ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เชษฐา แก้วพรม วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขNursing Journal of the Ministry of Public HealthISSN: 0857-3743
  • Saifon In-Sricheun
  • Laksana Pongpumma

คำสำคัญ:

ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, สุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

             การเข้าใจความรู้สึกมีคุณค่าของผู้สูงอายุและเข้าใจกิจกรรมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนผู้สูงอายุที่จะช่วยตอบสนองความต้องการด้านจิตใจและสังคมแก่ผู้สูงอายุได้ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุและเพื่อศึกษากิจกรรมของโรงเรียนสูงอายุที่ช่วยพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การวิจัยนี้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายจำนวน 12 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยวิธีวิเคราะห์ประเด็นร่วม

             ผลการวิจัยพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าของผู้สูงอายุเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เกิดจากการมองตนเองในด้านบวกในสามประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การนับถือตนเองว่าเป็นคนมีสุขภาพดี มีความสามารถและมีรายได้ 2) การทำประโยชน์ด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นและช่วยเหลือสังคม และ 3) การได้รับการปฏิบัติจากผู้อื่นที่แสดงถึงการเอาใจใส่และการยอมรับ นอกจากนี้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุเกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะช่วยสร้างความสัมพันธ์ สร้างสุขภาพ สร้างการยอมรับ สร้างการเรียนรู้ สร้างความสำเร็จ สร้างประโยชน์ และสร้างความสนุก ดังนั้นในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุควรออกแบบกิจกรรมช่วยส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ

References

Banthako, A., Trongkon, A., Musika, A., Wongwai, I., Kamonlert, I., Pimon, I., Saiwaew, A., Phonpet , C., &

Wongsabut, P. (2018). The percieved of self-esteem among elderly people at Nonghinphen subdistrict,

Warincharmrap district, Ubonratchathani province. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences, 2(3), 61-71. (in Thai).

Chachvarat, T. & Udomluck, S. (2017). Development of guidelines to promote the valuable living in elderly. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 176-188. (in Thai).

Devision of Older Persons Promotion. (2016). Handbook of the elderly school. Devision of Older Persons Promotion. (2016). Handbook of the elderly school. [Online]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/5/197. (2018, January, 15). (in Thai).

Gadudom, P., Apinyalungkon, K., Janjaroen, K., & Wae, M. (2018). Family roles to increase quality of life of older persons in a changing situation. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 300-310. (in Thai).

Krajangpho, S., Patphol, M., Wongyai, W., & Dudsdeemaytha, J. (2018). Development of the self-esteem enhancement model for older adults with activity-based learning. Royal Thai Navy Medical Journal, 45(2), 349-376. (in Thai).

Nanasilp, P. (2015). Gerontological nursing's core knowledge: who are the older persons, determinant by age or other factor? Nursing Journal, 42(speical), 156-162. (in Thai).

Phadungyam, M., & Duvall, A. (2018). Rehabilitation strategies for resilience quatient in the elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(1), 66-73. (in Thai).

Pornsiripong, S., Boonraksa, T., & Reudeechamrearn, S. (2007). Thai ederly: getting older with prestige and worth. Journal of Language and Culture, 26(1-2), 132-143. (in Thai).

Sangphrachan, S., Chaisena Dallas, J., Hengudomsub, P., & Pratoomsir, W. (2016). The meaning of self-esteem as percieved by older adults with depression. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 6(2), 76-88. (in Thai).

Sangthong, J. (2017). Aging society (complete aged): the elderly condition of good quality. Rusamilae Journal, 38(1), 6-28. (in Thai).

Seixas, BV, Smith, N, & Mitton, C. (2018). The qualitative descriptive approach in international comparative studies: using online qualitative surveys. International Journal of Health Policy and Management, 7(9), 778-781.

Srisupan, P., Tammiggabaworn, S., & Krisnajuta, S. (2017). The ederly school and the capacity building of Isan local communities. Journal of Graduate Volunteer Centre, 14(1), 133-162. (in Thai).

Urairat, M., & Laiheem, K. (2017). The relationship between interpersonal relationship and current self-concept with self-esteem of the elderly at Jong-Hua foundation, Songkhla province. Parichart Journal, 38(1), 215-230. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-15