การเขียนเรื่องเล่าด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง: ประยุกต์ใช้งานเยี่ยมบ้านในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • จำเนียร วรรณารักษ์ Ban Si Muat Klao Sub-district health promotion hospital, Lampang
  • ยงยุทธ แก้วเต็ม Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang

บทคัดย่อ

      การเขียนเรื่องเล่าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ โดยอาศัยวิธีการดึงความรู้ที่อยู่ในตัวของบุคคลออกมาผ่านการเล่าเรื่อง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งของการจัดการความรู้ที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง  บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการเขียนเรื่องเล่าด้วยเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง: ประยุกต์ใช้งานเยี่ยมบ้านในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ  การเขียนเรื่องเล่ามีความสำคัญในการเยี่ยมบ้านหลายประการ อาทิเช่น  1) เป็นการถ่ายทอดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัวที่ไปเยี่ยมซึ่งอาจมีความแตกต่างกันทั้งในด้านบริบทและเนื้อหา  2) เป็นการเสริมสร้างพลัง การเยียวยาทางจิตใจให้กับผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล  3) เป็นการถ่ายทอดแนวคิด ประสบการณ์ต่างๆ ของผู้เล่าผ่านการเล่าเรื่อง 4) เป็นกรณีศึกษาสำหรับบุคลากรทางสุขภาพ/ผู้ที่สนใจในการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์และบริบทที่มีลักษณะเรื่องราวคล้ายคลึงกัน 5) เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ

      เทคนิคการเล่าเรื่องในการประยุกต์ใช้งานเยี่ยมบ้านสำหรับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ คือ 1) การวางโครงเรื่องที่ดี 2) การกำหนดวัตถุประสงค์และองค์ประกอบที่ชัดเจนเพื่อกำหนดทิศทางการเขียน  3) การมีเนื้อหาที่เรียงลำดับความสำคัญและเชื่อมโยงกันโดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์  4) การเขียนที่เน้นให้เกิดการไตร่ตรองทางความคิด  เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในมิติของการพัฒนาบุคคล องค์กร สังคม และในมิติของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการทางมาตรฐานจริยธรรมในเบื้องต้นก่อนจะที่จะเขียนเรื่องเล่านั้น ๆ  

References

Barbara Czarniawska.(2004).Narratives in Social Science Research Introducing Qualitative
Methods series. New Delhi: SAGE Publications.

Chatchai Mooksong. (2007). Health definition. Remedies for illness in Thai ways. Nonthaburi:
Sukhothai Thammathirat Open University.

Ekkanok Phanadamrong.(2015). Storytelling. [Online], Available:
https://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/2797.(in Thai).

Eric Miller.(2011).Theories of Story and Storytelling. [Online], Available:
https://www.storytellingandvideoconferencing.com/67.pdf.

Komatra Chuengsatiansup.(2014). Invite to write Stories telling, change 'us', change society
[Online], Available: https://www.thaihealth.or.th/

Santipap Charam, Porntada Suvattanavanich, Dhanate Vespada. (2012). A Novelty Narrative
Technique of Short Stories in Chokaraket Magazine. Journal of Library and Information Science SWU.5(1):57-69.

Thaworn Lorga et al. (2017). Narrative skills & Story telling. Lampang: boromarajonani
College of Nursing Nakorn Lampang.

Ubonwan Prem Srirat. (2015).Communication arts narrative: study from research. National
Institute of Development Administration Graduate School of Communication Arts.
2(1):31-58. (in Thai).

Worasit Thampradit, 2015. Book Review: The secret of the brain Learn how to keep the brain
happy. Southeast bangkok journal. 1(2):138-142.

Wattanawan Bunkuna. (2014).Narrative Medicine Narrative Medicine. [Online], Available:
https://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/km/journal/talk_stories_wattanawan.pdf.

Wendy Patterson. (2002). Strategic Narrative: new perspectives on the power of stories.
Oxford: Lexington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-30