement among Korean adolescents. Osong Public Health Res Perspect, 7(4), 220–227.

Kline, R. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). NY: Guilford.

Maytapattana, M. (2017). Factors associated with food consumption behavior of nursing students. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(3), 20-29. (in Thai).

Paganon, P., & saiyasombat. N. (2016). Food consumption behavior of nursing students in Ratchathani University. RTUNC 2018 The 3rd National Conference May 25,2016 Ubonratchathani, Thailand. 462-470. (in Thai).

Promtang, P., & Yimyam, P. (2015). Factor of breakfast consumption of industrial engineering students. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Graduate School. (in Thai).

Roosamai, J., et al. (2017). Study of breakfast consumption and nutritional knowledge of primary students Ban Don Samrong School, Sukhothai Province. The 9th Rajamangala University of Technology National Conference (Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0), 910-921. (in Thai).

Shrikant, N. (2019). 10 Harmful effects of skipping breakfast. [online] Available from: https://www.stylecraze.com/articles/harmful-effects-of-skipping-breakfast/ (2020, 24 October).

Sun, J., et al. (2013). Factors associated with skipping breakfast among Inner Mongolia Medical students in China. BMC Public Health, 13(42), 1-8.

Thomas, E.A., et al. (2015). Usual breakfast eating habits affect response to breakfast skipping in overweight women. Obesity (Silver Spring), 23(4), 750-759.

Thongchan, P. (2015). Factor of breastfast consumption of bachelor degree students, Health Education, Faculty of Education, Kasetsart University. (Master’s thesis). Kasetsart University, Graduate School. (in Thai).

Uzhova, I., et al. (2017). The importance of breakfast in atherosclerosis disease: Insights from the PESA study. J Am Coll Cardiol,70(15), 1833-1842. (in Thai).

Yothongyod, M.,& Sawadisan, P. (2008). Size determination of sample groups for research. [online] Available from: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf (2020, 15 August). (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย