ประสิทธิผลของการแพทย์แผนไทยต่ออาการข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ ศรแก้ว โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง
  • กฤษฎิ์ ทองบรรจบ โรงพยาบาลเกาะคา
  • ดุสิดา ตู้ประกาย โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

ข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ, การรักษาแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรักษาทางการแพทย์แผนไทยต่ออาการข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ  เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มชนิดวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมปฐมภูมิอายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไปที่มารับการรักษากลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู แผนกแพทย์แผนไทย ที่โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง จำนวน 107 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแบบประเมินอาการข้อเข่าเสื่อม Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index -Modified Thai version วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปข้อมูลโรคและการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการการรักษาแพทย์แผนไทยของระดับอาการของข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิในด้านความปวด อาการข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานของข้อเข่า ด้วยสถิติ Paired t-test และANOVA

การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเพศหญิงจำนวน 75 คน และเพศชาย 32 คน ภายหลังการรักษาแพทย์แผนไทยครั้งที่ 1, 2, 3 และหลังติดตามการรักษา 1 อาทิตย์ ระดับความปวดของข้อเข่า ระดับอาการข้อฝืดลดลงกว่าก่อนการรักษาและระดับความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าดีขึ้นกว่าก่อนการรักษาแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนี้ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยรวม WOMAC ก่อนการรักษาและหลังการรักษากับปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ป่วย พบว่าก่อนการรักษาแพทย์แผนไทย ปัจจัยด้านอายุ ดัชนีมวลกาย(BMI) และระยะเวลาที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างดังกล่าวหลังการรักษาแพทย์แผนไทย ดังนั้นปัจจัยส่วนบุคคลต่างๆ ไม่มีผลต่อการรักษาแบบแพทย์แผนไทย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านอายุ ดัชนีมวลกาย ตลอดจนระยะเวลาที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย พบว่าทุกกลุ่มสามารถลดระดับคะแนน WOMAC ได้ทั้งหมดไม่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม จึงควรแนะนำโปรแกรมการดูแลรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

        การแพทย์แผนไทยสามารถลดความปวด อาการฝืด และเพิ่มความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าดีขึ้น สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วย ข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิได้ โดยเลือกวิธีการรักษาตาม ความสะดวกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ป่วยมากที่สุดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ

References

Biillee, J.. (2018). The effects of self- knee pain relief program in elderly with osteoarthritis. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 1(2), 42-51. (in Thai)

Bureau of Health Policy and Strategy, Ministry of Public Health. (2015). Health fact sheet, 8(24). [Online], Available: https://wops.moph.go.th/ops/thp/thp/userfiles/file/Issue%2024_58.pdf. (2019,7 September) . (in Thai)

Chiranthanut, N., Hanprasertpong, N., & Teekachunhatean, S. (2014). Thai massage, and Thai herbal compress versus oral ibuprofen in symptomatic treatment of osteoarthritis of the knee: a randomized controlled trial. Journal of BioMed research international, 1-13.

Dhippayom T, et al. (2015). Clinical effects of Thai herbal compress: a systematic review and meta-analysis. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine.

Harnmontree P..(2014).The test-retest reliability and correlation of Thai version of the Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index and pain scale in older people with knee osteoarthritis. J Med Tech Phy Ther 2014; 26 (1): 84-92. (in Thai)

Karaket, S. et al. (2017). Comparative study of pain level before and after cool herbal mud treatment with Thai massage in elderly with knee pain. Chiangrai Medical Journal, 9(2), 115-124. (in Thai)

Khuntayot, C., & Punyadee, K. (2018). The Effects of a Thai herbal bag pressed against the patients’ knee on patients with osteoarthritis knee. Primary Health Care Division Journal, 12(4), 43-49. (in Thai)

Klinsrisuk, S. (2008). The effect of modified Thai therapeutic massage on pain reduction and knee function in individuals with primary knee osteoarthritis: a randomized control trial. Unpublished Master’s thesis in Physical Therapy, Graduate School, Khonkaen University. (in Thai)

Kuptniratsaikul, V., & Rattanachaiyanont, M. (2007). Validation of a Modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) Osteoarthritis Index for Knee Osteoarthritis. Clin Rheumatol, 26, 1641-1645, DOI 10.1007/s10067-007-0560-y.

Kuptniratsaikul V.. (2014). Efficacy and safety of Curcuma domestica extracts compared with ibuprofen in patients with knee osteoarthritis: a multicenter study. Clin Interv Aging. 9:451-458.(in Thai)

National Health Security Office. (2017). Board The NHSO issued guidelines for the practice of osteoarthritis of the knee. Decentralization to help patients access to treatment. [Online], Available: https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjA0OQ==(2018,26 June) . (in Thai)

Nunlaong, Y. et al. (2019). Effects of the Thai hermit traditional exercise and heat compress program on knee pain relief among knee osteoarthritis patients.Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 29(1),71-86.

(in Thai)

Royal Orthopedic Medical College of Thailand (2011). Guidelines for public health services, osteoarthritis of the knee. [Online], Available: : https://www.rcost.or.th. (2014, 1 September). (in Thai)

Sirikanokwilai, R. (1999). Self-Reliance in Health. Mohanamai Journal, 8(6), 54-56.

Suwan, P. (2000). Effects of hot compress on joint pain, joint stiffness and physical disability among knee osteoarthritis patients. Doctoral dissertation in Medical and Surgical Nursing, Chiangmai university. (in Thai)

Thai Rheumatism Association. (2010). Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee. [Online], Available: : https://www.rcost.or.th. (2014, 1 September). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-06