การศึกษาปัญหา ความต้องการ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, ปัญหา, ความต้องการ, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ประชากรเป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเลือกตามพื้นที่แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตามเขตอำเภอ 13 อำเภอ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2561 ได้จำนวน 152 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ได้หาความเที่ยงตรง (IOC) ได้ค่าอยู่ในช่วง 0.67-1.00 และหาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ( 2)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นพบมีปัญหาด้านร่างกายอยู่ในระดับสูงสุดคือเคย/มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัญหาด้านเศรษฐกิจพบมากที่สุดคือ มีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายมากขึ้น ปัญหาด้านสังคมพบมากที่สุดคือรู้สึกอายที่ตั้งครรภ์ ระดับของปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ จิตสังคม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ยความต้องการโดยรวมอยู่ระดับสูง 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดลำปาง พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ระดับดี 3) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มที่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์กับกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ พบว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมของกลุ่มที่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์อยู่ในระดับดี ขณะที่กลุ่มที่ไม่พร้อมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02, 2= 7.55)
ข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้พบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านความรับผิดชอบในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นสูงสุดทั้งสองกลุ่ม จึงเป็นข้อมูลที่ใช้ส่งเสริมพฤติกรรมด้านนี้ได้ รวมทั้งนำไปพัฒนารูปแบบการดูแลที่มีความเฉพาะกับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นเพื่อให้การดูแลได้ตรงกับผู้รับบริการอย่างชัดเจนต่อไป
References
Boonsin, K., & Chunuan, S. (2009). Health Perception and Risk Prevention Behaviors among Primipara Pregnant Women in Songklanagarind Hospital.12th Region medical journal, 12(2), 11-28. (in Thai).
Bunting. (2009). Teenage pregnancy and motherhood. Centers for Disease Control and Prevention (CDC: 2011). Preventing Teen Pregnancy in the US Vital Signs.
Chamratrithirong, A., Miller, B. A., Byrnes, H. F., Rhucharoenpornpanich, O., Cupp, P. K., Rosati, M. J., & Chookhare, W. (2010). Spirituality within the family and the prevention of health risk behavior among adolescents in Bangkok, Thailand. Social science & medicine, 71(10), 1855-1863.
Chancharoen, K. (2009). Population Determination and Sample Groups in Nursing Research: Concepts, Principles, and Practices. Wirotkun, P. (Eds.). Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. (in Thai).
Chareonsanti, J. (2017). Nursing and Midwifery: Women in Pregnancy. Chiang Mai: Siam Pimnana. (in Thai).
Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Birth Statistics of Women Aged 10-19 Years in The Annual Report, Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (in Thai).
Fowler, J. W. (2001). Faith Development Theory and The Postmodern Challenges. International Journal for the Psychology of Religion, 11(3), 159–172.
Hurlock, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.
Kangrang, P., & Soiy Anusornteerakul, S. (2010). The Effects of Health Promotion Program with Family Support on Health Promoting Behavior of Pregnant Adolescent at Mahasarakham Hospital. Mahasarakham Hospital Journal, 6(4), 26-32. (in Thai).
Katumarn, P. (2007). "Adolescent Development" Retrieved 10 June 2012 from http://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm. (in Thai).
Kovavisarach, E., Promsonthi, P., & Ratchachakul, B. (editor). (2011). Pregnancy in High-Risk Mothers. Bangkok: Union Creation. (in Thai).
Lertsakornsiri, M. (2015). Nursing of Women During Pregnancy and Childbirth. Bangkok: Assumption 51. (in Thai).
Limruangrong, P. (2017). Prenatal Nursing Care. Bangkok: Textbook Project, Faculty of Nursing Mahidol University. (in Thai).
Ngoenying, S., Suppasri, P., & Suppasrimanont, W. (2013). Effects of Health Promotion Program on Nutrition Health Behavior and Stress Management in Pregnant Adolescents. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 21(4), 37-48. (in Thai).
Pender, N. J. (2011). The Health Promotion Model Manual. Retrieved from http://www.nursing.umich.edu/ faculty-staff/nola-j-pender
Phromchaisa, P., Kantaruksa, K., & Chareonsanti, J. (2014). Effect of Social Support Enhancement on Maternal Role Among Adolescent Pregnant Women. Nursing Journal, 41(2), 97-106. (in Thai).
Rongluen, S., Talengjit, P., & Siriborirak, S. (2012). Unwanted Pregnancies in Teenagers: A Survey of Problems and Needs for Health Care Support. Siriraj Nursing Journal, 5(1), 14-28. (in Thai).
Saengeng, K., Sukrat, B., Covavisaruch, E., Phrompraphat, P., & Kanjanawetang, J. (2014). A Guide to Practice Guidelines for Caring for Teenage Mothers (2nd). Bangkok: Kaew Chao Chom Media and Publishing Center. (in Thai).
Sairodrung, W., Noukaew, W., Athaseri, S., & Chaisaina, R. (2007).Effects of A Self-Help Group on Health-Promoting Behaviors in Teenage Pregnancy.Thai Journal of Nursing, 56(1-2),35-47.(in Thai).
Simarak, S. & Tongsong, T. (2014). Pregnancy and Birth (5 th). Bangkok: P.B. Forrest Books Center. (in Thai).
Lampang Provincial Health Office. (2017). Annual Report 2016, Lampang Provincial Health Office. Lampang: Lampang Provincial Health Office. (in Thai).
Somsri, S. & Kengkasikit, B. (2011). Pregnancy and Child Rearing Behavior of Adolescents with Premature Sex and Needing Help in Academic Support Area 8, Technical Promotion and Support Office, Region 8, Lopburi Province, Ministry of Social Development and Human Security. (in Thai).
Sriduangchote, S. (2011). The Effect of Pregnancy and Labor in Teenage Mothers and Adult Mothers. Nakhon Ratchasima: Health Center 5, Nakhon Ratchasima. (in Thai).
Srisawad, K. (2017). Role of Midwife in Preconception Care. Songklanagarind Journal of Nursing. 37(4), 157-165. (in Thai).
Suwachan, L. (2008). Caring Needs, Perception of Caring Behaviors, and Satisfaction about Nurses' Caring Behaviors of Adolescent Pregnant Women [Thesis]. Bangkok: Mahidol University.(in Thai).
Toomhirun, K. (2007). Families, Parents, Teens. Document for Academic Year 2010, Joining Thinking, Learning and Fighting Thai Family Crisis. 11-12 February 2010. (in Thai).
Uthittaya, P. (2014). Effect of Self - Efficacy Promoting Program at Home on Self Care Behavior of Primigravida Adolescents. [Thesis]. Chon Buri: Burapha University. (in Thai)
Wanniyom, N., & Pansata, K. (2010). Study on Health Behavior of Pregnant Adolescent Mothers at Sung Noen Hospital, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Nakhonratchasima College, 4(2), 11-18. (in Thai).
Wongman, N., Sangiamchit, P., & Vongprasert, J. (2014). Health Promoting Behaviors of Teenage Pregnant Women Ubon Ratchathani Province. Research and Development Health System Journal, 7(1), 158-168. (in Thai).
Yoosuk, Y. (2012). Psychosocial and Environmental Problems and Need Assessment of Pregnant Adolescents : A Case Study Approach at King Chulalongkorn Memorial Hospital [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด