แรงงานทางอารมณ์ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • Maturada บรรจงการ Phrapokklao Nursing College

คำสำคัญ:

แรงงานทางอารมณ์, การจัดการทางอารมณ์, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

            พยาบาลควรได้รับการส่งเสริมความเข้าใจให้เกิดการเรียนรู้ในการจัดการทางอารมณ์ที่ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างตัวบุคคลและสังคมอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแรงงานทางอารมณ์ และวิธีการจัดการทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีชาติพันธุ์วิธีวิทยา (Ethnomethodology) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกต กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 16 คน ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแบบแก่นสาระ (Thematic analysis)
           ผลการศึกษาพบว่าแรงงานทางอารมณ์เกิดขึ้นจริง และกลายเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการทางอารมณ์โดยใช้การกระทำภายนอกและการกระทำภายในอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัว แรงงานทางอารมณ์ของพยาบาลสามารถจำแนกออกเป็น 3 แก่นสาระ คือ แรงงานทางอารมณ์เป็นพลังแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจ แรงงานทางอารมณ์เป็นกระบวนการปรับสภาพทางจิตใจ และแรงงานทางอารมณ์เป็นความรับผิดชอบต่อความสุขและการคาดหวังของผู้อื่น การวิจัยนี้เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของแรงงานทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงและที่ไม่อาจถูกเพิกเฉยได้ โดยแรงงานทางอารมณ์ได้ผสมผสานกับแรงงานทางร่างกายและปัญญาเพื่อทำให้งานสำเร็จอย่างมีคุณภาพ และแนวคิดแรงงานทางอารมณ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาวะด้านจิตใจของพยาบาลวิชาชีพต่อไป

References

Biron, M. & Veldhoven, M. V. (2012). Emotional labour in service work: Psychological

flexibility and emotion regulation. Human Relations. 65(10), 1259-1282.

Boucher, C. (2016). A Qualitative Study of the Impact of Emotional Labour on Health Managers.

The Qualitative Report. 21(11), 2148-2160.

Fabianowska, J. & Hanlon, N. (2014). Emotional labour in harm-reduction practice in Ireland.

[online], Available: https://www.lenus.ie/handle/10147/314631 (2019, 21 May).

Garfinkel H. (1967). Studies in Ethnomethodology. New Jersey: Prentice-Hall.

Hochschild, A. R. (1979). Emotion work, feeling rules, and social-structure. American Journal of

Sociology. 85(3), 551-575.

Hochschild, A. R. (1983). The Management Heart: The Commercialization of Human Feeling.

Berkely: University of California Press.

Muangman, M. (2017). Emotional Labor in Nursing: A Review. Journal of Health Science R

Research. 11(2), 11-17.

Nowell, L. S., Norris, J. M., White, D. B. & Moules, N. J. (2017). Thematic Analysis: Striving to

Meet the Trustworthiness Criteria. International Journal of Qualitative Methods

, 1–13.

Pfeffer C. A. (2010). “Women’s Work”? Women partners of transgender men doing housework

And emotion work. Journal of Marriage and Family. 72(1), 165-183.

Polit D. F. and C. T. Beck. 2018. Essentials of Nursing Research: Appraising Evidence for

Nursing Practice. (9th ed.) London: Lippincott Williams& Wilkins.

Smith, K. (2019). Invisible Work: A Qualitative Study of the Emotional Labor of Professors.

Theses and Dissertations (All). 1731. https://knowledge.library.iup.edu/etd/1731.

Tamrongrak. A. (2014). Emotional Labour: Public service leadership. Sripatum Review of

Humanities and Social Sciences. 14(1), 138-141. (in Thai).

The Nurses’ Association of Thailand. (2003). Nursing Ethics Issue 2003. [online],

Available: https://www.nur.psu.ac.th/Report_mis/file/b.pdf (2019, 21 May).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-14