วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7 <p><strong>วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น </strong>กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นวารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความที่ตอบรับการตีพิมพ์บทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกเป็นผู้ประเมินบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยมีการไม่เปิดเผยรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดตีพิมพ์ออกทุก 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทางการแพทย์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้</p> <p>1. เผยแพร่ความรู้วารสารวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม</p> <p>2. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งงานวิจัยด้านการศึกษาและด้านการสอน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น และเครือข่ายวิชาการด้านสาธารณสุข ทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ 7 และผู้สนใจ </p> <p>3. พัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง</p> <p>4. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข้อคิดเห็น ข่าวสาร และเป็นสื่อสัมพันธ์ในวงการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ </strong>เมื่อบทความที่ลงทะเบียนผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการโดยมีรูปแบบการพิมพ์ ขอบเขตเนื้อหา รวมถึงความเหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพของวารสารแล้ว</p> <ul> <li>ผู้นิพนธ์ภายนอกศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในอัตรา 3,500 บาท ต่อ 1 บทความ</li> <li>ผู้นิพนธ์ภายในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้รับการยกเว้นเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</li> </ul> <p>ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ภายนอกไม่สามารถขอคืนเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ภายหลังการชำระเงินแล้ว ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตั้งแต่ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2566) เป็นต้นไป</p> <p>หมายเหตุ : กรณีที่มีรายชื่อผู้นิพนธ์หลายคน ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทั้งภายในและภายนอกศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กองบรรณาธิการถือชื่อผู้นิพนธ์อันดับแรกเป็นสำคัญ และการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด</p> th-TH <p>บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจน<span style="font-size: 0.875rem;">ข้อเสนอแนะ</span><span style="font-size: 0.875rem;">เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</span></p> anamai.plan7@gmail.com (วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ) anamai.plan7@gmail.com (ดร.อธิวัฒน์ บุตรดาบุตร) Fri, 25 Apr 2025 15:28:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/277285 <p>การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา (Case study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ข้อสรุปการวินิจฉัยทางการพยาบาล การดูแลปฏิบัติการพยาบาลในมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ทำการคัดเลือกกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย โดยการเลือกเฉพาะเจาะจงมารดาหลังคลอดที่เข้ารับบริการคลอดและมีภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ เดือน มี.ค. ถึง ก.ย. 2567 เก็บข้อมูลจาก เวชระเบียน แบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย ผลการศึกษา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบมารดาหลังคลอดทั้ง 2 ราย พบว่า มีความแตกต่างของการดำเนินการคลอดและปัจจัยส่วนบุคคลและสาเหตุของการตกเลือด รายที่ 1 อายุ 28 ปี ระยะเวลาการคลอด ใช้เวลา 40 นาทีสาเหตุการตกเลือดหลังคลอดจากรกค้าง รายที่ 2 อายุ 36 ปี ระยะเวลาการคลอด รวม 18 ชั่วโมง 58 นาที สาเหตุการตกเลือดจาก แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ สรุปความรู้จากการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีสาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดที่แตกต่างกัน การดูแลให้การพยาบาลหลังคลอดตามแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดในมารดาหลังคลอดระยะแรก จึงได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจนปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง</p> ลัดดา ปุริมายะตา Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/277285 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในคลินิกเฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276992 <p>วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในคลินิกเฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้ฐานคิดของวงจรเด็มมิ่ง (Deming cycle) ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การประเมินผล และ 4) การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 97 ญาติผู้แล จำนวน 97 คน เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2567 เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 2) แบบสอบถามความพึงพอใจการให้บริการและการรับบริการ และ3) แบบสอบถามความคิดเห็นการพัฒนาคุณภาพการบริการ</p> <p> ผลพบว่า แนวทางการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในคลินิกเฉพาะทางมะเร็ง ประกอบด้วย 1) คัดกรองก่อนพบแพทย์ 2) พบแพทย์ 3) เสริมทักษะการดูแลตนเอง 4) การรับยาเคมีบำบัดแบบไม่ค้างคืน Day Care Center และ 5) การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน ก่อนพัฒนา ระยะเวลาการให้บริการเท่ากับ 10 ชั่วโมง 16 นาที ภายหลังพัฒนา ระยะเวลาการให้บริการเท่ากับ 6 ชั่วโมง 33 นาที ด้านความคิดเห็นในการพัฒนาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ญาติผู้ดูแลและของเจ้าหน้าที่ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28, S.D.= 0.61), (x̄= 4.13, S.D.= 0.48) ตามลำดับ ด้านความพึงพอใจ ก่อนพัฒนามีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 3.42, S.D.= 0.89) ภายหลังพัฒนามีความพึงพอใจต่อในการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.47, S.D.= 0.40)</p> ณัฐพัชร์ พรหมมินทร์, อริณรดา ลาดลา Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276992 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเทคนิคการให้แรงดันบวกร่วมกับการสั่นสะเทือนขณะหายใจออกผ่านน้ำเพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจหลังผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274738 <p>การใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจซ้ำในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา แม้ว่าปัจจุบันจะมีการใช้เทคนิคการให้ออกซิเจนแรงดันสูง (High-Flow Nasal Cannula, HFNC) และการเพิ่มความชื้น แต่ยังพบอุบัติการณ์การใส่ท่อซ้ำสูงถึง 7.5-24.2% ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ และประเมินผลของเทคนิคการให้แรงดันบวกร่วมกับการสั่นสะเทือนขณะหายใจออกผ่านน้ำ (Bubble Positive Expiratory Pressure, B-PEP) ในการลดภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจหลังผ่าตัด โดยเป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study: One Group Pre-Post Test) ดำเนินการในผู้ป่วยหลังผ่าตัดกลุ่มเสี่ยงสูงที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างปี 2565-2567 โดยมีผู้ป่วย 150 รายที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจซ้ำมี 23 ราย คิดเป็น 15.33% (95%CI, 9.50-21.16) ส่วนใหญ่เกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังถอดท่อ นอกจากนี้ ค่าอาการหอบเหนื่อยลดลงเฉลี่ย 2.81 คะแนน (95%CI, 1.16-2.62, p-value &lt; 0.05) อัตราการหายใจลดลง 8.74 ครั้ง/นาที (95%CI, 7.99-9.48, p-value &lt; 0.05) และความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น 4.06% (95%CI, 3.48-4.63, p-value &lt; 0.05) โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิต จากผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่าเทคนิค B-PEP มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการลดภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจหลังผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง</p> กันทรากร หงษ์รัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274738 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/275195 <p>การขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับเฝ้าระวังระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการประเมินสถานการณ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ ประโยชน์เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายป้องกันการขาดสารไอโอดีนอย่างเป็นระบบ กระบวนการพัฒนาแพลตฟอร์มประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาความต้องการของผู้ใช้งาน 2) การพัฒนาต้นแบบ 3) การทดลองใช้งานต้นแบบ 4) การปรับปรุงแพลตฟอร์ม 5) การนำไปใช้งานจริง และ 6) การประเมินผลการใช้งาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใช้งานจากคลินิกฝากครรภ์ ห้องปฏิบัติการ และหน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด และเขตสุขภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.02, SD = 0.57) โดยผลการวิเคราะห์ที่นำเสนอในแพลตฟอร์มมีความถูกต้องและสอดคล้องกับการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.97, SD = 0.71) แพลตฟอร์มช่วยลดเวลาการทำงานและเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ผลเชิงสถานการณ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังมีศักยภาพในการขยายผลสู่การใช้งานระบบเฝ้าระวังระดับประเทศ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาทุนด้านสุขภาพและระดับสติปัญญาของเด็ก</p> ปิยะ ปุริโส; ชัญญานุช ปานนิล; พัชราภรณ์ ผานิช, สุกัณฑ์ เจียรวาปี, พิพัฒน์พล พินิจดี, ชาตรี เมธาธราธิป Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/275195 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test (Self-collection) ในสตรีไทย อายุ 30-60 ปี จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274956 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และปัจจัยที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test (Self-collection) ในสตรีไทย อายุ 30-60 ปี จังหวัดขอนแก่น นำข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากผู้มารับบริการขอชุดตรวจจำนวน 3,081 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 746 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2566 นำมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ข้อมูลเชิงคุณภาพนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา<strong> </strong></p> <p>ผลพบว่า อายุเฉลี่ย 49.16 ปี (S.D.= 7.860) ต่ำสุด 27 ปี สูงสุด 62 ปี อายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 50.7) สิทธิการรักษาบัตรทอง (ร้อยละ 88.1) สถานภาพคู่ (ร้อยละ 89.9) การตัดสินใจรับชุดตรวจเพราะต้องการทราบสุขภาพตนเอง (ร้อยละ 93.8) ประวัติการแพ้ยา (ร้อยละ 1.5) การได้รับข้อมูลจากเพื่อน (ร้อยละ 33.0) รพ.สต. เป็นหน่วยช่วยเหลือ (ร้อยละ 93.7) ผลการตรวจ Negative (ร้อยละ 90.3) ผล Positive (ร้อยละ 9.7) ซึ่งชนิดของ HPV พบสายพันธุ์ 16 และ 18 (ร้อยละ 7.9) ปัจจัยการได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนมีความสัมพันธ์กับผลการตรวจแบบ Self-collection อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และชนิดของ HPV16, HPV16 18, มีความสัมพันธ์กับการตรวจแบบ Self-collection อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์ เหตุที่ใช้บริการเพราะตรวจฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ข้อเสนอแนะควรสนับสนุนส่งเสริมการตรวจแบบ Self-collection ให้ครอบคลุม และควรเพิ่มช่องทางให้ อสม. เป็นผู้ขับเคลื่อนในการเพิ่มการเข้าถึงบริการรูปแบบนี้</p> ศรีสุดา งามธรณกิจ Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274956 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดสตูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274995 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 254 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านประชากรและด้านสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม พฤติกรรมและความเสี่ยงสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.92 และ 0.69 รวมทั้งแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบนำเข้าระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในจังหวัดสตูล ร้อยละ 21.26 ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะสมองเสื่อมคือ รายได้ (Crude OR = 1.622, p = .015, 95% CI = 1.098-2.397) และคะแนนรวมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Crude OR =1.078, p = .025, 95% CI = 1.009-1.151) โดยค่า Cox &amp; Snell R Square = .114 และ Nagelkerke R Square = .176 ระบุว่าตัวแปรทำนายทั้งหมดในโมเดลนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของภาวะสมองเสื่อมได้ประมาณ 17.6 ซึ่งบ่งชี้ว่าเมื่อมีรายได้และคะแนนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมลดลง 1.622 เท่า และ 1.078 เท่า ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ควรมุ่งเน้นการวางแผนและดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อไม่ให้สูงอายุแยกตัวจากสังคม และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม</p> ดาริน ธนปัญญาบูรณ์, ศศิธร คำพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274995 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ จังหวัดสกลนคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276029 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60-69 ปี ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการพัฒนาส่งเสริมความรอบรู้ 3อ. 2ส. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Sample t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.70 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 44.44 สถานสมรสและคู่สมรสอาศัยด้วยกัน ร้อยละ 71.30 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 60.19 รายได้โดยเฉลี่ย 5,732.41±7,457.01 บาท ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 71.30 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาร้อยละ 81.48 ด้วยบัตรทอง 30 บาท ผลของการดำเนินโปรแกรมการพัฒนาการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าระดับความรอบรู้สุขภาพแต่ละด้านเพิ่มสูงขึ้น มีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P-value &lt; 0.05) และระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภายหลัง (M=27.63, SD=3.26) มีค่าสูงกว่าก่อนการทดลอง (M=25.26, SD=3.88) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P-value &lt; 0.001) โปรแกรมที่ใช้ในการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ดีในชุมชนได้</p> ศวิตา ศรีสวัสดิ์, กูฟาติม โมง, พันทุมวดี ต้นสวรรค์, ตัสนีม ลุโบะเด็ง, อนันต์ อิฟติคาร Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276029 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชมรมสร้างเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/275949 <p>การพลัดตกหกล้มปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุ ป้องกันได้ด้วยการชะลอความเสื่อมถอย การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบชุมชนมีส่วนร่วม วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ ด้วยสถิติ Paired t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายรายบุคคลและรายกลุ่ม ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 63.3 (Mean = 71.39, S.D. = 4.7) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.6 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 66.7 ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 70.0 ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณ ร้อยละ 63.3 มีโรคประจำตัวร้อยละ 56.7 ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5-22.9 kg./m<sup>2</sup> ร้อยละ 36.7 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ พบว่า การทดสอบ TUGT, ความแข็งแรงและความทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05)</p> <p>การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการหกล้ม ควรมีการปรับใช้ให้เข้ากับบริบทพื้นที่และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดการส่งเสริมสุขภาพ ต่อไป</p> ประภาศรี ทุมสิงห์, กัญญา จันทร์พล , สดุดี ภูห้องไสย Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/275949 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 สถานการณ์พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนกึ่งเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276844 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ถึง 5 ปี จำนวน 180 คน ที่ศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) ของกระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 55 และมีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 45 โดยพบว่าเพศชายมีพัฒนาการไม่ผ่านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.20 เมื่อจำแนกพัฒนาการเด็กที่ไม่ผ่านเป็นรายด้าน พบว่า เด็กอายุ 3 ปี และ 4 ปี ด้านที่ผ่านน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 57.81 และ ร้อยละ 38.89 ตามลำดับ และเด็กอายุ 5 ปี ด้านที่ผ่านน้อยที่สุด คือ ด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 26.92 ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและด้านภาษาในแต่ละช่วงอายุให้เหมาะสม นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการอบรมครูและผู้ดูแลเด็กเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยและสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองในการสนับสนุนพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องที่บ้าน</p> สุพิศตรา พรหมกูล, เสาวลักษณ์ ชาญกัน, สรัญญา เปล่งกระโทก, ทรงสุดา หมื่นไธสง, สุรัสวดี พนมแก่น Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276844 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม "ThalPred" ต่อแนวทางการรักษา และให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276082 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการนำโปรแกรม "ThalPred" มาใช้ในการวิเคราะห์ค่ากลาง (ค่าเฉลี่ย) ของ Thalassemia Trait (TT) โดยใช้ผล CBC ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด (Hct&lt; 33 vol%) มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ค่ากลาง Thalassemia Trait (TT) และสูตรสมการถดถอย ในการประมาณค่าความสัมพันธ์ที่บ่งบอกถึงแนวโน้มของการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก (Ferrous Fumarate) แก่หญิงตั้งครรภ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น รูปแบบการศึกษาแบบ Retrospective Cohort study ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 จำนวน 100 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นพาหะหรือไม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย 50 ราย และกลุ่มที่เป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมีย 50 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรม "ThalPred" (Thalassemia Prediction) ของมหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ค่ากลางของ Thalassemia Trait (TT) กลุ่มที่ไม่มีโรคหรือพาหะธาลัสซีเมียแฝง (MCV,MCH ปกติ) ค่าเฉลี่ย TT ≤ 0.5 และกลุ่มที่มีโรคหรือพาหะธาลัสซีเมียแฝง (MCVหรือMCH ผิดปกติ) ค่าเฉลี่ย TT &gt; 0.5 ซึ่งถ้าค่า TT &gt; 0.5 สามารถแยกภาวะซีดว่าเกิดจากโรคหรือพาหะธาลัสซีเมียจากค่า MCV ถ้า MCV ≥ 70 มีแนวโน้มเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ถ้า MCV &lt; 70 มีแนวโน้มจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย และสูตรสมการถดถอยคือ thal12 = 0.848 + 1.271(TT) + ε ถ้า thal12 &lt; 1.5 (คัดกรองธาลัสซีเมียผ่าน) หรือ thal12 ≥ 1.5 (คัดกรองธาลัสซีเมียไม่ผ่าน) จะสามารถให้ยาเสริมธาตุเหล็ก (Ferrous Fumarate) แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด ดังนั้นสามารถนำค่า CBC ประมวลผลโดยโปรแกรม "ThalPred" เพื่อพิจารณาให้ยาเสริมธาตุเหล็กได้</p> จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น, ชญานิศ ประฏิภาณวัตร Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276082 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในสถานีสุขภาพ สำหรับกลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276863 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในสถานีสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับกลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่บ้านหัวกระบือ โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จำนวน 12 คน กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยรวม 66 คน จากสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน ดำเนินการ 3 ระยะ 1) เตรียมการ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้และประเมินผล ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกค่าน้ำตาล แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Paired Sample T-Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 65 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิผู้สูงอายุ ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ทั้งในภาพรวมและรายด้าน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภาพรวมเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em>&lt;.001 และค่าน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em>&lt;.001 โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับสูงทั้งรายด้านและภาพรวม ส่วนพฤติกรรมยังมีความแตกต่างกันแต่ละด้าน ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบบริการที่เพิ่มความรอบรู้ระดับปฏิสัมพันธ์ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเน้นพฤติกรรมที่ยังปรับเปลี่ยนน้อย</p> สมชาติ ลีวรรณเจริญ, ประเสริฐ ประสมรักษ์, สุรีย์ เดือนแรม, ชินวัตร ป่าอ้อย Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276863 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กจากการประยุกต์ ใช้ สุนทรีย สาธก (Appreciative inquiry) ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมิเดีย ในเด็ก อายุ 9-30 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274920 <p>ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญทั่วโลก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้ดำเนินการตามนโยบายของกรมอนามัยโดยให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็ก 6 เดือนขึ้นไปทุกรายที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กให้กับผู้ปกครองเด็ก 6-30 เดือน โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย และสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry)มาประยุกต์ใช้ ทำการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เก็บข้อมูลโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 ราย ระยะเวลา 10 สัปดาห์ การศึกษาแบ่งเป็น3ระยะ คือระยะที่1เป็นการสัมภาษณ์ประสบการณ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง ระยะที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกมาสังเคราะห์และออกแบบร่วมกับข้อมูลด้านยาเป็นสื่อมัลติมิเดีย และให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ระยะที่ 3 การนำสื่อมัลติมิเดีย มาใช้กับผู้ปกครองผ่าน Line Open Chat โดย พบว่าโดยคะแนนความรู้เรื่องยา(เต็ม 15คะแนน)วัดผลก่อน คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9. 13 (SD=0.22) หลังเข้าร่วม คะแนนอยู่ที่ 12.77(SD=0.22) คะแนนความร่วมมือในการรับประทานยา(คะแนนเต็ม10คะแนน) คะแนนเฉลี่ย ก่อน อยู่ที่ 7.60 (SD=0.39) หลังเข้าร่วม คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.57 (SD=0.92) โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p-value &lt;0.001) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ควรมีการขยายระยะเวลาและพัฒนากระบวนการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก โดยการเพิ่มเนื้อหาสื่อมัลติมีเดียที่น่าสนใจ เช่น วิดีโอแอนิเมชันหรือเสียงบรรยาย เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ร่วมมือในการรับประทานยา และสนับสนุนการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในผู้ปกครอง</p> จุราพร สุรมานิต, ศศิวิมล ทองพั้ว Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274920 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินเพื่อป้องกันภาวะ แทรกซ้อนทางหลอดเลือด โรงพยาบาลเกษตรวิสัย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274861 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกันครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด โรงพยาบาลเกษตรวิสัย ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพผู้พัฒนาและผู้ใช้แนวทางจำนวน 54 คน และผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายจำนวน 36 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2567 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลทางคลินิกและอุบัติการณ์ แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟริน และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า เกิดแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยประกอบด้วย 5 หมวดกิจกรรม (KASAT model) ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้ของบุคลากร (Knowledge) 2) การดูแลตำแหน่งที่ให้ยา (Active Caring) 3) การเลือกหลอดเลือดและตำแหน่ง (Selection of Site) 4) การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (Awareness) และ5) การจัดการเมื่อเกิดอุบัติการณ์ (Treatment) ภายหลังนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นปฏิบัติไปใช้ พบภาวะเนื้อตายจากการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดในระดับเล็กน้อย-ปานกลาง จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 11.1) ซึ่งได้รับการดูแลทันทีจนฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าพยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 94.8 และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.40) อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามผลระยะยาวเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวทางดังกล่าว และนำไปเป็นแนวทางการพยาบาลในยาชนิดอื่น เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น</p> นวินดา หลักคำพันธ์, อนุชา ไทยวงษ์ , กำทร ดานา, บุญเพียร โพธิ์ภักดี, นฤมล อินทร์ไทร Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/274861 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276669 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อน-หลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศึกษาช่วงเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 35 คน ใช้โปรแกรมการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย ผลระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) จากประวัติการรักษา ประเมินความรู้เกี่ยวการดูแลตนเอง และลำดับขั้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired t-test เปรียบเทียบผลการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด ความรู้ และลำดับขั้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง มีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและติดตามการรักษา การดูแลสุขภาพอนามัย และการดูแลเท้า การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การจัดการความเครียด สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) ผลระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) พบว่าหลังให้โปรแกรม ผลระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C &lt;7% สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) ส่วนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน</p> <p>จะเห็นได้ว่าผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีความรู้และมีผลระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ควรมีการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่นยืน</p> จอแก้ว คุณะแสน Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276669 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนกับระดับไอโอดีนในปัสสาวะ ของวัยทำงานเขตสุขภาพที่ 7 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276734 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน คุณภาพเกลือบริโภคเสริม ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน คุณภาพเกลือบริโภคเสริม กับระดับไอโอดีนในปัสสาวะ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล ศึกษาในวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 459 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน คุณภาพเกลือบริโภคเสริม กับระดับไอโอดีนในปัสสาวะโดยใช้ ไคสแควร์ (Chi-Square)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.26 อายุเฉลี่ย 45.83 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 31.37 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 45.53 รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 41.18 ความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนทุกด้านอยู่ในระดับสูง มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มีไอโอดีนในรอบ 7 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีน ร้อยละ 84.31 การใช้น้ำปลาเสริมไอโอดีน ร้อยละ 84.53 ซีอิ้ว/ซอสปรุงรสเสริมไอโอดีน ร้อยละ 87.15 มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มีไอโอดีนในรอบ 7 วันที่ผ่านมา พบว่า กินปลาทะเล ร้อยละ 94.77 ไข่ไก่/ไข่เป็ด ร้อยละ 93.90 มาม่า/บะหมี่-โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 91.07 คุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนส่วนใหญ่มีปริมาณไอโอดีน 20-40 ppm ร้อยละ 44.66 กลุ่มตัวอย่างมีมัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะ 112.26 ไมโครกรัม/ลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ความรอบรู้ด้านการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนมีความสัมพันธ์กับระดับไอโอดีนในปัสสาวะของวัยทำงานเขตสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ชัญญานุช ปานนิล, ยุทธยา สุภาปัญญากุล, ผดุงศักดิ์ ศรีวาส Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276734 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมคลอดผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นต่อระดับความกลัวการคลอด ระดับความปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/277268 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการใช้โปรแกรมเตรียมคลอดตามกรอบแนวคิดของ Dick-Read ในผู้คลอดครรภ์แรกของโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 32 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 16 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด, แบบประเมินความกลัว, แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด และแบบประเมินความปวด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-Square Test กรณีข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณที่แจกแจงปกติใช้สถิติ T-Test และข้อมูลที่ไม่มีการแจกแจงปกติใช้สถิติ Mann Whitney U test การแจกแจงแบบปกติ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าในระยะคลอดกลุ่มทดลองมีระดับความกลัวไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม มีคะแนนพฤติกรรมเผชิญความปวดมากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อปากมดลูกเปิด 1-3 ซม. 4-7 ซม. และ 8-10 ซม.และมีความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อปากมดลูกเปิด 1-3 ซม. 4-7 ซม.</p> <p>การให้กิจกรรมเตรียมคลอดในระยะฝากครรภ์จะทำให้ผู้คลอดเกิดความรู้ที่ถูกต้องและสามารถนำความรู้มาใช้ในระยะคลอดเพื่อให้เกิดพฤติกรรมเผชิญความปวดที่เหมาะสมและลดความความปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดลงได้</p> ธนวลี เพ็ชรสีเขียว, ทิวาวรรณ เทพา Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/277268 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ในสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276733 <p>การศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ในสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและคะแนนการปฏิบัติด้านโภชนาการก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเริ่มเตี้ยและเตี้ย ในสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 13 คน ระยะเวลาในทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความความรอบรู้ด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองก่อนกับหลังการทดลอง พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้และความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูล ทักษะการสร้างความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ทักษะการบอกต่อด้านโภชนาการเด็กปฐมวัย สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และพบว่าหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) เห็นได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ในสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านโภชนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม</p> ชัญญานุช ปานนิล, ธัญลักษณ์ ทองหล่อ, นิตยา ศรีมานนท์, ผดุงศักดิ์ ศรีวาส Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/276733 Fri, 25 Apr 2025 00:00:00 +0700