ผลของโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และผลน้ำตาลในเลือด

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ สงจันทร์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • สุรางรัตน์ โฆษิตธนสาร ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชลรดาก์ พันธุชิน คณะพยาบาล ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อาภัสรา มาประจักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์, การควบคุมอาหาร, ออกกำลังกาย, ระดับน้ำตาลในเลือด, การมีส่วนร่วมของครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย แลระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และครอบครัว ที่ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 40 คู่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คู่ สุ่มแบบอย่าง ง่ายกลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสถิติ ด้วยวิธี วิลคอกชัน แมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัย พบว่าผลของโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้การมี ส่วนร่วมของครอบครัว ทำให้ 1. คะแนนพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการ มีส่วนร่วมของครอบครัว ของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภายหลังการทดลอง หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน กลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติมีจำนวนมากกว่ากลุ่มควบคุม จึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเพื่อไม่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์

References

Junthong P. The Effects of Participatory Learning Program on Diet Control Behavior Among Pregnant Woman with Gestational Diabetes Mellitus [Master Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2012. (in Thai).

Bodnar LM, Siega-Riz AM, Simhan HN, Himes KP, Abrams B. Severe obesity gestational weight gain and adverse birth outcomes. AJCN. 2010; 91(6):1642-1648.

Sansiriphan N. Women with Complications Volume 3, edited by Nantaporn Sansiriphan and Chawee Baotuang. Pimphaluck, Chiang Mai: Textbook Project, Faculty of Nursing. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2012. (in Thai).

Dimatteo MR. Social support and patient adherence to medical treatment. A meta-analysis. Health Psychol 2004; 23(2):207-218.

Chayada Netgrajang. Strengthening Multidisciplinary Approach to Prevent and Control Complications of Diabetes Mellitus in Pregnant Women. The Journal of Prapokklao HospitalClinical Medical Education Center. 2019; 36(2):168-177. (in Thai).

Khungtumneam K. Promotion of Family Care for Pregnant Women with Gestational Diabetes Mellitus. Journal of Phrapokklao College of Nursing, Chanthaburi 2016; 27(1): 194-203. (in Thai).

Suwannarat K. Effects of a Selfmanagement Support Program on Diabetes Self-management Behavior and Blood Sugar Level in Women with Gestational Diabetes Mellitus. Journal of Phrapokklao Nursing College 2019; 30(2):1-13. (in Thai). 8. Srisawat K, Management for Gestational Diabetes Mellitus. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15(2):50-59. (in Thai). 9. Wannasir T. Families Relationship in Self-Care Promotion for Uncontrolling Blood Sugar in Type 2 Diabetes. Kuakarun Journal of Nursing 2016; 23(2):31-50. (in Thai). 10. Pholyiam R. Education Program, Health Belief, Health behavior, Gestational Diabetes Mellitus, Pregnant women at risk for Gestational Dia. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima 2016; 22(1): 77-92. (in Thai). 11. Kolb DA, Rubin IM, Osliand J. Organization behavior reader. Englewood Cliffs. NJ; Practice-Hall; 1991. 12. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY. Williams obstetrics (23rd ed.) New York: McGraw-Hill; 2010. 13. Garnweidner LM, Sverre PK, Mosdøl A. Experiences with nutrition-related information during antenatal care of pregnant women of different ethnic backgrounds residing in the area of Oslo, Norway. Midwifery 2013; 29(12): 130-137.

Glasgow RE, Toobert DJ. Social e n v i r o n m e n t a n d r e g i m e n adherence among Type 2 diabetes melliuspatients. Diabetes care1988; 11(5): 377-386.

Mitanchez D, Burguet A, Simeoni U. Infants born to mothers with gestational diabetes mellitus: Mild neonatal effects, a long-term threat to global health. The Journal of Pediatrics 2014; 164(3): 445-450.

Wysocki T, et al. Randomized controlled trial of behavioral family systems therapy for diabetes: maintenance and generalization of effects on parentadolescent communication. BehavTher 2008; 39(1): 33-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024