ผลของการประคบสมุนไพรด้วยตนเองต่อความเจ็บปวดของกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดข้อเข่า ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลเถิน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • oraphan nantadee theon hospital

คำสำคัญ:

การประคบสมุนไพร ความเจ็บปวด ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประคบสมุนไพรด้วยตนเองต่อการลดความเจ็บปวดของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่า ระหว่างก่อนและหลังได้รับการประคบสมุนไพรด้วยตนเอง ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าจากการคัดกรองสุขภาพของโรงพยาบาลเถิน จำนวน 1,315 คน ในปีงบประมาณ 2561 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 132 ราย โดยโปรแกรมการประคบสมุนไพรด้วยตนเอง รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการประคบ การใช้สมุนไพรและการติดตามอย่างต่อเนื่องตลอด 12 สัปดาห์  เครื่องมือคือ โปรแกรมการประคบสมุนไพรด้วยตนเอง แบบประเมินความเจ็บปวด  ระยะห่างของความเจ็บปวดข้อเข่าหลังการประคบ  และความพึงพอใจต่อการใช้การประคบสมุนไพรเพื่อลดความเจ็บปวด  เก็บข้อมูลความเจ็บปวด ระยะห่างของความปวด ในครั้งแรกก่อนเข้ารับโปรแกรมและครั้งต่อไปในสัปดาห์ที่ 4, 8, และ 12 และความพึงพอใจก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วย สถิติ Paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมการประคบด้วยสมุนไพรด้วยตนเองไปแล้ว 4 สัปดาห์  มีความเจ็บปวด  มีระยะห่างของเวลาที่ปวด และความพึงพอใจก่อนและหลังของการใช้ลูกประคบเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05  ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุประคบสมุนไพรด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องสามารถจัดการความเจ็บปวด  ช่วยลดระยะห่างของความเจ็บปวด และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี  

 คำสำคัญ: การประคบสมุนไพร ความเจ็บปวด ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่า 

 

References

Chutinan Khantayas and Kanokporn Panyawee. (2017). The Effects of a Thai herbal bag pressed
against the patients’ knee on patients with osteoarthritis knee. Primary Health Care Division Journal, 12(4),
43-49. ).(in Thai).

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioural sciences. San Diego: CA Academic. Press.

Digenio, A. G., Mancuso, J. P., Gerber, R. A., & Dvorak, R.V. (2009). Comparison of methods for
delivering alifestyle modification program for obese patients. Annalsof Internal Medicine.150(4), 255-262.

Medical records and statistics, Thoen hospital. (2018). Report summary for osteoarthritis Patients of Thoen hospital.
Lampang:Thoen hospital. (in Thai).

Nonglak Wiratchai.(2012).Determining sample size in testing hypothesis. [Online], Available:
https://lllskill.com/web/files/GPower.pdf. (in Thai).

Pereira, D., et al. (2011). The effects of osteoarthritis definition on prevalence and incidence
estimates: a systematic review. Osteoarthritis and Cartilage. (19) : 1270-1285.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008).Nursing research:Generating and assessing evidence for
nursing practice. (8th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Policy and Strategy of Ministry of Pubilc Health.(2015). Pubilc Health Statistics. Bangkok:
The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai).

Pornpimol Muanjai and Phurichaya Werasirirat. (2014).Comparison of effects between static
stretching and petrissage massage on functional-signs of delayed onset of muscle
soreness of knee extensors following stimulated plyometric exercise in Thai
male. Journal of medical technology and physical therapy. 24(2). 158-168. (in Thai).

Sita Pleejan, et al.( 2017).The effect of using herbal compress in promoting elderly
physical-mental health in Ban Phaeng Hospital, Ban Phaeng District,
Nakhon Phanom Province. [Online], Available: https://www.npm.moph.go.th.
(2018, 24 December).(in Thai).

SriwonSuay-ngarm et al. (2017). Effects of Neck and Shoulder Massage Combined with
Medication Use on Pain and Electromyogram Biofeedback in Persons with Neck and Scapular Pain Associated
with Myofascial Pain Syndrome. Journal of Phrapokklao Nursing College. 28(2), 42-54. (in Thai).

Suchita Paksangkhan, Udomsak Mahaveerawat, Piti Tangphaisan.(2011). Application of Self-Care
Theory program to relieve knee joint pain and satisfaction among elderly with knee osteoarthritis.KKU Research
Journal. 16(1),1-10(in Thai).

Surasak Nilkanuwong, et al. (2005). Arthritis textbooks .Bangkok: Thanaban printing. (in Thai).
Thanita Suwannatha, et al. (2016). Development of Hot Herbal Compress Cuff for Patients with
Knee Pain at Klongkwang Health Promoting Hospital, Amphoe Sainoi, Nonthaburi. National academic conference
documents "Thai Traditional Medicine, Wisdom of the Land" 29-30 August 2016. [Online], Available:
https://administer.pi.ac.th. (2018, 24 December).(in Thai).

The Royal College of Orthopedic Surgeons of Thailand.(2011).Osteoarthritis (OA).[Online], Available:
https://orthopaedicseminar.com. (2018, 16 December).(in Thai).

The Center of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital.(2006).
Pain Assessment and Measurement. [Online], Available: https://www.med.cmu.ac.th/
dept/anes/2012/images/Lecture2015/Pain_Assessment.pdf.

Thoen hospital.(2018).Report summary from the Hospital XP. Lampang:Thoen hospital. (in Thai).

Tussawan Zungkarak, et al. (2013). Effects of Hot Compress, Thigh Muscle Exercise and Home-
based Support on Pain Level, Joint Stiffness and Daily Activities in Patients with Primary
Osteoarthritis of the Knee. Journal of Public Health Nursing. 25(1), 64-84.(in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-11