รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่การปฏิบัติ เขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: พื้นที่อำเภอเถินมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 310 ราย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่นำสู่คุณภาพชีวิตที่ดีทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่การปฏิบัติ
วิธีการศึกษา: การศึกษาคุณภาพครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจาก รพ.สต., รพ.เถิน อำเภอเถิน จังหวัดลำปางจำนวน 19 คน โดยกลุ่มตัวอย่างนำเสนอกรณีศึกษา แห่งละ 5 ราย รวมทั้งสิ้น 95 ราย แล้วร่วมกันวิเคราะห์หาองค์ประกอบของรูปแบบที่นำเสนอและวิพากษ์รูปแบบและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบ
ผลการศึกษา: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินได้แก่ ความต้องการของผู้ป่วย ความต้องการของครอบครัว ทรัพยากรการดูแลที่มีอยู่ และระบบบริการ 2) การจัดการผู้ป่วย ได้แก่ การป้องกันระดับทุติยภูมิ การดูแล การปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัย การฟื้นฟูสภาพ การจัดการความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) การจัดการครอบครัว ได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแล
การจัดการความเครียด การพักจากการดูแล การเข้าถึงระบบสนับสนุนทางการเงินและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4) การจัดการชุมชน ได้แก่ ระบบการนำส่งผู้ป่วย การอบรมอาสาสมัคร/จิตอาสา การสนับสนุนทางการเงินและการสนับสนุนเครื่องมือ 5) ทีมสาขาวิชาชีพ ได้แก่ การอบรมทีมสาขาวิชาชีพ การสนับสนุนเครื่องมือ/วิธีการใช้งาน พัฒนาระบบบริการและการบริการ 6) การส่งต่อโดยการพัฒนาระบบการส่งต่อ 7) การประเมินผล ได้แก่
การประเมินผู้ป่วย การประเมินครอบครัว การประเมินระบบและการประเมินผลกระทบ
สรุปและข้อเสนอแนะ: การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องมีรูปแบบการจัดการที่ชัดเจน สามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริงและง่ายต่อการทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและญาติ
References
นิตยา พันธุเวทย์ และลินดา จำปาแก้ว. (2557). เอกสารประกอบการประชุมประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก
ปี พ.ศ. 2557. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
สำนักการพยาบาล. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ถาวร ล่อกา. (2558). ระบบการดูแลสุขภาพครอบครัว ลำปาง. เอกสารอัดสำเนาประกอบการอบรมฟื้นฟู วิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง.
บุญมี ภูด่านงัว. (2556). ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน: การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลครอบครัว. วารสารสภาการ พยาบาล. 28 (4). 114-115.
ปิติกานต์ บรูณาภาพ. (2552). คู่มือดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต. กรุงเทพฯ: ยูโรปาเพรส
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2557). สรุปรายงานผลงานประจำปี. ลำปาง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ลำปาง.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเถิน. (2557).รายงานข้อมูลประจำปี. ลำปาง: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเถิน.
Strickland, A.W (2006). "ADDIE". Idaho State University College of Education, Science, Math & Technology Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด