สมรรถนะด้านการประเมิน การจัดการปัญหา และการประสานงานของบุคลากรสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง เขตพื้นที่อําเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • บุญธรรม บุญนิล สํานักงานสาธารณสุขอําเภองาว จังหวัดลําปาง
  • พิษณุ จีนใจเย็น สํานักงานสาธารณสุขอําเภองาว จังหวัดลําปาง

คำสำคัญ:

การประเมินสมรรถนะ, การจัดการปัญหา, การดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง

บทคัดย่อ

สมรรถนะด้านการประเมิน การจัดการปัญหา และการประสานงานของบุคลากรสุขภาพ เป็น องค์ประกอบที่สําคัญในการให้บริการแก่ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียงและครอบครัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับสมรรถนะด้านการประเมิน การจัดการปัญหา และการประสานงานของบุคลากรสุขภาพในการดูแล ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่อยู่ในทีมหมอครอบครัว อําเภองาว จังหวัดลําปาง จํานวน 65 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการประเมิน การจัดการปัญหา และการประสานงานของบุคลากรสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 65 ราย พบว่าบุคลากรสุขภาพเป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 ตําแหน่งดํารง ตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 43.1 ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในเขตพื้นที่ อําเภองาว เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.8 ไม่ได้รับงานผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงโดยตรง และไม่เคยได้รับการอบรมใน เรื่องดังกล่าวร้อยละ 58.5 และ 56.9 ตามลําดับ สําหรับสมรรถนะด้านการดูแล การประเมิน การจัดการปัญหา และการประสานงานของทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลางเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงประเด็นในเรื่องสมรรถนะของการประสานกับหน่วยงานระดับจังหวัดในการดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ( xˉ = 2.26, S.D.= 0.75) สําหรับระดับสมรรถนะด้านการ ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีเพียงเรื่องความสามารถ ในการประเมินภาวะชัก เกร็ง กระตุก ( xˉ = 2.38, S.D.= 0.74) และด้านการเงิน เศรษฐกิจ รายได้ ( xˉ = 2.36, S.D.= 0.76) ที่อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ส่วนระดับสมรรถนะด้านการจัดการปัญหาและความเสี่ยงของ ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียงภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีเพียง 5 ประเด็น คือ เรื่องความสามารถในความสามารถ ในการจัดการการกลืน ( xˉ = 2.29, S.D.= 0.70) และด้านการชักเกร็ง กระตุก ( xˉ = 2.23, S.D.= 0.82) การ กลั้นปัสสาวะ ( xˉ = 2.27, S.D.= 0.76) การกลั้นอุจจาระ ( xˉ = 2.29, S.D.= 0.78) และด้านการเงิน เศรษฐกิจ รายได้ ( xˉ = 2.24, S.D.= 0.91) ที่อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ในเรื่องความคิดเห็นของ บุคลากรสุขภาพต่อระบบการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงในภาพรวมพบว่า ระบบการดูแลมีความชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว มีความสะดวก ทําให้ผู้ป่วยเข้าถึง บริการ และมีความพึงพอใจต่อระบบดูแลอยู่ในระดับปานกลาง สรุปและข้อเสนอแนะ: ในระดับนโยบายทีมหมอครอบครัวควรมีการรับมอบนโยบายอย่างชัดเจน และ ได้รับการอบรมในเรื่องการประเมิน การจัดการปัญหาและความเสี่ยงของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียงเพื่อให้บุคลากร สุขภาพมีสมรรถนะที่สูงขึ้น นอกจากนี้สมรรถนะของบุคลากรเกี่ยวกับการประสานงานที่ควรพัฒนาคือ การ ประสานงานกับหน่วยงานระดับจังหวัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สําหรับสมรรถนะในด้านการประเมินปัญหา และการจัดการควรพัฒนาในประเด็นของการป้องกันภาวะชัก เกร็ง กระตุก การควบคุมการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระ และด้านการเงินเศรษฐกิจ รายได้เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01