ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบตัิงานในโรงพยาบาล ชุมชนขนาด 30 เตียง ในจังหวัดลําปาง

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร สาริวาท โรงพยาบาลเสริมงาม

คำสำคัญ:

ความเครียด, พยาบาล, โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล และปัจจัยในการทํางานที่มีผลต่อระดับความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ในจังหวัดลําปางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพ จํานวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยในการทํางาน และ แบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติคือความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ˉx ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้ค่า t-test และ One-way Anova ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 40.7 รองลงมามี ความเครียดในระดับสูงร้องละ 36.9 และมีความเครียดในระดับรุนแรงร้องละ 16.8 มีเพียงร้อยละ 5.6 ที่มี ความเครียดในระดับน้อย และปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับความเครียด ได้แก่ อายุอายุการ ทํางาน รายได้ต่อเดือน รายได้เมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายต่อเดือน ภาระครอบครัว สถานที่ปฏิบัติงาน ลักษณะ การปฏิบัติงานและพฤติกรรมสุขภาพด้านการนอนหลับพักผ่อน ปัจจัยในการทํางานที่มีผลให้เกิดความเครียดมาก ได้แก่ ปริมาณงานในความรับผิดชอบมีมากเกินไป ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือฉุกเฉินที่ต้องตัดสินใจ ทันทีต้องปฏิบัติงานที่ซ้ําซาก จําเจ ต้องเผชิญต่อความเป็นความตายอยู่เสมอ จํานวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน หน่วยงานไม่สมดุลกับปริมาณงาน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในหน่วยงานไม่เหมาะสม ต้องรับผิดชอบภาระ งานที่เป็นภาระงานของผู้อื่น และสวัสดิการของบุคลากรไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับความต้องการซึ่งปัจจัย ต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อระดับความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงในจังหวัด ลําปาง ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01