ผลการพัฒนาสุขภาวะทางกายและจิตของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลเมืองต้นเปา จังหวัดเชียงใหม่ แบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ปรีชญา ตาใจ +66850386500 Payap University มหาวิทยาลัยพายัพ
  • จงรัก ลิ้มสุวรรณ Payap University, Chiang Mai
  • แพรวพรรณ ศรีรักษ์ Payap University, Chiang Mai
  • ชาย ถนอมสัตย์ Tonpao Municipality, San Kamphaeng, Chiang Mai
  • ภิญญาพัชญ์ มัฆวาน Tonpao Municipality, San Kamphaeng, Chiang Mai

คำสำคัญ:

การพัฒนาสุขภาวะองค์รวม, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

       เทศบาลเมืองต้นเปา จังหวัดเชียงใหม่ กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยร้อยละ 16.8 ของประชากรเป็นผู้สูงอายุ และร้อยละ 9.3 อยู่ในภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังร่วมด้วย การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนยังขาดข้อมูลการประเมินสภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุทั้งในด้านสุขภาพและสวัสดิการต่าง ๆ ยังไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มผู้สูงอายุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสุขภาวะแบบองค์รวมก่อนและหลังได้รับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจที่พัฒนาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 351 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม และแบบประเมินกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (ADL) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9Q การตรวจสอบความเชื่อมั่นได้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 70 ปี (SD = 8) ร้อยละ 50.5 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง สุขภาวะแบบองค์รวมส่วนใหญ่มีสมรรถนะทางกายอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 96.3 ช่วยเหลือตัวเองได้ดีในการดำเนินกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน หลังจากทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการดำเนินกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยการคัดกรองระดับโรคซึมเศร้าหลังจากทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม ต่ำกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ .05

      ผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองต้นเปา อ.สันกําแพง จ.เชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีสุขภาวะองค์รวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สำคัญ คือ กิจกรรมพัฒนาสุขภาวะทางกายและจิตผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีผลในการพัฒนาสุขภาวะทางกายและจิตใจของผู้สูงอายุ 

References

Atthamaethakul, W., Srivilai, W. (2013). The influences of aging health in tumbon Koobua, Ratchaburi. Journal of Health Science Research. 7(2), 18-28. (in Thai).

Boontoch, K., Nuntaboot, K. (2017). Happiness, distress and mental health of the elderly in a community in the Upper North Region of Thailand. Journal of The Psychiatric Association of Thailand. 62(3), 257-270. (in Thai).

Choorat, W., Sawangdee, Y., Arunraksombat, S. (2012). Factors influencing the risk of having mental health problems of Thai elderly. Thai Population Journal. 3, 87-109. (in Thai).

Community development plan (B.E. 2561-2564). (2018). Tonpao Municipality, San Kamphaeng, Chiang Mai. (in Thai).

Department of Older Persons. (2015). Situation of the Thai elderly 2015. [Online], Available: http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20172404121710_1.pdf. (2019, 15, April). (in Thai).

Klinwichit, S., Klinwichit, W., Incha, P., Klinwichit, P. (2015). Mental health evaluation of the elderly with chronic illness in community: Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand. Burapha Journal of Medicine. 2(1), 21-33. (in Thai).

National Health Act, B.E. 2550. (2007). Medical care and sickness benefit. [Online], Available: http://www.ilo.org/dyn/natlex/natlex4.detail?p_lang=en&p_isn=82872&p_country=TH A&p_count=441. (2019, 15, April). (in Thai).

National Statistical Office Thailand. (2017). Preliminary results report survey of the elderly population in Thailand. Bangkok: The Office. (in Thai).

National Statistical Office Thailand. (2012). Summary of key findings social and cultural conditions survey 2011. Bangkok: The Office. (in Thai).

Paungrod, N. (2015). The study on depression in Nonthaburi province elderly. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 2(1), 63-74. (in Thai).

Petchprapai, N. (2015). A survey of health status among the older adults who live in Muang district Nakhonratchasima province. Songklanagarind Medical Journal. 33(1),21-30. (in Thai).

Sangthong, J. (2015). Self-esteem of the elderly through volunteering. Walailak Cultural Hermitage, Walailak University. 15(2), 73-89. (in Thai).

Sasuad, K. (2017). Factors affecting the quality of life of the elderly in the Eastern province. NRRU Community Research Journal. 11(2), 21-38. (in Thai).

Tongdee, J., Rongmuang D., Nakchatree C. (2012). Health status and quality of life among the elderly in the Southern border provinces of Thailand. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 22(3), 88-99. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08