การพัฒนารูปแบบการควบคุม การกำกับ โรคไข้เลือดออกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ทวีศรี ฉ่ำมณี และคณะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการควบคุม, การกำกับ, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะอาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้ ผู้ป่วยเสียชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมกำกับโรค ไข้เลือดออกของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ร่วมกระบวนการวิจัยประกอบด้วย คณะกรรมการ พัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่ในทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เครือข่ายระบบสุขภาพระดับ จังหวัด คณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน คัดเลือกแบบ เจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การถอด บทเรียนและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคและกลุ่มภาคีเครือข่ายนอกหน่วยงานสาธารณสุขยัง ดำเนินการบางกิจกรรมในการป้องกันควบคุมโรคค่อนข้างน้อย ได้แก่ 1) ให้ความรู้เรื่องโรค/การป้องกันแก่ ประชาชน 2) การสนับสนุนทรายกำจัดลูกน้ำแก่ครัวเรือน หน่วยงาน 3) การสุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายด้วย การเชิญชวนร่วมกิจกรรมรณรงค์ 4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม โรค และส่งเสริมการจัดประชาคมหมู่บ้าน 5) การร่วมวางแผนควบคุมโรคในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอกจากนี้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับการควบคุมโรค การใช้ข้อตกลงในหมู่บ้าน/ ชุมชน/ภาคีเครือข่าย/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคยังมีน้อย และบุคลากรที่ดำเนินงาน ในระดับตำบลผ่านการอบรมในเรื่องดังกล่าวเพียง ร้อยละ 47-50 ข้อเสนอแนะ: ควรมีการควบคุมกำกับในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) การวางแผนปฏิบัติงานตลอดจนการ ประเมินผลควรผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้กับพื้นที่โดยเน้นการประชาสัมพันธ์และการใช้ข้อตกลงที่เหมาะสม 2) มีเกณฑ์การรายงานเพื่อการควบคุมโรคในทางปฏิบัติ 3) มีการซักซ้อมระบบรายงาน ระบบการสอบสวนควบคุม โรคจากจังหวัดลงสู่ระดับอำเภอ ระดับอำเภอลงสู่ระดับตำบล ตามขั้นตอน 4) การจัดเตรียมแผนการควบคุมการ ระบาดของโรค การสอบสวนควบคุมโรคในผู้ป่วยรายแรก 5) มีการติดตามผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษา ซึ่งการ ดำเนินงานโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรคจึงเป็นรูปแบบการควบคุม การกำกับ โรค ไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-01