ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวก

บทคัดย่อ

     

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย จำนวน 157 คู่ ได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม โดยมีการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 4 ครั้ง ระยะเวลา 16 สัปดาห์ ดังนี้ 1.1) สร้างสายใย 1.2) สร้างวินัย 1.3) สร้างเด็กเก่ง ครั้งที่ 1 และ 1.4) สร้างเด็กเก่ง ครั้งที่ 2   2) แบบสอบถามประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้และทักษะ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างวินัยเชิงบวก และ 3) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และค่า  t-test dependent

        จากผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ( = 50.41, S.D. = 3.242)   2) พฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างวินัยเชิงบวกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 122.17, S.D. = 4.103)  3) เด็กปฐมวัยมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( = 14.48, S.D. = 1.066)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 9 พ.ย. 2561,
จาก http://www. anamai.moph.go.th.

กรมสุขภาพจิต. (2008). แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก 3- 5 ปี (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อ 9 พ.ย. 2561, จาก http://www.mhc10.go.th/download/35.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2560). รักและผูกพัน สร้างสรรค์เด็กไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธ.ค. 2561, จาก
http://www.rajanukul.go.th/new/index.php?mode=download&group=&page=13

ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์. (2559). การเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด-5ปี ด้วยกิน กอด เล่น เล่า.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. (2557). คู่มือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วิจิตร จันดาบุตร, วิทยา อยู่สุข และวิโรจน์ เซมรัมย์. (2561). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(1): 208-219.

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัย
เชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 9 พ.ย. 2561, จากhttps://www.dmh.go.th/bp/files/modelkid.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). สิ่งเล็ก ๆ ที่สร้างลูก. สืบค้นเมื่อ 30 มี.ค. 2562, จาก
http://resource.thaihealth.or.th/system/files/documents/khuumuue_singelkthiisraangluuk
_final.pdf

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร และพัชราภรณ์ พุทธิกุล. (2560). การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
โดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 188-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24