ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • Laksana Pongpumma, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผล และคาดทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน จังหวัดชลบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาวะ การรับรู้การควบคุมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน จังหวัดชลบุรี โดยประชากร คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอาการจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเภทอาศัยอยู่ในชุมชน อ.เมือง จ.ชลบุรี ขณะมารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์ จังหวัดชลบุรีจำนวน 102  คน เก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้การควบคุมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และสุขภาวะทดสอบความเชื่อมั่น (r) เท่ากับ0 .82, 0.89, 0.85 และ 0.87 (ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าตัวประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับสูง ( = 3.30 , S.D. = 0.52)
การรับรู้การควบคุมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.99, S.D. = 0.52) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 3.28, SD = 0.43) สุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับสูง ( = 4.18, S.D. = 0.40) ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้การควบคุมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยสามารถคาดทำนายสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนได้ร้อยละ 54.2 (p-value = 0.0001, R2 = 0.542) และสร้างสมการทำนายสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนได้ดังนี้สุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน = 1.638+0.272 (ความเชื่อด้านสุขภาพ) + 0.204 (การรับรู้การควบคุมสุขภาพ) + 0.212 (การสนับสนุนทางสังคม) 

References

ขวัญใจ ตันติวัฒนเสถียร. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามการรายงานของผู้สูงอายุในชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา ยูนิพันธุ์. (2534). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทยภาคกลาง. โครงการวิจัยพฤติกรรมสุขภาพเพื่อพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ แผนงานส่งเสริม
การวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ.

พิศสมร เดชดวง. (2545). การศึกษาสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

เพชรี คันธสายบัว. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาล
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Orem, D. E. Nursing Concepts of Practice. 4thed. St.Louis : The Mosby year book, 1991.

Pender, N. J. Health promotion in nursing practice. 3rd ed. Connecticut: Appleton & Lange, 1996.

Phipps, W. J.; Long, B. O.; and Wood, N. F. Medical Surgical Nursing. St. Louis: The C.V. Mosby Company, 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-02