วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7 <p><strong>วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น </strong>กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นวารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความที่ตอบรับการตีพิมพ์บทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกเป็นผู้ประเมินบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยมีการไม่เปิดเผยรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดตีพิมพ์ออกทุก 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ฉบับที่ 1 (ตุลาคม - มกราคม) ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม) และ ฉบับที่ 3 (มิถุนายน - กันยายน) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทางการแพทย์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้</p> <p>1. เผยแพร่ความรู้วารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม</p> <p>2. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งงานวิจัยด้านการศึกษาและด้านการสอน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น และเครือข่ายวิชาการด้านสาธารณสุข ทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ 7 และผู้สนใจ </p> <p>3. พัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง</p> <p>4. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข้อคิดเห็น ข่าวสาร และเป็นสื่อสัมพันธ์ในวงการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ</p> ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น th-TH วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 1906-6724 <p>บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจน<span style="font-size: 0.875rem;">ข้อเสนอแนะ</span><span style="font-size: 0.875rem;">เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</span></p> การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขที่พยาบาลอนามัยชุมชนควรรู้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/256744 <p>การวินิจฉัยชุมชนเป็นการดำเนินงานที่สำคัญและเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่มีของชุมชน ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ต้องนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์กร บุคคล และชุมชนด้วย การตัดสินใจเลือกปัญหาเพื่อแก้ไขและเกณฑ์ต่างๆ ในการพิจารณา ไม่อาจเกิดจากบุคลากรสาธารณสุขคนใดคนหนึ่งได้ แต่ต้องมีทีมพิจารณาร่วมกัน &nbsp;&nbsp;วิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่นิยมใช้กันมาก คือ วิธีการให้น้ำหนักเกณฑ์(Criteria Weighting Method) ของภาควิชาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการใช้เกณฑ์ของขนาดของปัญหา, ความรุนแรงปัญหา, &nbsp;&nbsp;ความยากง่ายในการแก้ปัญหา &nbsp;และความตระหนักของชุมชนต่อปัญหา ช่วยให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นผลดีต่อชุมชนด้วย เพราะสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการที่จะร่วมวางแผน/โครงการต่างๆ และร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนในลำดับต่อไป บทความนี้จะได้ให้แนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขที่นักวิชาการสาธารณสุขรวมทั้งพยาบาลชุมชนควรรู้และเข้าใจ</p> Niramon Muangsom Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 1 12 ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. รอบรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ชุมชนบ้านสว่างเหนือ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/257689 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. รอบรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ชุมชนบ้านสว่างเหนือ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เครื่องมือในการทดลองโดยโปรมแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ .712 ใน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกรายในชุมชนซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 8 ราย และเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของ ในกลุ่มตัวอย่างเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 22 คน ซึ่งได้จากการคำนวณโดยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Paired sample test / Wilcoxon Sign Rank test ด้วยโปรแกรมโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า อสม. จำนวน 8 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 46.5 ปี (S.D.=1.13) โดยภายหลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (85.00 (S.D. 4.41) VS 99.88 (S.D. 13.72) : P-value = 0.01) โดยหากพิจารณาเป็นระดับพบว่ามีความรอบรู้ระดับดีมากหรือรู้แจ้งแตกฉานเพิ่มจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 50.0 ผลในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 22 คน ภายหลังได้รับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานดำเนินงานโดย อสม. พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างก่อน-หลังการทดลอง (Mean=62.90 (6.85) VS Mean=65.95 (6.59) : P-value = 0.46) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างก่อน-หลังการทดลอง แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ร้อยละ 54.5</p> <p> ดังนั้น ควรพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพอสม. เพื่อเพิ่มขีดจำกัดความสามารถด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน</p> กนกฉัตร สมชัย นัฐพล ศรีทะวัน วชิรา คำย้าว ประเสริฐ ประสมรักษ์ ขนิษฐา ตะลุตะกำ ทนงศักดิ์ มุลจันดา Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 13 27 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลักและครู/ผู้ดูแลเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 5 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/259412 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 5&nbsp;&nbsp; กลุ่มตัวอย่าง คือผู้เลี้ยงดูหลักและเด็กที่มีอายุ 9 เดือน – 5 ปี จำนวน 405 คู่ คัดเลือกพื้นที่ 4 จังหวัด จาก 8 จังหวัด สุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความรอบรู้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ไคสแควร์ &nbsp;&nbsp;และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลัก โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 59.5 เมื่อแยก 5 ด้าน พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในระดับดีมาก ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านความเข้าใจ การตรวจสอบและตัดสินใจ ด้านการจัดการตนเองและด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ร้อยละ 11.9, 68.6, 6.7, 84.7 และ 6.2 ตามลำดับ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับเด็กและลักษณะครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (P-value&lt;0.05) โดยอายุของผู้เลี้ยงดูหลักมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value&lt;0.05) และความรอบรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ(ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;(p-value &lt;0.05)</p> kunya potipiti Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 28 50 การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ (4D) สำหรับผู้ดูแลเด็ก เขตสุขภาพที่ 7 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/255561 <p>วิจัยเพื่อพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ (4D) 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ โดยมีขั้นตอนการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ ขั้นตอนที่ 2 การชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรออนไลน์ ขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดสดเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จำนวน 1,540 คน คัดเลือกจากความสมัครใจ เก็บข้อมูลประเมินประสิทธิผลหลักสูตรด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา 0.97 ค่าความเชื่อมั่น 0.77 เพื่อประเมินความรู้ ความพึงพอใจ และการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้วยตนเองของผู้ผ่านอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า ผู้เข้าอบรมร้อยละ 67.5 มีคะแนนทดสอบความรู้ผ่านเกณฑ์ระดับปานกลางขึ้นไป มีระดับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อหลักสูตรระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.58) สามารถนำความรู้ไปใช้ประเมินตนเองของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ จำนวน 829 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.8</p> <p> ผลวิจัยสะท้อนว่าหลักสูตรให้ความรู้แบบออนไลน์นี้สามารถพัฒนาความรู้และทักษะการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยตนเองตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพของผู้เรียนได้ตามเกณฑ์ จึงเป็นอีกรูปแบบทางเลือกของการให้ความรู้เพื่อการประเมินมาตรฐานบริการอื่นต่อไป</p> thisophin Tongthai Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 51 63 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/257515 <p>พัฒนาการเด็กสมวัยเป็นเป้าหมายสูงสุดในการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูลของผู้เลี้ยงดู คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูกับพัฒนาการเด็ก กลุ่มตัวอย่างคือผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กปฐมวัย จำนวน 800 คน ใช้การสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดู และตรวจพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือ Denver II วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ Multiple logistic regression พบว่า ผู้เลี้ยงดูเป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.4 อายุเฉลี่ย 43.8 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.0 อายุต่ำสุด 16 ปี สูงสุด 77 ปี คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็กอยู่ระดับดี ร้อยละ 77.1 เด็กพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 56.8 ด้านภาษาเป็นด้านที่เด็กสงสัยล่าช้ามากที่สุด มี 4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1) รายได้ของครอบครัว (AOR = 1.8; 95%CI: 1.39 - 3.34; p-value 0.009) 2) การอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของเด็ก (AOR = 1.7; 95%CI: 1.31 - 2.96; p-value 0.024) 3) การมีโรคประจำตัวของผู้เลี้ยงดู (AOR = 1.4; 95%CI: 1.29 - 2.15; p-value 0.032) และ 4) คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม (AOR = 1.4; 95%CI: 1.23 - 2.73; p-value 0.011) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นต้องทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต บิดามารดาได้เลี้ยงดูเด็ก ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน และสร้างเสริมให้ผู้เลี้ยงดูมีสุขภาพที่ดีเป็นผู้เลี้ยงดูที่ไม่มีโรคประจำตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> สุพัตรา บุญเจียม Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 64 78 พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" ในหญิงตั้งครรภ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/259107 <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจ และความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพภายหลังการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก"กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ตั้งแต่ ก.ย. 63 – พ.ค.64 จำนวน 240 ราย ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจ และความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ อายุ 20-35 ปี ร้อยละ 87.5 ตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 49.2 และลงทะเบียนผ่านไลน์ช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ74.6 พฤติกรรมการอ่านไลน์บ่อยมาก (=4.06,=0.79) อ่านความรู้ย้อนหลังบ่อยมาก (=3.59,=0.84) โต้ตอบกลับบ่อยปานกลาง (=3.49,=1.07) ได้รับความรู้มาก(=4.31,=0.72) และความพึงพอใจมากที่สุด (=4.46,=0.65) ความรู้การฝากครรภ์คุณภาพ อายุครรภ์ ≤ 12 wks., 15 ±2 wks., 20 ±2 wks., 25 ±2 wks., 30 ±2 wks., และ 36 ±2 wks. มีความรู้ระดับดีมากที่สุดและดีมาก คะแนนเฉลี่ย 9.15, 9.10, 8.78, 9.15, 8.32, และ 8.30 ตามลำดับ </p> <p> สรุปข้อเสนอแนะ หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการใช้ไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" ในระดับบ่อยมาก พึงพอใจมากที่สุด และช่วยให้มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพได้อย่างถูกต้อง จึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ใช้ไลน์นี้และศึกษาเพิ่มเติมถึงผลลัพธ์การใช้ไลน์นี้จนถึงการเลี้ยงดูเด็กวัย 0-6 ปี</p> ศิริวรรณ สงจันทร์ เยาวลักษณ์ นามโยรส ชลรดาก์ พันธุชิน ทิวาวรรณ เทพา อรอุมา แก้วเกิด Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 79 91 การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/258720 <p>วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องมีความอดทน เสียสละและรับผิดชอบ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝัง ฝึกฝนให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพจิตตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งการเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง Cross-sectional study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะ สุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 96 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ (TMHI-66) และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย 1) ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.5 อายุเฉลี่ย 19.3 ปี ร้อยละ 45.8 เคยมีเหตุการณ์วิกฤติในชีวิต 2) ระดับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลในภาพรวม พบว่า ความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good) ร้อยละ 64.6 รองลงมามีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair) ร้อยละ 26.0 และมีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor) ร้อยละ 9.4 ตามลำดับ และแยกรายด้าน ความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่ “ส่วนใหญ่ระบุ มากที่สุด” คือท่านรู้สึกยินดีกับความสำเร็จของคนอื่น ร้อยละ 71.9</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผน พัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตในนักศึกษา และมีการส่งเสริมในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต สำหรับนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในทุกๆ ด้าน</p> อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ พิชามญชุ์ คงเกษม ณัฐพล พลเทพ เทพไทย โชติชัย Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 92 106 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 5 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/259383 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 5 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยจำนวน 532 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็ก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความยาว/ส่วนสูง และวัดค่าฮีโมโกลบินด้วยเครื่อง HemoCue<sup>®</sup> วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Binary Logistic Regression ผลการศึกษาพบภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี ร้อยละ 25.0 แบ่งเป็นเด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 35.5 และเด็กอายุ 2-5 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 20.7 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย (OR = 1.57, 95%CI: 1.00-2.46, p&lt;0.05) และช่วงอายุเด็ก (OR = 1.72, 95%CI: 1.01- 2.94, p&lt;0.05) จากการศึกษานี้สถานบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจัดทำระบบเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ให้กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงเด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี</p> benjapun thitilertdecha Junya Seubnuch Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 107 122 การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกัน ของบุคลากรโรงพยาบาลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/258812 <p>การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า (Prospective cohort study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันของบุคลากรโรงพยาบาลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่ 3 ขึ้นไปและติดตามผล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีน รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลประวัติการฉีดวัคซีนของระบบเวชระเบียน จำนวน 89 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและ สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Spearman Rank (rs) และใช้สถิติ Linear Regression และเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันในระยะติดตามด้วยสถิติ Repeated One Way ANOVA <br />ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรที่ได้รับวัคซีนชนิด Viral Vector กระตุ้น เข็ม 3 หลังจาก 30 วัน จะมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่า วัคซีนชนิด mRNA กระตุ้น เข็ม 3 (P-Value = 0.005) การเปรียบเทียบระยะเวลาระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่สาม ผ่านไป 30 วัน พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด19 ผ่านไป 30 วัน สูงขึ้น โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนฉีดเข็มกระตุ้น (x=22,284.93 Au/ML) และเมื่อผ่านไป 90 วันระดับภูมิคุ้มกันเข็มที่สามจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน (x=3,945.07 Au/ML) แต่ยังมีค่าที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับเข็มกระตุ้นที่สาม (x=370.56 Au/ML) และการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 และ 5 มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สาม และการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันพบว่าเพศ (rs = 0.292, p-value = 0.006) และอายุ (rs = 0.234, p-value = 0.027) มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine ในระดับต่ำทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine พบว่า เพศ (rs = 0.280, p-value = 0.008) และไตรกลีเซอไรด์ (rs = 0.262, p-value = 0.013) และชนิดวัคซีน (rs = 0.391, p-value &lt; 0.001) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine ระดับต่ำทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนีมวลกายปกติ (ORadj=0.350; 95%CI=0.12-0.99) และระดับ Cholesterol ปกติ (ORadj=0.174; 95%CI=0.03-0.90) และการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 5 (ORadj=0.158; 95%CI=0.02-0.88) มีโอกาสเกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 น้อยกว่ากลุ่มที่ผิดปกติและได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 ซึ่งการกระตุ้นเข็มที่ 5 จะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น สามารถป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและลดการเสียชีวิต ดังนั้น ควรนำเสนอผลการศึกษาแก่บุคลากรและประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้และทัศนคติที่ถูกต้องต่อการได้รับวัคซีน และส่งเสริมให้บุคลากรและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างครอบคลุม </p> วิศรุต เจริญพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2023-01-27 2023-01-27 15 1 123 140