การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมขนาดเล็กรองรับฟันเทียมทั้งปากล่างที่มีคู่สบเป็นฟันธรรมชาติ: รายงานผู้ป่วย
คำสำคัญ:
การผ่าตัดฝังรากฟัน, รากฟันเทียมขนาดเล็ก, คู่สบเป็นฟันธรรมชาติ, ฟันเทียมทั้งปากล่างบทคัดย่อ
รากฟันเทียมขนาดเล็กนิยมใช้ร่วมกับฟันเทียมชนิดถอดได้ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพการยึดอยู่ ลดการขยับตัวไปมาของฟันเทียม การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการรักษาทางทันตกรรมด้านรากฟันเทียมและการรักษาอย่างถูกต้องสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ฟันเทียมที่เกิดปัญหา วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ขนาดเล็กรองรับฟันเทียมทั้งปากจำนวน 1 รายที่ฝ่ายทันตกรรม รพ.แม่วงก์ ในช่วงเวลา ตั้งแต่ เดือน เมษายน 2560 ถึง กุมภาพันธ์ 2561
ผลการศึกษา: หลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ผู้ป่วยมีการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณรากฟันเทียมได้ดี เคี้ยวอาหารแรง ได้อย่างมั่นใจ ไม่พบว่าหน่วยยึดรากเทียม abutment ทั้งสองถูกแรงบดเคี้ยวจากฟันคู่สบด้านบน มีการละลายตัวของกระดูกรองรับฟันรากฟันเทียมน้อยมากเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเทียมเคี้ยวอาหารได้แรงใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ สำหรับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมพบว่าการใช้รากฟันเทียมขนาดเล็กที่มีหน่วยยึด abutment ที่สั้น สามารถหลบ หลีก แรงกระแทก จากฟันแท้บนคู่สบที่กระทำต่อหน่วยยึด มีหน่วยรองรับความยืดหยุ่นที่แข็งแรงสามารถรับแรงได้สูง ลดการสูญเสียกระดูก และการอักเสบของแผล ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะ: การใช้รากฟันเทียมขนาดเล็กรองรับฟันเทียมถอดได้ ในผู้ป่วยที่มีคุณภาพกระดูกที่เหมาะสมจะช่วยให้ฟันเทียมสามารถใช้งานได้ดีกว่าเดิม ลดการขยับไปมา ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการรักษา ลดความวิตกกังวลในการผ่าตัดเนื่องจากไม่ต้องเปิดแผ่นเหงือก และในการผ่าตัดทันตแพทย์สามารถทำงานได้ง่ายเนื่องจากตัวรากฟันเทียมสามารถเอียงทำมุมต่อกันได้ถึง 20 องศา และหน่วยรองรับความยืดหยุ่นมีความแข็งแรงสูง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด