การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบผสมผสาน (Mixed method) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งคือคณะกรรมการบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 6 กองทุน 91 คน รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านการบริหารจัดการกองทุน และการมีส่วนร่วมของกองทุนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ส่วนเครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ ประเด็นคำถามกึ่งโครงสร้างในการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการประเมินกองทุนและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .78 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย คือ การจัดหมวดหมู่เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมด้านการดำเนินงานและการบริหารกองทุนฯ รวมถึงการมีส่วนร่วมของกองทุนฯต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าเฉลี่ย = 3.79 และ 3.54 ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่ากองทุนมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้มาก คิดเป็นร้อยละ 61.5 และเห็นว่าประชาชนในพื้นที่ของได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานกองทุนฯ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.3 ปัญหาและอุปสรรคในการบริการจัดการกองทุนฯ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ อ.พญาเม็งราย จ.เชียงรายมี 3 ประเด็น ได้แก่ 1. คนขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโครงการ การให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนมีน้อย ไม่มีผู้รับผิดชอบการบริการจัดการกองทุนฯ และความไม่เข้าใจระเบียบกองทุนฯ ที่ชัดเจน 2. ข้อจำกัดของระเบียบในการหนุนเสริมของกองทุนฯต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และ 3. โครงสร้างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่มีบุคลากรในระดับพื้นที่
ผลที่ได้จากการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลอันจะนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป
References
Burikun, T. (2008). Documents for a study visit of the senate committee on political development and public participation. King Prajadhipok's Institute. (17 June 2008). Council of State. (2002). National Health Security Act 2002. (in Thai).
Cohen, JM & Uphoff, N.T.(1980). Rural development Participation : Concept and Measures For
Project Development committee Center For International Studies. Cornell University.
Hamwong, P. & Mongkhonsrisawat, S. (2015). The success on the Community Health Management Insurance Fund: A Case Study of NongThap Thai Tambon Administrative Organization, PhanomPhrai District Roi-Et Province. National Academic and International Research Conference Papers. The Network of Graduate Studies,
Northern Rajabhat University, 15th Annual Conferenc: 2015. (in Thai).
Inthana, P. (2015). The Potential and Management Readiness of the Local Health Security Fund Committee Phaya Mengrai District Chiang Rai province. Public Health Journal. 28(1), 63-70. (in Thai).
IRPC Public Company Limited. (2018). Guidelines for Compliance with the Policy With supervising operations Shall be in accordance with the law, regulations and regulations. [Online], Available: https://www.irpc.co.th/th/pdf/CG/policy/CORPORATE-COMPLIANCE-GUIDANCE-210660-TH.pdf. (2018, 10, October). (in Thai).
Local health assurance funds. (2018). Source fund. [Online], Available: https://obt.nhso.go.th/obt/about?id=1. (2018, 10, October). (in Thai).
National Health Security Office (2014). Handbook for Improving Local Health Coverage Funds
or Areas (1st edition).Nonthaburi: Sahamit Printing and Publishing Company Limited. (in Thai).
National Health Security Board. (2018). Announcement of the National Health Security Board on Rules to Support Local Administrative Organizations to Operate and Manage Health Security Systems at the Local or Area Level 2018. [Online], Available: https://dhes.moph.go.th/. (2018, 10, October). (in Thai).
Phanprom, T. (2009). Factors related to the operations of the Tambon Health Fund Committee in Mueang District, Sisaket Province. Journal of Public Health. 23(1). (in Thai)
Prime Minister's Office. (2018). Regulations of the Prime Minister's Office On the development of quality of life at the level of the country 2018. [Online], Available: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/1.PDF. (2018, 10, October). (in Thai).
Ratchattranon, W. (2013). Equipment quality inspection. Kasetsart University. Retrieved from [Online], Available: https://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=988. (2018, 10, October).
(in Thai).
Ratikanakorn, L. (2012). The role of the Local Health Security Fund Management Committee in Mae Taeng District, Chiang Mai Province. Master of Public Administration Thesis, Chiang Mai University. (in Thai).
Serirat, S. et al. (2002). Organization and management. Bangkok: Organization and management. Bangkok: Thammasarn. (in Thai)
Singnoi, I, & Thasanai, R. (2018). Public Policy: Government Administration and Management. Journal of Peace Studies, Periscope MCU, 6(Special Issue). (in Thai).
Srilink, S. (2014). Faculty of Public Administration Phitsanulok University.Factors Promoting Public Participation in Activities Development of Phitsanulok Municipality, Phitsanulok Provineces. Phitsanulok Province: Faculty of Public Administration Phitsanulok University. (in Thai)
Thailand Healthy Lifestyle Strategic Office, Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. (2017). Explanatory documents (draft)." Regulatory Consideration Guidelines of the Prime Minister's Office on the Quality of Life Development at the District Level. Nonthaburi: The Graphico Systems Co., Ltd. (in Thai)
Thailand Healthy Lifestyle Strategic Office, Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. (2018). Regulatory Consideration Guidelines of the Prime Minister's Office on the Quality of Life Development at the Local Level. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King. (in Thai)
Thapwae, P. (2011). People Participation in Local Development: A Case Study of Ban Ko Subdistrict Municipality, Muang District, Uttaradit Province. Master of Public Administration Thesis in Public Policy: Naresuan University. (in Thai)
Yunyong, T. (2018). People’s Participation Affecting Local Development In Nakhon Nayok Province. Mahachulalongkornrajavidyalaya Journal. 5(2), 119-135. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด