การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง
คำสำคัญ:
การประเมิน, ระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาคัญของประเทศไทยและของจังหวัดลาปาง จากข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่ทาการเก็บข้อมูลโดยงานป้องกัน ควบคุมโรค และระบาดวิททยา โรงพยาบาลศูนย์ลาปาง ผู้ป่วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ลาปาง ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2555 – 2559) พบว่ามีอัตราป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบรายงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก คือ แพทย์ พยาบาล และผู้รับผิดชอบงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าพยากรณ์บวก และความเป็นตัวแทน โดยการค้นหาและทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล ในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับการรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2559 ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคตาม ICD-10 ได้แก่ ไข้เดงกี ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก ไข้หวัดใหญ่ ไข้ไม่ทราบสาเหตุ และการติดเชื้อไวรัสที่ไม่ระบุชนิดและตาแหน่ง ตามนิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย ผลการประเมินระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลศูนย์ลาปางพบว่า มีกระบวนการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการแปรผลข้อมูล ที่ดาเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การจัดทาและการประเมินผลมาตรการป้องกัน และควบคุมปัญหาสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี ระบบเฝ้าระวังมีความไวสูง คือ ร้อยละ 100.00 และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์กับค่าพยากรณ์เชิงบวกของระบบเฝ้าระวัง พบว่า มีค่าที่สูงถึง ร้อยละ 83.05 ระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลศูนย์ลาปางมีความยืดหยุ่นสูง และง่ายต่อผู้ปฏิบัติทุกระดับ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับแก่ผู้ปฎิบัติ แต่ยังคงมีบางประเด็นในขั้นตอนการดาเนินงานที่ต้องมีการพัฒนา เช่น การล่าช้าในการส่งข้อมูลในระบบรายงานปกติ (รง.506) ให้กับทางสานักงานสาธารณสุขจังหวัดลาปาง หรือการที่ให้มีการรายงานได้ตั้งแต่สงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคไข้เดงกี ไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกช็อก ซึ่งควรมีการติดตามผลการวินิจฉัยสุดท้ายจากแพทย์ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด