https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/issue/feed
วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
2024-12-24T09:26:05+07:00
วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
anamai.plan7@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น </strong>กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นวารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความที่ตอบรับการตีพิมพ์บทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกเป็นผู้ประเมินบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยมีการไม่เปิดเผยรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดตีพิมพ์ออกทุก 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทางการแพทย์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้</p> <p>1. เผยแพร่ความรู้วารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม</p> <p>2. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งงานวิจัยด้านการศึกษาและด้านการสอน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น และเครือข่ายวิชาการด้านสาธารณสุข ทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ 7 และผู้สนใจ </p> <p>3. พัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง</p> <p>4. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข้อคิดเห็น ข่าวสาร และเป็นสื่อสัมพันธ์ในวงการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ </strong>เมื่อบทความที่ลงทะเบียนผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการโดยมีรูปแบบการพิมพ์ ขอบเขตเนื้อหา รวมถึงความเหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพของวารสารแล้ว</p> <ul> <li>ผู้นิพนธ์ภายนอกศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในอัตรา 3,500 บาท ต่อ 1 บทความ</li> <li>ผู้นิพนธ์ภายในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้รับการยกเว้นเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</li> </ul> <p>ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ภายนอกไม่สามารถขอคืนเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ภายหลังการชำระเงินแล้ว ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตั้งแต่ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2566) เป็นต้นไป</p> <p>หมายเหตุ : กรณีที่มีรายชื่อผู้นิพนธ์หลายคน ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทั้งภายในและภายนอกศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กองบรรณาธิการถือชื่อผู้นิพนธ์อันดับแรกเป็นสำคัญ และการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/271072
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง: กรณีศึกษา 2 ราย
2024-06-12T10:10:41+07:00
สุกัญญา วัดตอง
vattong89@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกรณีศึกษา 2 ราย ศึกษาแบบเฉพาะ เจาะจงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อหนีบ หลอดเลือดสมองโป้งพอง ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด หลังการผ่าตัด และระยะฟื้นฟูก่อนจำหน่าย โดยศึกษาข้อมูลประวัติการรักษาจาก เวชระเบียน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัญหาของผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่กระบวนการพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิด FANCAS ใน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบกรณีศึกษา ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน ตามมาตรฐาน มีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อรับการดูแลแบบประคับ ประคอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความทุกข์ทรมาน และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือให้พ้นภาวะวิกฤต แต่ยังหลงเหลือความพิการ บางส่วนที่ต้องได้รับการฟื้นฟู และทำกายภาพบำบัดต่อที่บ้าน สรุปผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองและรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดเลือดอกช้ำ เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันด้านการดำเนินโรคที่ ได้แก่ อายุ พฤติกรรมด้านสุขภาพ ชนาด และความรุนแรงของพยาธิสภาพของโรค และภาวะแทรกช้อนของโรคขณะทำการรักษา ส่งผล ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะเวลาช้า หรือเร็วแตกต่างกัน</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/271237
รูปแบบการให้บริการการเลี้ยงลูกด้วผมแม่ต่อมารตาหลังคลลดลอดและครอบครัว : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
2024-07-18T11:06:29+07:00
นงลักษณ์ คำสวาสดิ์
nonglakk@smnc.ac.th
<p>การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรกหลังคลอดในประเทศไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 50 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว การทบทวนประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ ขั้นกระบวนการ และ ผลผลิต โดยใช้เกณฑ์ Joanna Briggs Institute คัดเลือกจากงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) งานวิจัยเช็งคณภาพ (Qualitative Research) และบทความวิชาการ(Academic Article) ขั้นกระบวนการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ "Google" และ "Google Scholar" ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึง มีนาคม 2567 คำสำคัญ (key word) คือ "รูปแบบการให้บริการ" "การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่" "มารดาหลังคลอดและครอบครัว" ขั้นผลผลิต พบเอกสารเกี่ยวข้อง 16 เรื่อง ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2557 - 2566 เป็นบทความวิชาการ 5 เรื่อง และงานวิจัย 11 เรื่องแป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ 8 เรื่องและงานวิจัยเชิงปริมาณ 3 เรื่องเป็นภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง และภาษาไทย 15 เรื่อง ใช้เกณฑ์ Joanna Briggs Institute (JBI) คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้ามีน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 1 จำนวน 1 เรื่อง ระดับ 2 จำนวน 2 เรื่อง ระดับ 3 จำนวน 3 เรื่อง ระดับ 4 จำนวน 5 เรื่องและระดับ 5 จำนวน 5 เรื่อง รูปแบบการให้บริการการเลี้ยงลูกด้วยมแม่ต่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว ได้แก่ การจัดให้แม่และลูกอยู่ด้วยกันตลอดเวลา (rooming in) การให้ครอบครัวอยู่ช่วยเหลือตลอดเวลา การใช้แนวความรู้ 10 ด้านและการประยุกต์ใช้บันได 10 ขั้นในระยะหลังคลอด ประเด็นการค้นพบนี้ เป็นความท้าทายสำหรับการทำวิจัยในอนาคต</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/271410
การศึกษารูปแบบการจัดการมลภาวะอากาศกายในอาคารในพื้นพื้นที่เขตเมือง กรณีศึกษา อาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และ หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ
2024-06-13T11:05:09+07:00
ปรียนิตย์ ใหม่เจริญศรี
preyanit.m@gmail.com
ศิริลักษ์ กลิ่นมาลี
fearlism@gmail.com
สุนิสา แวงชัยภูมิ
sunisa.w29@gmail.com
<p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลมลภาวะอากาศภายในอาคาร ความเสี่ยง ต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลภาวะอากาศภายในอาคาร 2) พัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดการ คุณภาพอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม ในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพ ปฐมภูมิ (ขนาดเล็ก) ในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดลำปางและจังหวัดระยอง รวมจำนวน 20 แห่ง ผลการศึกษา การตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ การเคลื่อนที่ของอากาศ อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO.) ก๊าชคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O.) ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (CH,O) สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เชื้อแบคทีเรียรวม และเชื้อ รารวม พบว่า อาคารทุกแห่งมีปริมาณ PM2.5 และ PM10 สูงเกินมาตรฐาน ส่วน CO ในอาคาร ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ สูงเกินมาตรฐาน 1 และ 2 แห่ง ตามลำดับ อาคาร เชื้อแบคทีเรียรวมสูงเกินมาตรฐาน 8 และ 4 แห่ง ตามลำดับ และเชื้อรารวมสูงเกินมาตรฐาน 4 และ 3 แห่ง ตามลำดับ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพอากาศ โดยสร้างห้องปลอดฝุ่น ความดันบวกด้วยการคำนวณปริมาตรห้องและอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศเพื่อนำมาออกแบบ ขนาดเครื่องฟอกอากาศและเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมสำหรับแต่ละห้อง พบว่า ปริมาณ PMM2.5 และ PM10 รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ลดลงจนถึงระดับที่เป็นไปตามเกณฑ์ค่าเฝ้าระวังคุณภาพ อากาศภายในอาคาร กรมอนามัย ปี 2559" และมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของ สิงคโปร์" แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยการสร้างห้องปลอดฝุ่น ที่จำเพาะกับปัญหาและลักษณะของอาคารที่มีประสิทธิภาพ ผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปสร้าง เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับอาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิอื่นที่มีปัญหา คุณภาพอากาศ ให้สามารถจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดี ต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยภายในอาคารด้วย</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/272302
คุณลักษณะสาเหตุและอุบัติการณ์ 5 ปีของอุบัติเหตุลูกตาแตกในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
2024-07-30T10:09:09+07:00
มณฑกานต์ ดีใหญ่
montakarn_mon@hotmail.com
<p>อุบัติเหตุชนิดลูกตาแตกก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงต่อดวงตาและส่งผลต่อการมองเห็น เป็นอย่างมาก การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวช ระเบียนของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และได้รับการวินิจฉัยอุบัติเหตุลูกตาแตก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2566 เพื่อศึกษาคุณลักษณะ สาเหตุ และอุบัติการณ์ของอุบัติเหตุลูกตาแตกของผู้ป่วยเป็น ระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศชายร้อยละ 90.38 อายุเฉลี่ย 47.37 ปี (SD 20.86) อาชีพที่พบมากที่สุดคือเกษตรกรร้อยละ 38.46 โดยระยะเวลาหลังเกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาลเฉลี่ย 24.48 ชั่วโมง พบบาดแผลที่บริเวณกระจกตามากที่สุดและเป็นบาดแผลที่มีทางเข้าและทางออก ตำแหน่งเดียวกันมากที่สุดร้อยละ 76.92 ก้อนหินเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดลูกตาแตกร้อยละ 28.85 อุบัติเหตุส่วนมากเกิดในสถานที่ทำงานและเกิดจากการกระทำของตัวผู้ได้รับบาดเจ็บเองร้อยละ 82.69 อุบัติการณ์ของอุบัติเหตุลูกตาแตกมีทั้งหมด 52 ราย คิดเป็น 12.12.10 ต่อ ,00,000 ประชากรในพื้นที่ โดยจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีและพบผู้ป่วยมากสุดในเดือนสิงหาคม ปัจจัย ที่แตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นระดับรุนแรง(VA<20/200) และ ไม่รุนแรง(VA>20/200)แรกรับหลังเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.05) ได้แก่ อายุ อาชีพ ตาข้างที่รับบาดเจ็บและสาเหตุของอุบัติเหตุ ข้อมูลทางสถิติจากการศึกษานี้สามารถนำในใบใช้เพื่อสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ และ แนะนำการป้องกันอุบัติเหตุแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาอย่าง เหมาะสมได้ต่อไป</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/271842
การพัฒนาระบบการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา
2024-07-05T08:52:07+07:00
สุวพิทย์ แก้วสนิท
spkn20@hotmail.com
<p>การวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบ การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร จำนวน 153 คน ผู้รับบริการ จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีผลการทดสอบค่าเชื่อมั่นดังนี้ การรับรู้โอกาสเสียงการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล alpha = 0.87 การมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล a(pha = 0.89 และความพึงพอใจผู้รับบริการต่อลักษณะ สภาพแวดล้อมโรงพยาบาล alpha = 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาล มีการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ มีแผนจัดซื้อตามเกณฑ์ มีเครือข่ายวิสาหกิจ ชุมชน และมีการพัฒนาบุคลากร พบปัญหาการดำเนินงานตกเกณฑ์ ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบไม่ตรง ตามแผน ราคา และงบประมาณ ไม่มีความพร้อมในการตรวจสารปนเปื้อน ไม่มีแนวทางการ ปฏิบัติ ขาดการประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิตไม่ต่อเนื่อง และเกณฑ์มีความละเอียดมากเกินไป มีค่าเฉลี่ย การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลหลังพัฒนาโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.603, p<.001) หลังพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-12.195, p-value <:001) ผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการต่อลักษณะสภาพแวดล้อม โรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (56.48+14.36) ข้อเสนอแนะ การสร้างการมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมดำเนินงาน ที่ส่งผลให้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมโรงพยาบาล</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/272092
ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแล ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตศูนย์บริการสาธารณสุข 1 จังหวัดอุดรธานี
2024-06-27T13:39:18+07:00
อณิศา หงษาคำ
anisahongsakham@gmail.com
อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี
anansak.jan@gmail.com
<p>ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ดูแลในครอบครัวจึงเป็นหัวใจสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัด ก่อน-หลัง เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริม การรับรู้ความสามารถแห่งตน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ ด้วย โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบ ประเมินพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired test ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง ระดับดี ร้อยละ 60.00 ส่วนหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ระดับดีมาก ร้อยละ 83.33 และคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้งนั้น การสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีการรับรู้และ พฤติกรรมการดูแล ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/272536
ผลของบริการโค้ชสุขภาพโดยภาคีเครือข่ายต่อความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อของประชาชนกลุ่มเสี่ยง บ้านปันง้าว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
2024-07-30T10:13:09+07:00
ธัญญลักษณ์ วงศ์มณี
tunya5229@gmail.com
<p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการ ทดลอง (One group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบริการโค้ชสุขภาพ โดยภาคีเครือข่ายต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ และระดัะดับ น้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทำการศึกษาในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปันง้าว ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน 50 คน จากนั้นทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิถิทิดสอบ Paired Sample T-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงและเพศชายเท่ากัน โดยส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 50.00 สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 52.00 และเป็นประชาชน ในชุมชน ร้อยละ 90.00 ภายหลังการดำเนินการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ ด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อสูงกว่าก่อนการดำเนิน การศึกษา และระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดต่ำกว่าก่อนการดำเนินการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมบริการโค้ชสุขภาพโดยภาคีเครือข่ายเพื่อนำไปสู่ ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้นแก่ชุมชน</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/271612
ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
2024-07-17T13:55:36+07:00
สุดา ทองทรัพย์
kitipong.ru@western.ac.th
กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร
kitipong19880@gmail.com
สุพิน สุโข
kitipong.ru@western.ac.th
<p>การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัย เวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 146 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความมีวินัยในตนเอง การเอาใจใส่ในการเรียนของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของอาจารย์นิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.67, SD = 0.26 ; = 4.63, SD =0.51 ; X = 4.50, SD = 0.48) ตามลำดับ ส่วนด้าน ความรับผิดชอบ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการเรียน เจตคติต่อวิชาชีพ ความขยันหมั่นเพียร การจัดการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อม ในการเรียนภาคปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ ความรับผิดชอบ ด้านความมีวินัย ในตนเอง ความขยันหมั่นเพียร การจัดการเรียนการสอน คุณภาพการสอนของอาจารย์นิเทศ สภาพแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาคปฏิบัติ (r = -0.17 ถึง -0.24, p < .05) โดยตัวแปรด้านความมีวินัยในตนเอง สามารถร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 ได้ร้อยละ 5 (P< .05)</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/272322
ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์คลินิก ฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ชอนแก่น
2024-07-15T16:19:45+07:00
ลัดดา ดีอันกอง
laddadeeankong@gmail.com
ศิริวรรณ สงจันทร์
siriwansong2005@yahoo.co.th
อธิษฐาน สารินทร์
laddadeeankong@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบศึกษากลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลอง (One-Group pretest-posttest Design) ทำการศึกษาผลของการใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น โดยให้เรียนรู้ด้วยตนเองดูคลิปวีดีโอสั้น ๆ ผ่าน Google form เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนความรู้ก่อนและหลังของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมรูปแบบ การเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่ และประเมินความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อการใช้รูป แบบการเรียนรู้แบบ เชิงรุก ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เมื่อมา ฝากครรภ์ครั้งแรกที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 50 คน เข้าโรงเรียนพ่อแม่โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ วัดความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมรูปแบบ การเรียนรู้แบบเชิงรุกใช้ Paired-samples t-test ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมรูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่ มีคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมิน ความพึงพอใจด้านเนื้อหา ความรู้ความเข้าใจและด้านรูปแบบการเรียนรู้ ความพึงพอใจของหญิง ตั้งครรภ์ต่อการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (X=4.84, SD=0.37) ข้อเสนอแนะสำหรับการสอนโรงเรียนในคลินิกฝากครรภ์ควรนำรูปแบบการสอนโรงเรียน พ่อแม่แบบเชิงรุกเข้ามาเป็นทางเลือกให้แก่หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ไม่สะดวกเข้ามาเรียนในห้องเรียน ตามวันเวลาที่นัดได้และควรสนับสนุนให้มีการจัดโรงเรียนพ่อแม่ในรูปแบบเชิงรุกเป็นแพ็กเกจ สำเร็จรูปที่ทุกโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ได้เพื่อหญิงตั้งครรภ์จะได้เข้าร่วมเรียนรู้ได้ตลอดเวลา</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273809
ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของนักศึกษา หลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
2024-09-13T10:42:55+07:00
มีนา พรนิคม
meenapornnikom@gmail.com
วิษณุศาสตร์ อาจโยธา
visanusat.at@muti.ac.th
<p>งานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของนักศึกษาหลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านอาชีวอนามัยของนักศึกษาหลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2567 จำนวน 63 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการเรียนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในโรงพยาบาล 3)แบแบสอบถามความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความ รอบรู้ด้านอาชีวอนามั้ย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.0 ด้านที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การเข้าถึงข้อมูลและบริการด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 61.9) และรายด้านที่คะแนนน้อยที่สุด คือ ทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 73.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านอาชีวอนามัย ได้แก่ มีประวัติการได้รับความรู้ด้านอาชีวอนามัย (p-value=0.023) และการมี ประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (p-value=0.002) ดังนั้น การเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยให้กับนักศึกษาควรเน้นเรื่องทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย การจัดบริการด้านอาชีวอนามัยให้เหมาะสมและการฝึกปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านอาชีวอนามัยได้อย่างปลอดภัยและ มีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/272698
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
2024-07-31T09:17:29+07:00
นางกิ่งแก้ว มาพงษ์
kkingkaews@hotmail.com
ปรียาพร ตรุณพิณย์
kkingkaews@hotmail.com
ปิยะธิดา สีทน
kkingkaews@hotmail.com
<p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูง อายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ จำนวน 362 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปาก ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่า IOC= 0.96 ค่าความสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นโดยรวม 0.786 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ และ สถิติฟิสเชอร์เอ็กแซคเทส กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.3) อายุอยู่ระหว่าง 61- 70 ปี (ร้อยละ 57.2) ระดับการศึกษาประถมศึกษา (ร้อยละ 76.8) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 69.6) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 61.6) มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 73.0, X= 11.48+1.80) ทัศนคติการใช้สมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.0.0, X= 3.40+0.94) และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับต่ำ(ร้อยละ 73.8, X=2.13+1.0B) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปาก ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับความรู้ และระดับทัศนคติ (p = 0.048, 0.006, 0.011, 0.012 และ p<0.001 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาดังกล่าว ควรส่งเสริมและจัดกิจกรรมการให้ความรู้ ทัศนคติ เพื่อให้ ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงประโยชน์การใช้สุนไพรในช่องปาก เพื่อทดแทนการรักษาและลดต้นทุน การดูแลสุขภาพจากยาแผนปัจจุบัน</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273097
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพัมพันธ์ ในกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคขันหาคู่ออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์
2024-09-18T09:30:35+07:00
นิภาพรรณ มณีโชติวงศ์
nina.manee2500@gmail.com
อรพิน นวพงศกร
cupidnoy2550@gmail.com
บานเย็น แสนเรียน
cupidnoy2550@gmail.com
อนุชิดา อายุยืน
cupidnoy2550@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ศึกษาแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลอง (One-Group pretest-posttest Design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง การได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพัมพันธ์ ในกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชันหาคู่ออนไลน์ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชัน หาคู่ออนไลน์ (Using Applications dating online) จำนวน 76 คน ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ศึกษา 3 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากกว่าก่อนการเข้าร่วม โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ซึ่งโปรแกรมการศึกษานี้สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางให้ความรู้ สร้างทัศนคติในทางบวก และส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273342
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: สถาบันการศึกษาเขตพื้นที่ศึกษาจังหวัดอุดรธานี
2024-09-02T09:47:28+07:00
ธัญทิพย์ คลังชำนาญ
thanyatip.kl@udru.ac.th
เดือนเพ็ญ บุญมาชู
Nsmukku@hotmail.co.th
ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ
thawatchai.khu1989@gmail.com
ธนเมศวร์ แท่นคำ
thanamet.t@snru.ac.th
วรรณา ภาจำปา
w.pajumpa@udru.ac.th
<p>การใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของ เยาวชนการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยา เสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ศึกษาจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ศึกษาจังหวัดอดรธานี จำนวน 185 คน ที่ได้จาก การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม หาคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจ สอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 หาค่าความเชื่อมั่น ของเครื่องมือเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์สมการถดอย พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้ ยาเสพติดเท่ากับ 7.84 (SD = 1.49) โดยมีคะแนนระดับมาก ร้อยละ 57.80 ทดสอบปัจจัยทำนาย พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้ยาเสพติด คือ ความคาดหวัง ในความสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากการติดสารเสพติด (B = 0.188, p < 0.01) และการสนับสนุนทางสังคม (3 = 0.271,p < 0.01)โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกัน ตนเองจากการใช้ยาเสพติดของนักศึกษาได้ร้อยละ 13.8 (R = 0.138, p < 0.01) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีความรู้และทักษะ ในการป้องกันตนเองจากการใช้ยาเสพติด และการศึกษาในอนาคตควรมีการสัมภาษณ์กลุ่มด้วย</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273557
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการคัด กรองผู้มารับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
2024-10-15T09:49:20+07:00
งามตา อินธิจักร
ngamtainthijak2515@gmail.com
<p>งานวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการคัดกรองผู้มารับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อ ระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ชอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานจุดคัดกรองผู้รับบริการ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้โรคติดต่อระบบทาง เดินหายใจ แบบสอบถามทัศติเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทาง เดินหายใจ และแบบสอบถามทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบ ทางเดินหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบความแตกต่าง ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เพิ่มขึ้นจาก 15:90 (SD +0.99)เป็น 19.50 (SD+0.57) คะแนนทัศนคติเพิ่มขึ้นจาก 31.87 (SD+8.40) เป็น 46.47 (SD+5.22) และทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบ ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจาก 33.80 ( (SD+7.99) เป็น 49.17 (SD+0.79) คะแนนความรู้ ทัศนคติและ ทักษะการคัดกรองฯก่อนและหลังการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีส่วนช่วยส่งเสริมความรู้ ทัศนคติและทักษะ ปฏิบัติการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ในหน่วยงาน ดังนั้นควรนำโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา บุคลากรในองค์กรต่อไป</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273801
การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำพองที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2024-10-04T16:10:08+07:00
ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี
pia4003@gmail.com
อัญธิกา บรรจงสวัสดิ์
pia4003@gmail.com
สมคิด ปราบภัย
pia4003@gmail.com
จิราภรณ์ หลาบคำ
pia4003@gmail.com
<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำดิบจากแม่น้ำพองที่ใช้ในการผลิต น้ำประปา โดยเก็บตัวอย่างน้ำดิบจาก 13 สถานีผลิตน้ำประปาในฤดูแล้ง (มีนาคม 2567) และ ฤดูฝน (มิถุนายน 2567) ผลการศึกษาพบการปนเปื้อนไม่โครพลาสติกทั้งสองฤดูกาลโดยในฤดูแล้ง พบเฉลี่ย 35.08+18.16 ชิ้นต่อลิตร และในฤดูฝนพบ 42.15+18.09 อนุภาคต่อลิตร ซึ่งสูงกว่า ฤดูแล้ง 20.15% การวิเคราะห์ด้วย t-test พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองสองฤดูกาล (p < 0.05) ไมโครพลาสติกส่วนใหญ่มีขนาด 150-350 ไมโครเมตรมีรูปร่างเป็นเส้นใยมากที่สุด ทั้งในฤดูแล้ง (80.04%) และฤดูฝน (72.45%) ส่วนใหญ่มีมีสีน้ำเงิน ชนิดพอลิเมอร์ ที่พบมากที่สุด คือ Polypropylene (PP) รองลงมาคือ Polyethylene (PE) ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำดิบรวมถึงน้ำประปาในระดับประเทศและต่างประเทศ แต่ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาอื่นๆพบว่าระดับการปนเปื้อนไมโครพลาสติกใน แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำพองค่อนข้างสูง ดังนั้นควรศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติก ในระบบผลิตน้ำประปา และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้บริโภค นอกจากนี้ควรส่งเสริมความ รอบรู้เกี่ยวกับไมโครพลาสติกแก่ประชาชน เพื่อลดการปนเปื้อนและผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ต่อไป</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/273972
ประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการแบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง)
2024-10-01T10:57:20+07:00
มัณฑนา สังคมกำแหง
smanth@kku.ac.th
ศรันยา ดวงเดือน
smanth@kku.ac.th
<p>การศึกษาประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วย มีความสำคัญในการ พัฒนาและออกแบบระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อภาวะสุขภาพและ ความต้องการของผู้ป่วยที่มารับบริการได้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ แบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรคือผู้ป่วยที่มารับ บริการแบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดตัวอย่าง 416 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคลและแบบประเมินประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจต่อการบริการ ซึ่งมีค่า ความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ แบบบูรณาการพรีเมี่ยมโดยรวม อยู่ในระดับดี (X= 4.31, S.D.= 0.63) โดยผู้ป่วยที่มารับบริการ ที่ห้องตรวจพรีเมี่ยมมีประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจ อยู่ในระดับดี (X= 4.27, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X= 4.27, 5.D.= 0.64) ด้านการได้รับข้อมูลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=4.07, S.D.=0.70) สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการที่หอผู้ป่วย ในพรีเมี่ยมมีประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของอยู่ในระดับดีมาก (X=4.54,5.D.=0.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X= 4.37, 5.D.= 0.63) และด้าน การได้รับข้อมูลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=4.22, 5.D.=0.75) ดังนั้นควรส่งเสริมการได้รับข้อมูลของ ผู้ป่วยเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและความพึงพอใจแก่ต่อการรับบริการ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274112
ประสิทธิภาพของวิธี Quadruple test ในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ ของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
2024-10-15T09:36:41+07:00
สนทอง ไชยบุญเรือง
sontong.ctt@gmail.com
มัทนี ชีวเสถียรชัย
labhpc7@gmail.com
พัชราภรณ์ ผานิช
pattyjums0712@gmail.com
สุธาสินี พลยิ่ง
suthasinee.phon@gmail.com
ธิปก กงวงษ์
tipokk@kkumail.com
<p>กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโชมคู่ที่ 21 เกินมา ทำให้เกิดภาวะความผิดปกติหลายระบบ ที่ผ่านมาใช้การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความ ผิดปกติทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งหรือภาวะแทรกช้อนได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการกำหนด มาตรการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี Quadruple test ขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองทารก กลุ่มอาการดาวน์ด้วยวิธี Quadruple test กับวิธีการตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำในหญิงตั้งตั้งครรภ์ จำนวน 18,695 ราย ผลเป็นบวกจำนวน 1,908 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.21 ในกลุ่มที่ให้ผลบวกนี้ มีผลการตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำจำนวน 1,570 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.29 กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.29 Trisomy 18 จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.06 และความผิดปกติอื่นอีกจำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.23 และไม่พบผลการเจาะนำคร่ำ จำนวน 338 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.71 การตรวจ Quadruple test มีค่าความไว้ร้อยละ 94.7 (95% CI:94.41 - 95.06) ค่าความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 91.6 (95%Cl: 91.23-92.03) และ คุณค่าของการวินิจฉัยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้ผลการคัดกรองเป็นลบ อยู่ในระดับที่ดี Negative Likelihood Ratio ที่ 0.06 (95%Cl: 0.01-0.02) และ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้ผลการคัดกรอง เป็นบวก อยู่ในระดับที่ดี Positive Likelihood Ratio ที่ 11.27 (95%CI: 10.83-11.84) จาก ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีของวิธี Quadruple test ที่ยังคงเหมาะสมในการใช้ คัดกรองการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งตั้งครรภ์ทุกลุ่มอายุ</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274129
ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความผิดพลาดของค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบกับอายุการใช้งานของแผ่นรับภาพรังสี
2024-11-15T11:29:03+07:00
ฐิตินันท์ จันเส
cthitinan12@gmail.com
กฤษณพันธ์ นิธิจินดานนท์
kridsanapan.nit@nmu.ac.th
บรรจง เขื่อนแก้ว
cthitinan12@gmail.com
<p>ค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี (Exposure Index; El) เป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณรังสีที่แผ่นรับภาพ รังสีดิจิทัลได้รับรังสีเอกซ์ในการสร้างภาพ ซึ่งตามมาตรฐาน IEC 62494-1:2008 กล่าวว่าแผ่นรับภาพ ที่มีประสิทธิภาพดี จะต้องมีค่าความผิดพลาดของค่า E! ที่แสดงผลจากแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล ไม่เกิน ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่า EI มาตรฐาน โดยค่า E! มาตรฐาน คำนวณจากค่าปริมาณรังสีในหน่วย ไมโครเกรย์ [UGY] คูณด้วย 100 เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล งานวิจัยนี้จึงได้ ทำการทดลองหาแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงค่าความผิดพลาดของ EI เมื่อแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล ถูกใช้งานไปอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลค่า EI จากแผ่นรับภาพรังสี Konica Minolta AeroDR P-52 (AeroDR2 14175) ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุการใช้งานเริ่มตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 6 ซึ่งการเก็บข้อมูลค่า E! นั้น ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ของการสร้างรังสีเอกข์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน RQA5 ใน IEC 61267:2005 ผลการทดลองพบว่า ค่าความผิดพลาดของค่า EI ของแผ่นรับภาพที่ทำการทดสอบ มีการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงเส้น โดยมี ค่าความผิดพลาดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.8 ต่อปี ซึ่งหากการเสื่อมสภาพของแผ่นรับภาพรังสีแผ่นนี้ ยังคงเปลี่ยนแปลงแบบเชิงเส้นเช่นนี้ต่อไป แผ่นรับภาพแผ่นนี้จะสามารถใช้ได้นานถึง 23 ปี อย่างไร ก็ตามต้องมีการทดลองเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเสื่อมสภาพของแผ่นรับภาพ จะเป็นแบบเชิงเส้นต่อไปได้นานเพียงใด</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274174
ผลการพัฒนารูปแบบปฏิบัติการพยาบาลมารดาหลังคลอดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
2024-10-02T10:31:30+07:00
นงลักษณ์ คำสวาสดิ์
nonglakk@smnc.ac.th
วิภาพร ปิตินพคุณ
rungnapa@bcnnv.ac.th
ประไพจิตร โสมภีร์
rungnapa@bcnnv.ac.th
รุ่งนภา โพธิ์แสน
rungnapa@bcnnv.ac.th
<p>พ.ศ. 2566 ประเทศไทยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ร้อยละ 28.60 วัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนารูปแบบปฏิบัติของมารดาหลังคลอดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ วิธีการศึกษาเชิงบรรยาย ในโรงพยาบาลประจำจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูล 14 คน ใช้การสัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วม จดบันทึกและบันทึกภาพ ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. รูปแบบปฏิบัติเมื่อมารดาทารกนอนเตียงเดียวกัน มีรูปแบบปฏิบัติ 6 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย (1) การอุ้มลูก (2) การนำลูกเข้าเต้า (3) การให้ลูกอมหัวมและลานนม (4) การเอา หัวนมออกจากปากลูก (5) การดูแลลูกหลังให้นมแม่ และ (6) การแก้ปัญหาหัวนมของแม่ 2. รูปแบบ ปฏิบัติเมื่อแม่และลูกแยกจากกันในภายหลัง มีรูปแบบปฏิบัติ 2 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย (1) การให้แม่ไปเยี่ยมลูก (2) การบีบเก็บน้ำนมเพื่อลูก และ 3. การใช้สมุนไพรเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ หลังคลอด ผลการวิจัยครั้งนี้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และทีมสุขภาพ ผู้ดูแลมารดาหลังคลอด และเป็นพื้นฐานการทำวิจัยเพิ่มเติมต่อไป นอกจากนั้นใช้เป็นหลักฐาน เพื่อการพัฒนาโปรแกรมรูปแบบปฏิบัติการพยาบาบาลมารดาหลังคลอด</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274268
แนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
2024-10-16T14:01:44+07:00
กันยารัตน์ สมบัติธีระ
kanya_som@hotmail.com
นภาพร หานะพันธ์
Kanya_som@hotmail.com
อัญชลินทร์ เลิศชุติพันธ์
Kanya_som@hotmail.com
ณัฐนรี ศิริภูมิ
Kanya_som@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากร บุคคลของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เพื่อให้มีแนวทางการการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลจากเอกสารและ สอบถามบุคลากรศูนย์ฯ ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 คือบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 154 คน กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 2 คือ ผู้บริหาร ด้านทรัพยากรบุคคลศูนย์ ฯ ผู้รับผิดชอบงานด้านบุคลากร และบุคลากรศูนย์ฯ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยรวบรวมจากเอกสารและการทำ SWOT Analysis แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุและสถิติ One-way ANOVA จากผลการวิจัยที่ได้มา สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล พบว่าโดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง รวมถึงเมื่อพิจารณาตามรุ่น (generation) ในกลุ่มเพศหญิง ก็ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ของความคิด เห็นที่สำคัญทางสถิติ ซึ่งหมายความว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันต่อการบริหาร ทรัพยากรบุคคลในองค์กร จากการวิเคราะห์ SWOT ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปี 256566 ด้านบุคลากร สามารถกำหนดร่างแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลได้ 9 กลยุทธ์ การสอบถามความคิดเห็น ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล ในเรื่องการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร และสิ่งที่ต้องปรับปรุงในการบริหารทรัพยากรบุคคล มากที่สุดคือการเลื่อนเงินเดือน จากผลการสังเคราะห์ข้อมูลข้างต้น จึงกำหนดแนวทางในการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้ 4 ยุทธศาสตร์ 9 กลยุทธ์ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ทบทวนโครงสร้างบุคลากร มีแนวทางสร้างความสุขให้แก่บุคลากร และสร้างความผูกพันในองค์กร ควรมีการกำหนดนโยบาย และแนวทางการติดตามประเมินผล การพัฒนาบุคลากร ข้อเสนอเชิงนโยบาย: จัดทำโครงการ ในการบริหารทรัพยากรบุคคล แผนพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการบุคลากรและหน่วยงาน พัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติการให้โปร่งใส จัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274244
รูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
2024-10-17T13:48:04+07:00
นาถฤดี ศิรินาม
65011481013@msu.ac.th
จารุวรรณ วิโรจน์
65011481013@msu.ac.th
ณัชชลิดา ยุคะลัง
65011481013@msu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษารูปแบบการให้ บริการด้วยระบบการแพย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 64 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการ 1.1 เจ้าหน้าที่ด้าน สาธารณสุขในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลหนองหาน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน 1.2) ผู้รับผิดชอบหลักงาน ผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอหนองหาน จำนวนทั้งสิ้น 14 คน 2) ผู้รับบริการ ผู้สูงอายุที่เคยเข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปีงประมาณ พ.ศ.2566 ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มภาวะสมองเสื่อม จำนวนทั้งสิ้น 32 คน 3) ด้านวิชาการ เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูล มูลโดยใช้แบสอบถาม และแบบสังเกตการมีส่วนร่วม ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2567 - เดือนกันยายน 2567 จากการดำเนินงาน รูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า รูปแบบการให้บริการด้วยระบบ การแพทย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้สมรรถภาพสมองดีขึ้นแต่ยัง พบว่าระดับสมรรถภาพสมองยังอยู่ในระดับการรับรู้ทางเชาว์ปัญญาบกพร่องหรือมีภาวะสมองเสื่อม คะแนนเฉลี่ยพุทธิปัญญาเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับผิดปกติทั้งหมด และความสามารถในการประกอบ กิจวัตรประจำวันมีค่าคะแนนเฉลี่ยดีขึ้น แต่ยังพบว่าอยู่ในระดับไม่พึ่งพาเพียงร้อยละ 65.6 และ ยังพบว่าระดับความพึงพอใจ จากการศึกษารูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ในคลินิกผู้สูงอายุ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้สูงอายที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1. ความพร้อมของเทคโนโลยี 2. ความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ 3. การประสานงานระหว่างทีมดูแลสุขภาพ 4. การสนับสนุน 5. การประเมินผลและพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274266
ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตต่อภาวะมีบุตรยาก
2024-11-27T09:50:45+07:00
มกรารัตน์ หวังเจริญ
makara2523@gmail.com
<p>การวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตในคลินิกมีบุตร ทุกราย ในคลินิกมีบุตรยาก จำนวน 40 ราย โดยเข้าโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตรวจวิเคราะห์ ความสมบูรณ์ ของเลือด (CBC) น้ำตาลในเลือด (BS) ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน ตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การทำงานของไต (Renal function) การทำอัลตราชาวด์ สำหรับเพศหญิง การตรวจการวิเคราะห์น้ำเชื้อสำหรับเพศชายโปรแกรมประกอบด้วย 1) คู่มือการดูแล ตนเองสำหรับผู้มีบุตรยาก 2) ปรึกษานักโภชนากร 3) ปรึกษานักวิทยาศาสตร์การกีฬา 4) ติดตาม เยี่ยม online ทุกสัปดาห์ เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางเวชศาสตร์ วิถีชีวิต (lifestyle assessment) ก่อนและหลังโดยตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกิน 2) ด้านการออกกำลังกาย 3) ด้านการนอน 4) ด้านบุหรี่/แอลกอฮอล์ 5) ด้านจิตใจ 6) ด้านความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนมาตรฐาน paired t-test t กำหนด นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และค่าความเบี่ยงเบนเชื่อมั่นที่ 95% ผลการศึกษาพบว่า คะแนนแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้นโดย ค่า p value < 0.001 ด้านการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.0.010 ด้านจิตใจ คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.016 ทั้งนี้พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับด้านการกิน คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.129 ด้านการนอนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.766 ประเมินด้านบุหรี่ฯ เพิ่มขึ้น ค่า p value 0.905 ด้านความสัมพันธ์คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.534 พบว่าเพิ่มขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คู่สมรสตั้งครรภ์ จำนวน 2 คู่ ข้อเสนอแนะ : การปรับใช้หลักเวชศาสตร์ วิถีชีวิตมีประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคู่สมรสมรสที่มีบุตรยาก</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น